MyFeed Personalized Content
พัฒนาการลูก 0-36 เดือน
บทความ

PLAYING: ลูกอมข้าว ปัญหาปวดหัวของพ่อ-แม่แต่แก้ไม่ยาก

Add this post to favorites

ลูกอมข้าว ปัญหาปวดหัวของพ่อ-แม่แต่แก้ไม่ยาก

บ่อยครั้งที่คุณตั้งใจทำอาหารมาเป็นอย่างดี แต่พอป้อนเจ้าตัวน้อย เขากลับมีอาการอมข้าว ไม่ยอมเคี้ยว ไม่ยอมกลืน เล่นเอาคุณเหนื่อย และเป็นกังวลว่าเขาจะแข็งแรงไหม

1นาที อ่าน

ลูกอมข้าว ปัญหาปวดหัวของพ่อแม่ แต่แก้ไม่ยาก

 

เมื่อเด็กเริ่มเข้าสู่วัยเตาะแตะ ประมาณ 2 ขวบ ขึ้นไป หลายคนมักจะมีอาการอมข้าวนะคะ การที่ลูกอมข้าวนั้น ถือเป็นปัญหาหนักใจของคุณพ่อคุณแม่ มาดูสาเหตุที่ทำให้ลูกอมข้าวกันดีกว่าค่ะ

 

1. ลูกอมข้าว เพราะกินจุบจิบ
เกิดจากการที่เขารู้สึกอิ่มจากขนม หรืออาหารระหว่างมื้อที่คุณเองมักจะป้อนให้เขากิน เขาจึงกินได้ทั้งวัน เลยรู้สึกอิ่มตลอดเวลา เมื่อถึงเวลามื้ออาหารจริงๆ เขาจึงอมข้าว
2. ลูกอมข้าว เพราะมีสิ่งเร้ารอบกายที่น่าสนใจ
เด็กในช่วงวัย 2 ขวบขึ้นไป มักจะเริ่มสนใจสิ่งรอบตัวมากขึ้น ห่วงการเล่นมากกว่าการกิน จึงลืมความหิวเมื่อถึงเวลามื้ออาหาร
3. ลูกอมข้าว เพราะมีปัญหาภายในช่องปาก
การที่ลูกน้อยเป็นร้อนใน แผลที่มุมปาก ปวดฟัน หรือเจ็บ อาจจะทำให้เขารู้สึกเจ็บจนไม่อยากเคี้ยว หรือกลืนได้เหมือนกันค่ะ

 

วิธีง่ายๆ ในการแก้ปัญหาลูกอมข้าว

 

1. ลดการให้ขนมขบเคี้ยว หรือเครื่องดื่มรสหวานระหว่างมื้อ เพื่อให้เขารู้สึกหิวเมื่อถึงเวลาอาหาร
2. ปรุงอาหารให้มีความหลากหลาย จัดตกแต่งให้ดูน่าทาน อาจใช้จาน ชาม ช้อน ส้อม ที่เป็นรูปการ์ตูนตัวโปรดของเขาก็ได้ค่ะ
3. จัดบรรยากาศการกินอาหารให้น่าสนุก เพื่อดึงความสนใจจากของเล่นต่างๆ และคุณพ่อกับคุณแม่ก็กินไปพร้อมๆ กับเขา สังเกตสุขภาพภายในช่องปากของลูกเป็นประจำ และหากพบความผิดปกติให้พาไปหาคุณหมอค่ะ

ลองทำตามกันดูก่อนนะคะ อาจช่วยให้อาการลูกอมข้าวลดน้อยลง แต่ถ้ายังแก้ไม่หาย ลองพาเขาไปปรึกษาคุณหมอเด็ก เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงกันดีกว่าค่ะ