MyFeed Personalized Content
รวมเคล็ดลับ ดูแลครรภ์ สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์มือใหม่
บทความ

PLAYING: คุณแม่ตั้งครรภ์ 32 สัปดาห์ เพื่อพัฒนาการทารก อายุครรภ์ 32 สัปดาห์

Add this post to favorites

คุณแม่ตั้งครรภ์ 32 สัปดาห์ เพื่อพัฒนาการทารก อายุครรภ์ 32 สัปดาห์

อายุครรภ์ 32 สัปดาห์ นับว่าเข้าสู่ไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์แล้ว อีกเพียงเดือนเดียวเท่านั้นก็จะถึงเส้นชัยของการอุ้มท้องและได้เจอหน้าลูกน้อยที่ฟูมฟักมาตลอดกันแล้ว เชื่อว่าคุณแม่ ๆ ต่างก็ตื่นเต้น และเริ่มเตรียมของรอต้อนรับเจ้าตัวเล็ก ก่อนจะถึงวันนั้น เรามาดูกันว่าช่วงสัปดาห์นี้คุณแม่และเจ้าตัวเล็กจะมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการอะไรกันบ้าง

2นาที อ่าน

สรุป

  • อายุครรภ์ 32 สัปดาห์ เข้าสู่เดือนที่ 8 ของการตั้งครรภ์ คุณแม่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายมากขึ้น เช่น การเจ็บตัวจากการ “ซ้อมบีบตัว” ของมดลูก และรู้สึกถึงการดิ้นของทารกน้อยชัดขึ้น
  • ทารกน้อยอายุ 32 สัปดาห์ จะมีพัฒนาการเกือบสมบูรณ์พร้อมสำหรับลืมตาดูโลกแล้ว

ตั้งครรภ์ 32 สัปดาห์ มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง

ช่วงอายุครรภ์ 32 สัปดาห์นี้ ลูกน้อยในครรภ์มีพัฒนาการที่สมบูรณ์มากขึ้นอย่างเด่นชัด ดิ้นบ่อย และถี่ขึ้น สามารถมองเห็น ได้ยิน และตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอกได้มากขึ้น เช่น หากคุณแม่คุณพ่อพูดคุยกับทารก อาจมีการดิ้นหรือเคลื่อนไหวตอบกลับ นอกจากนี้ คุณแม่ควรเริ่มเตรียมความพร้อมสำหรับการคลอดที่กำลังจะมาถึง วิธีการหายใจระหว่างคลอด และการเตรียมตัวหลังคลอดไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ 

ตั้งครรภ์ 32 สัปดาห์ เท่ากับกี่เดือน

คุณแม่อายุครรภ์ 32 สัปดาห์ เทียบเท่ากับช่วงเวลาที่คุณแม่อุ้มท้องมาได้ประมาณ 8 เดือน เรียกว่าอยู่ในอีกแค่ 1 เดือนเท่านั้นคุณแม่ก็จะเจอเจ้าตัวเล็กแบบตัวเป็น ๆ กันแล้วนั่นเอง

วิธีดูแลคุณแม่ อายุครรภ์ 32 สัปดาห์ พร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลง

ตั้งครรภ์ 32 สัปดาห์ ลูกอยู่ตรงไหน

ทารกอายุครรภ์ 32 สัปดาห์ อาจเริ่มกลับหัวลงมาอยู่ในท่าศีรษะคว่ำลง ซึ่งเป็นท่าที่เตรียมพร้อมสำหรับการคลอดแล้วนั่นเอง โดยหัวทารกจะอยู่ในตำแหน่งต่ำสุดของมดลูก ส่วนก้นจะอยู่ด้านบน ทารกบางคนอาจยังไม่กลับหัวในสัปดาห์นี้ แต่คุณแม่ไม่ต้องกังวลไป เพราะทารกบางคนก็กลับหัวภายในสัปดาห์ที่ 34-36

พัฒนาการลูกน้อยในครรภ์ 32 สัปดาห์ เป็นอย่างไร

ทารกน้อยอายุครรภ์ 32 สัปดาห์ หรือทารก 8 เดือน จะมีพัฒนาการที่สมบูรณ์มากขึ้น ระบบต่าง ๆ พัฒนาได้อย่างเต็มที่เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับให้ทำงานทันทีหลังออกจากท้องคุณแม่

1. ตั้งครรภ์ 32 สัปดาห์ ทารกมีขนาดตัวเท่าใด

ในสัปดาห์ที่ 32 นี้ ทารกน้อยจะเติบโตและสมบูรณ์มากขึ้น โดยมีขนาดความยาวตัวประมาณ 45-50 เซนติเมตร และน้ำหนักตัวประมาณ 1.8-2 กิโลกรัม

