MyFeed Personalized Content
พัฒนาการลูก 0-36 เดือน
บทความ

PLAYING: การให้ทารกหยิบอาหารกินเอง

Add this post to favorites

การให้ทารกหยิบอาหารกินเอง

นอกจากการให้อาหารเสริมตามวัย อีกหนึ่งวิธีที่ได้รับความนิยมอย่างมากคือ การให้ทารกหยิบอาหารกินเองซึ่งมีพื้นฐานจากลักษณะการกินอาหารด้วยตัวเองจากการดูดนมแม่นั่นเอง

1นาที อ่าน

การให้ทารกหยิบอาหารกินเอง (Baby led weaning) เป็นวิธีที่สามารถใช้เพื่อข้ามขั้นตอนของการป้อนอาหารบดละเอียดได้ วิธีนี้จะให้ลูกน้อยหยิบอาหาร มาเล่น มาสัมผัส ดม และลองชิมอาหารทั่วไปที่สมาชิกในครอบครัวกินกันตามปกติเช่น ชิ้นเนื้อหั่นเป็นแท่ง ผักเนื้อนิ่ม มะม่วง กล้วย และอะโวคาโดที่หั่นเป็นแท่ง

 

การให้ทารกหยิบอาหารกินเอง

 

ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดที่ คือช่วงที่ลูกน้อยเริ่มหยิบจับของต่างๆ ได้ และมักเอาของเข้าปากตัวเอง ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าลูกกำลังค้นหาอาหาร ทารกชอบที่จะทำตามพี่ หรือคุณพ่อคุณแม่ และสนุกกับการเป็นส่วนหนึ่งของช่วงเวลาอาหาร และใช้ความสามารถในการแสดงให้เห็นถึงการพึ่งพาตนเองได้ด้วยการกิน

 

วิธีเริ่มการให้ทารกหยิบอาหารกินเอง

 

การให้ทารกหยิบอาหารกินเองอาจเกิดขึ้นเองในบางโอกาส หลังจากที่ลูกน้อยชอบคว้าหยิบอาหารในจานของพี่ อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ควรเริ่มในขณะช่วงเวลาอาหารของครอบครัว เริ่มจากให้ลูกน้อยนั่งในเก้าอี้สูงสำหรับรับประทานอาหาร เมื่อลูกน้อยสามารถนั่งได้หรือแสดงสัญญาณว่าพร้อมที่จะร่วมกินอาหารด้วย โดยเริ่มจากอาหารง่ายๆ ที่มีคุณค่าทางโภชนาการ เหมาะสมกับวัย เช่น ผักต้มสุกชิ้นเล็กๆ ที่อยู่ในจานของคุณแม่ ซึ่งการให้อาหารที่ลูกใช้มือหยิบจับได้เอง (finger food) นั้นก็เหมือนกับการให้ชิ้นขนมปังกับลูกน้อยได้จับได้กัดเองนั่นเอง

 

การให้ทารกหยิบอาหารกินเอง

 

อาหารบางชนิด เช่น ดอกกะหล่ำ บรอคโคลี แครอท ชิ้นจำเป็นต้องมีการหั่นให้เป็นชิ้นที่ลูกสามารถหยิบจับได้ถนัดมือในลักษณะที่คล้ายแท่งมันฝรั่ง หรืออาจให้ชิ้นเนื้อที่ติดกระดูกให้ลูกถือดูดได้เอง ในช่วงแรกลูกน้อยอาจแค่เล่นกับอาหาร ดมกลิ่น หรือแค่มองดู จากนั้นเขาจึงจะเริ่มเลียอาหารเหล่านั้น คุณแม่ยังคงสามารถให้อาหารที่มีเนื้อสัมผัสนิ่มแก่ลูกน้อยได้ โดยเฉพาะอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เพราะธาตุเหล็กที่ลูกเก็บสะสมไว้เริ่มลดลงหลังคลอด จนกว่าจะได้รับเพิ่มเติมจากอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงเมื่อเขาเริ่มกินอาหารเสริม ดังนั้นอาหารเสริมธัญพืชเสริมธาตุเหล็กสำหรับทารก เนื้อสัตว์ ผัก และอาาหารบดต่างๆ ยังคงสามารถให้ลูกน้อยกินด้วยช้อนได้ และยังได้รับความหลากหลายของเนื้อสัมผัส สี และอุณหภูมิของอาหารที่แตกต่างกัน

