MyFeed Personalized Content
รวมเคล็ดลับ ดูแลครรภ์ สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์มือใหม่
บทความ

PLAYING: เคล็ดลับดูแลคุณแม่ตั้งครรภ์ 5 สัปดาห์ เพื่อพัฒนาการทารกอายุครรภ์ 5 สัปดาห์

Add this post to favorites

เคล็ดลับดูแลคุณแม่ตั้งครรภ์ 5 สัปดาห์ เพื่อพัฒนาการทารกอายุครรภ์ 5 สัปดาห์

เมื่อว่าที่คุณแม่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์ และเข้าสู่ช่วงตั้งครรภ์ 5 สัปดาห์ เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ร่างกายจะส่งสัญญาณบ่งบอกที่ชัดเจนขึ้น แต่จะมีสัญญาณอะไรบ้าง และพัฒนาการทารกในครรภ์เป็นอย่างไร มาสำรวจกัน

1นาที อ่าน

เมื่อว่าที่คุณแม่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์ และเข้าสู่ช่วงตั้งครรภ์ 5 สัปดาห์ เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ร่างกายจะส่งสัญญาณบ่งบอกที่ชัดเจนขึ้น แต่จะมีสัญญาณอะไรบ้าง และพัฒนาการทารกในครรภ์เป็นอย่างไร มาสำรวจกัน

Pregnancy 5 weeks touching her belly
พัฒนาการของทารกอายุครรภ์ 5 สัปดาห์

ในช่วงตั้งครรภ์ 5 สัปดาห์ ลูกน้อยจะเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว และยังมีความบอบบางมาก ซึ่งในช่วงไตรมาสที่ 1 นี้ ลูกจะมีพัฒนาการของสมองซีกซ้ายและสมองซีกขวา รวมทั้งมีการพัฒนาอวัยวะสำคัญต่างๆ เริ่มมีการสร้างเป็นรูปเป็นร่าง เช่น โครงร่างของใบหน้า ตา หู จมูก ปาก รวมถึงระบบปอดและระบบย่อยอาหาร ซึ่งในช่วงนี้หัวใจของลูกน้อยจะมีการพัฒนาขึ้น หากคุณแม่ทำอัลตร้าซาวด์ในระยะนี้คุณจะเห็นหัวใจของเขาเต้นอย่างชัดเจน

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของคุณแม่ตั้งครรภ์ 5 สัปดาห์

ในสัปดาห์ที่ 5 ของการตั้งครรภ์ คุณแม่อาจจะยังไม่สังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงของสภาพร่างกายภายนอกของตัวเองเท่าไหร่ เนื่องจากทารกในครรภ์จะมีขนาดเล็กมาก แต่สิ่งที่คุณแม่จะรู้สึกได้คือ การขาดประจำเดือน หรือคุณแม่บางท่านอาจสังเกตได้ว่า อารมณ์มีความแปรปรวน รู้สึกเครียด หงุดหงิดและเหนื่อยง่ายกว่าปกติ รวมถึงเริ่มมีอาการคลื่นไส้แพ้ท้อง ซึ่งสิ่งนี้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน และนอกจากจะมีผลต่อสภาพจิตใจแล้ว ยังมีผลทางกายภาพบางอย่าง เช่น เต้านมจะคัดตึงขึ้น และผู้หญิงบางคนอาจรู้สึกปวดท้องน้อยหรือปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน ซึ่งเกิดจากการไหลเวียนของเลือดที่มากขึ้น ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องปกติที่คุณแม่จะรู้สึกได้ในช่วงตั้งครรภ์

healthy nutrition for pregnant woman
 

สาระน่ารู้! โภชนาการคุณแม่ตั้งครรภ์ เพื่อพัฒนาการทารกอายุครรภ์ 5 สัปดาห์

เมื่ออายุครรภ์ 5 สัปดาห์ คุณแม่อาจรู้สึกคลื่นไส้แพ้ท้อง และทานอาหารไม่ค่อยลง คุณแม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการแบ่งมื้ออาหารให้กินบ่อยขึ้น โดยนอกจากอาหารมื้อหลักแล้ว ควรเสริมการทานอาหารว่างที่ดีต่อสุขภาพในช่วงมื้อว่างเช้า และมื้อว่างบ่ายร่วมด้วย และพยายามทานอาหารเช้า เพราะการทานแค่เพียงเล็กน้อย ก็สามารถช่วยแก้อาการคลื่นไส้ได้ และที่สำคัญควรดื่มน้ำให้เพียงพอตลอดเวลา การจิบน้ำอุ่น หรือน้ำขิงอุ่นๆ ก็สามารถจะช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้แพ้ท้อง ได้เป็นอย่างดีเช่นกัน หากคุณแม่มีอาการแพ้ท้องอย่างมาก ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง

เคล็ดลับสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ เมื่ออายุครรภ์ 5 สัปดาห์

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นอาการที่พบได้บ่อยในระหว่างตั้งครรภ์ 5 สัปดาห์ คือ อาการคลื่นไส้แพ้ท้อง และเหนื่อยง่าย ดังนั้นคุณแม่ควรจะพักผ่อนให้เต็มที่ รวมถึงเตรียมจัดตารางเวลาทั้งเรื่องการงาน และเรื่องส่วนตัวให้ตารางไม่แน่นเกินไป มีเวลามากพอสำหรับการพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อเตรียมรับการเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่กำลังจะเกิดขึ้นในไม่ช้า และที่สำคัญคุณแม่ควรไปฝากครรภ์ให้เร็วที่สุดเพื่อให้คุณและทารกของคุณมีสุขภาพที่แข็งแรง

อ้างอิง:
1. Mennella JA, Jagnow CP, Beauchamp GK: Prenatal and Postnatal Flavor Learning by Human Infants. Pediatrics 2001, 107: -e88.
2. Seron-Ferre M, Torres-Farfan C, Forcelledo ML, Valenzuela GJ: The development of circadian rhythms in the fetus and neonate. Seminars in Perinatology 2001, 25: 363-370.
3. Swaiman KF: Pediatric neurology: principles & practice, 5th edn. Philadelphia: Elsevier/Saunders; 2012.
4. Weaver LT, Austin S, Cole TJ: Small intestinal length: a factor essential for gut adaptation. Gut 1991, 32: 1321-1323.
5. MedlinePlus [Internet]. Bethesda (MD): National Library of Medicine (US); [updated 2016 Oct 05]. Fetal development; [reviewed 2015 Sept 26; cited 2016 Oct 27]; [about 2 p.]. Available from: https://medlineplus.gov/ency/article/002398.htm