2. ตั้งครรภ์ 32 สัปดาห์ ลูกดิ้น แล้วหรือยัง

เจ้าตัวเล็กเริ่มมีกล้ามเนื้อและกระดูกที่แข็งแรงขึ้น ในอายุครรภ์ 32 สัปดาห์ ทำให้คุณแม่รับรู้การเคลื่อนไหวได้ชัดเจนมากขึ้น จะเริ่มรู้สึกถึงอาการลูกดิ้นบ่อยขึ้น โดยอาจรู้สึกได้ถึงการถีบ เตะ บิดตัว ขยับแขนขา 

วิธีการนับลูกดิ้นที่แนะนำคือ ควรนับจำนวนครั้งที่ทารกดิ้นในช่วงเวลา 2 ชั่วโมง โดยคุณแม่ควรนั่งหรือนอนในท่าที่ สบาย ๆ หลับตาและจดจ่อกับการนับจำนวนครั้งที่ลูกดิ้น หากทารกดิ้นครบ 10 ครั้งภายใน 2 ชั่วโมงแสดงว่าทารกมีการเคลื่อนไหวที่ปกติ ซึ่งในหนึ่งวันทารกสามารถดิ้นได้มากกว่า 300-400 ครั้งต่อวัน หรืออาจดิ้นได้มากถึง 700 ครั้งต่อวัน

3. อวัยวะและระบบต่าง ๆ

อายุครรภ์ 32 สัปดาห์ อวัยวะและระบบการทำงานร่างกายต่าง ๆ ของทารกจะสมบูรณ์มากขึ้น เพื่อเตรียมพร้อม สำหรับการลืมตาดูโลกที่กำลังจะมาถึงในเร็ว ๆ นี้ 

  • ระบบประสาท สมองของทารกยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยบริเวณสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็น ได้ยิน และสัมผัสมีการพัฒนาที่สมบูรณ์มากขึ้น เวลาคุณแม่คุณพ่อคุยกับทารก อ่านนิทาน หรือเปิดเพลงให้ฟังก็สามารถจะตอบโต้ด้วยการดิ้นหรือเตะท้องได้มากขึ้น และยังสามารถสัมผัสและรับรู้ความรู้สึกต่าง ๆ ผ่านผิวหนังได้
  • ระบบกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อของทารกแข็งแรงขึ้น สามารถขยับแขนขาและศีรษะได้อย่างคล่องแคล่วและสามารถดูดนิ้วหัวแม่มือได้
  • ระบบทางเดินหายใจ ถุงลมของทารกเริ่มทำงานและสามารถหายใจเองได้หากเกิดต้องคลอดก่อนกำหนด
  • ระบบย่อยอาหาร ตับอ่อนของทารกเริ่มผลิตอินซูลิน ซึ่งจำเป็นต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของทารก และเริ่มหลั่งน้ำย่อยออกมา
  • ระบบสืบพันธุ์ อวัยวะเพศเริ่มพัฒนาชัดเจน โดยทารกเพศชายจะมีอัณฑะเคลื่อนลงมาอยู่ในถุงอัณฑะแล้ว ส่วนทารกเพศหญิงจะมีช่องคลอดและอวัยวะเพศภายนอกพัฒนาสมบูรณ์แล้ว

สารอาหารที่จำเป็นต่อพัฒนาการและการเจริญเติบโตของทารก

  • แคลเซียม จำเป็นต่อการสร้างกระดูกและฟันของทารก
  • เหล็ก: จำเป็นต่อการผลิตเม็ดเลือดแดงของทารก หลังจากคลอดแล้วธาตุเหล็กสามารถอยู่ในร่างกายของทารกได้นาน 6 เดือนและเริ่มสะสมอีกครั้งเมื่อทารกเริ่มกินอาหารตามวัย
  • ไอโอดีน จำเป็นต่อการทำงานของต่อมไทรอยด์ของทารก
  • สังกะสี จำเป็นต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของทารก
  • แมกนีเซียม จำเป็นต่อการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อของทารก

อาหารคนท้อง 32 สัปดาห์ ควรกินอะไรบ้าง

การเปลี่ยนแปลงร่างกายของคุณแม่ อายุครรภ์ 32 สัปดาห์

นอกจากการเปลี่ยนแปลงของทารกในครรภ์แล้ว ช่วงอายุครรภ์ 32 สัปดาห์นี้ ร่างกายของคุณแม่เองก็เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการคลอดลูกน้อย