ในช่วงที่คุณแม่ให้อาหารเสริมด้วยการให้ทารกหยิบอาหารกินเอง (Baby led weaning) นั้น คุณแม่ยังไม่จำเป็นต้องให้ลูกหย่านมแม่ การให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวยังสามารถทำได้จนกว่าลูกจะมีอายุอย่างน้อย 6 เดือน ซึ่งเป็นช่วงวัยที่ลูกสามารถได้รับสารอาหารจากอาหารเสริมตามวัยเพื่อเติมเต็มโภชนาการให้ครบถ้วนเพื่อให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารครบถ้วนจากอาหารปกติ หากคุณแม่มีความกังวลเกี่ยวกับการกินอาหารของลูกน้อย ลองปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ นักกำหนดอาหาร หรือกุมารแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ

 

ทำอย่างไรกับความเลอะเทอะ เมื่อลูกน้อยชอบสำรวจอาหาร
 

การให้ทารกหยิบอาหารกินเอง

 

การให้อาหารเสริมไม่ว่าจะด้วยวิธีใด จะมีความเลอะเทอะรวมอยู่ด้วยเสมอ การให้ทารกหยิบอาหารกินเอง (Baby led weaning) อาจเพิ่มความเลอะเทอะ แต่มันจะช่วยให้ลูกรับรู้ถึงเนื้อสัมผัสของอาหาร และได้สำรวจอาหารอย่างเต็มที่ เช่นเดียวกับการเล่นของเล่น การระบายสี และความสกปรกต่างๆ สิ่งเหล่านี้เป็นการฝึกฝนลูกน้อย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการและการเจริญเติบโตที่สำคัญ ซึ่งเป็นประโยชน์ของการให้ทารกหยิบอาหารกินเอง (Baby led weaning)

เรามักได้ยินการโต้แย้งเกี่ยวกับประโยชน์ของการให้ทารกหยิบอาหารกินเอง (Baby led weaning) และวิธีนี้มันเกินความสามารถของลูกหรือไม่ ประโยชน์ในบางเรื่องอาจเกี่ยวกับการช่วยให้ลูกเพลิดเพลินกับอาหาร และยอมรับอาหารได้หลากหลาย ความสามารถในการกินอาหารเอง และการกินอาหารที่ผ่านกระบวนการต่างๆ น้อยลง ในทางตรงกันข้าม ข้อจำกัดของวิธีนี้ได้แก่ ความกังวลในการข้ามขั้นตอนของการกินอาหารเหลว ที่อาจส่งผลต่อพัฒนาการการพูด และอาจเกิดอันตรายจากการที่อาหารติดคอ หายใจไม่ออก ซึ่งคุณแม่ต้องดูแลลูกน้อยอย่างใกล้ชิดในขณะที่ให้ลูกกินอาหาร และการที่ลูกเล่นอาหารมากเกินไป จนกระทั่งอายุ 12 เดือน อาจกระทบต่อสารอาหารที่ควรได้รับ โดยเฉพาะอาหารที่มีธาตุเหล็กและสังกะสีซึ่งจำเป็นมากสำหรับเด็กที่กินนมแม่ เพราะปริมาณสารอาหารเหล่านี้ที่ลูกสะสมไว้จะลดปริมาณลงตั้งแต่หลังคลอด

อย่างไรก็ตาม คำแนะนำวิธีการให้ทารกหยิบอาหารกินเอง (baby led weaning) ยังไม่ได้รับคำแนะนำอย่างเป็นทางการในประเทศไทย และองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้แนะนำการเริ่มให้อาหารเสริมด้วยอาหารบดละเอียดที่ปรุงสุกแล้ว

 

กรณีใดบ้างที่ไม่ควรใช้วิธีการให้ทารกหยิบอาหารกินเอง (Baby led weaning)

 

• เมื่อลูกน้อยยังไม่มีสัญญาณความพร้อมในการกินอาหารเสริมตามวัย
• ลูกน้อยมีปัญหาของระบบย่อยอาหาร เช่น กรดไหลย้อน ภาวะลิ้นติด ปัญหาเกี่ยวกับเพดานในปาก
• ลูกน้อยมีพัฒนาการล่าช้า ซึ่งอาจเกิดจากการคลอดก่อนกำหนด หรือความผิดปกติตั้งแต่แรกเกิด
• ลูกน้อยมีความต้องการพิเศษ และไม่สามารถเคี้ยวได้ดี หรือมีปัญหาในการหยิบจับอาหาร