  • หน้าท้องขยายใหญ่ขึ้นมาก จนอาจทำให้หายใจลำบาก
  • แน่นท้อง เนื่องจากกระเพาะอาหารถูกเบียดจากการขยายตัวของมดลูก ทำให้คุณแม่รู้สึกอิ่มเร็วขึ้น รับประทานอาหารได้น้อยลง กรดไหลย้อนอาจเกิดขึ้นได้บ่อยขึ้น
  • การเคลื่อนไหวของลำไส้ช้าลง ทำให้คุณแม่รู้สึกท้องอืด ท้องผูก
  • กรดไหลย้อนอาจเกิดขึ้นได้บ่อยขึ้น เนื่องจากมดลูกขยายใหญ่ขึ้นและกดทับกระเพาะอาหาร
  • ขาบวม เนื่องจากปริมาณเลือดและน้ำในร่างกายเพิ่มขึ้น
  • ปวดเมื่อยตามร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณหลังส่วนล่าง ขากรรไกร และสะโพก
  • ปัสสาวะบ่อย เนื่องจากมดลูกขยายใหญ่ขึ้นและกดทับกระเพาะปัสสาวะ

อาการคุณแม่ตั้งครรภ์ 32 สัปดาห์ เป็นแบบไหน

  • เจ็บเตือนหรือเจ็บหลอก การเจ็บท้องเตือนมักเกิดขึ้นในช่วงเช้าหรือตอนกลางคืน ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อคุณแม่และลูกน้อย มักไม่เกี่ยวข้องกับการคลอดก่อนกำหนด เนื่องจากมดลูกเริ่มขยายตัวและเตรียมพร้อมสำหรับการคลอด คุณแม่อาจรู้สึกเจ็บท้องเตือนเป็นระยะ ๆ นานหลายนาทีแต่หากมีอาการเจ็บท้องเตือนบ่อยครั้งและมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น เลือดออกทางช่องคลอด น้ำเดิน ควรไปพบคุณแพทย์ทันที
  • หัวนมมีสีเข้มขึ้น การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดจากการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน ซึ่งส่งผลให้เม็ดสีเมลานิน บริเวณ หัวนมและลานนมเพิ่มขึ้น ทำให้หัวนมและลานนมมีสีคล้ำขึ้น ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของร่างกายในช่วงตั้งครรภ์และไม่เป็นอันตราย
  • หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงไตรมาสที่ 3 เนื่องจากมดลูกขยายตัวมากขึ้นและไปกดทับอวัยวะภายในอื่น ๆ บริเวณทรวงอกของคุณแม่ ทำให้หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก หรือรู้สึกหายใจไม่เต็มปอด
  • แสบร้อนกลางอก แสบร้อนกลางอกหรือกรดไหลย้อนเป็นอาการที่พบได้บ่อยในคุณแม่ตั้งครรภ์ โดยเฉพาะช่วงไตรมาส 3 เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย อาจเริ่มรุนแรงขึ้นเนื่องจากมดลูกขยายตัวขึ้นและไปกดทับหลอดอาหาร ทำให้อาการแสบร้อนกลางอกเกิดขึ้นได้ง่ายขึ้น
  • มีน้ำนมไหลซึม เป็นอาการที่มักพบได้บ่อยในช่วงไตรมาสที่ 3 เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย ทำให้เต้านมเริ่มผลิตน้ำนมเหลือง ซึ่งมีลักษณะเป็นของเหลวสีเหลืองข้นออกมา
  • ตกขาว มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่น มีสีสันหรือกลิ่นที่เปลี่ยนไป มีปริมาณมากจนผิดปกติ หรือมีอาการคันหรือแสบบริเวณช่องคลอด คุณแม่ควรไปพบคุณหมอ

อาหารคนท้อง 32 สัปดาห์ ควรกินอะไรบ้าง

ช่วงอายุครรภ์ 32 สัปดาห์ เป็นช่วงที่ทารกน้อยในครรภ์มีพัฒนาการอย่างรวดเร็ว คุณแม่ควรดูแลสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ คุณแม่ควรเลือกทานอาหารคนท้องที่มีประโยชน์และครบถ้วน โดยเฉพาะสารอาหารที่จำเป็นต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์ เช่น โปรตีน แคลเซียม ธาตุเหล็ก กรดโฟลิก วิตามินต่าง ๆ และดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว อาหารที่คุณแม่ควรรับประทานในช่วงตั้งครรภ์ 32 สัปดาห์ ได้แก่

  • เนื้อสัตว์ นม ไข่ ถั่วเหลือง เป็นแหล่งโปรตีนที่ดีสำหรับคุณแม่และทารก
  • ผักและผลไม้ เป็นแหล่งวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ ที่สำคัญต่อพัฒนาการของทารก
  • ธัญพืชไม่ขัดสี เป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนที่ดีสำหรับคุณแม่และทารก
  • ไขมันดี เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันปลา ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด

การอัลตราซาวด์เมื่อตั้งครรภ์ 32 สัปดาห์

การอัลตราซาวด์เมื่อตั้งครรภ์ 32 สัปดาห์

การอัลตราซาวด์ในช่วงอายุครรภ์ 32 สัปดาห์ มักทำเพื่อตรวจดูพัฒนาการและการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ โดยคุณหมอจะตรวจดูสิ่งต่าง ๆ

  • ขนาดและน้ำหนักของทารก
  • ตำแหน่งของทารกในครรภ์
  • ปริมาณน้ำคร่ำ
  • พัฒนาการของอวัยวะต่าง ๆ ของทารก เช่น สมอง หัวใจ ปอด ไต
  • ภาวะผิดปกติของทารก เช่น ภาวะทารกตัวโต ภาวะทารกตัวเล็ก ภาวะความพิการแต่กำเนิด

ข้อแนะนำสำหรับคุณแม่อายุครรภ์ 32 สัปดาห์

อาหารและกิจกรรมที่คุณแม่ท้อง 32 สัปดาห์ ควรหลีกเลี่ยง

  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารดิบหรือสุก ๆ ดิบ ๆ เช่น ปลาดิบ ผักผลไม้ดิบที่ไม่ได้ล้างให้สะอาด เพราะอาจปนเปื้อนเชื้อโรคได้
  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ เป็นภาวะที่ส่งผลต่อพัฒนาการของทารก
  • หลีกเลี่ยงการกระแทกหรือหกล้ม
  • ระมัดระวังการใช้ยา ควรปรึกษาคุณแพทย์ก่อนทุกครั้ง

กิจกรรมที่คุณแม่ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ

  • การออกกำลังกายอย่างหักโหมอาจทำให้คุณแม่เหนื่อยล้าหรือบาดเจ็บได้
  • การยกของหนักอาจทำให้คุณแม่บาดเจ็บหรือแท้งได้
  • การเดินทางไกลอาจทำให้คุณแม่เหนื่อยล้าหรือปวดเมื่อยได้

อาการแบบไหนเสี่ยงครรภ์เป็นพิษ

ภาวะครรภ์เป็นพิษ เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดในร่างกาย ทำให้เลือดไปเลี้ยงรกไม่เพียงพอ ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น ความดันโลหิตสูง โปรตีนรั่วในปัสสาวะ ไตวาย โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะคลอดก่อนกำหนด ทารกน้ำหนักตัวน้อย ทารกเสียชีวิตหลังคลอด ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษได้ เช่น

  • น้ำหนักตัวเกินเกณฑ์ก่อนตั้งครรภ์
  • ประวัติครอบครัวมีภาวะครรภ์เป็นพิษ
  • โรคประจำตัวอื่น ๆ เช่น โรคไต โรคหัวใจ โรคตับ
  • การตั้งครรภ์ที่มีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น ภาวะรกเกาะต่ำ ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด

เมื่อเดินทางมาถึงสัปดาห์ที่ 32 ของการตั้งครรภ์ จะเริ่มมีสัญญาณเตือนอาการใกล้คลอดให้คุณแม่รู้ตัว เพราะอีกเพียงแค่หนึ่งเดือนเท่านั้น คุณแม่ก็จะได้เจอหน้าเจ้าตัวเล็กแล้ว เราเข้าใจว่าคุณแม่ทั้งตื่นเต้นและรู้สึกกังวลใจในเวลาเดียวกัน แต่ขอให้คุณแม่สบายใจนะคะ ทารกน้อยในครรภ์ของคุณแม่กำลังเติบโตและมีพัฒนาการที่สมบูรณ์แข็งแรง คุณแม่ควรดูแลตัวเองและเตรียมตัวสำหรับการคลอดอย่างเต็มที่ หากพบปัญหาระหว่างนี้หรือมีความกังวลใจควรขอเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันทีค่ะ

อ้างอิง:

  1. 32 Weeks Pregnant: Baby's Size at 32 Weeks Pregnant, Pampers
  2. Baby Development: Baby development at 32 weeks, Babycenter
  3. ไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ (อายุครรภ์ > 28 สัปดาห์), BNH Hospital

4, คุณแม่รู้ไหม ลูกดิ้นบอกอะไรได้มากกว่าที่คิด, โรงพยาบาลเปา

อ้างอิง ณ วันที่ 10 ธันวาคม 2566