MyFeed Personalized Content
พัฒนาการลูก 0-36 เดือน
บทความ

PLAYING: การเจ็บป่วยที่พบได้บ่อยในทารก

Add this post to favorites

การเจ็บป่วยที่พบได้บ่อยในทารก

ปัจจุบันมีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้ลูกน้อยป่วย ซึ่งอาการเจ็บป่วยในวัยทารกเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเหลี่ยงได้ แต่คุณแม่สามารถเรียนรู้วิธีรับมือและป้องกันให้ลูกได้

1นาที อ่าน

ต่อไปนี้คือการเจ็บป่วยในทารกที่พบบ่อยที่สุด และวิธีการป้องกัน ถ้าคุณสงสัยว่าลูกติดเชื้อแบคทีเรีย คุณจำเป็นต้องพาเขาไปหาหมอเพราะการติดเชื้อนี้อาจแพร่ไปสู่ส่วนอื่นของร่างกาย และทำให้เกิดอันตรายได้

 

การเจ็บป่วยที่พบได้บ่อยในทารก
 

1. การติดเชื้อที่คอ

 

การติดเชื้อที่คอพบได้บ่อยมากทั้งในผู้ใหญ่และทารก แบคทีเรียที่ชื่อ สเตรปโตคอคคัส (Streptococcus) เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ลูกน้อยมีอาการเจ็บคอ และเมื่อมีการติดเชื้อ ลูกจะรู้สึกระคายคอ เจ็บคอตอนกลืน มีไข้ และอาจมีอาการไอร่วมด้วย นอกจากนี้ยังอาจมีน้ำมูกไหล และปวดในช่องหู

จะป้องกันการติดเชื้อที่คอได้อย่างไร
• สวมเสื้อผ้าที่อบอุ่นให้ลูก ระมัดระวังเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอย่างมาก (เช่น การพาลูกกลับจากข้างนอกที่อากาศร้อน เข้าไปในห้องปรับอากาศ)
• รักษาอุณหภูมิของเครื่องปรับอากาศในห้องลูกให้อยู่ระหว่าง 24-26 องศาเซลเซียส
• ให้ลูกดื่มน้ำให้เพียงพอ

 

2. การติดเชื้อในช่องหู

 

การเจ็บป่วยที่พบได้บ่อยในทารก

 

พบได้บ่อยมากในเด็กเล็กๆ การติดเชื้อในช่องหู เกิดขึ้นเมื่อท่อยูสเตเชียน (ท่อที่เชื่อมระหว่างหูและคอของลูก) เกิดการบวม หรือตัน และมีของเหลวค้างอยู่ในหูชั้นกลาง สำหรับทารก สาเหตุที่ทำให้เกิดการปิดกั้นบ่อยที่สุดคือการเป็นหวัด แต่ก็อาจเกิดจากการแพ้หรือมีน้ำมูกไหลออกมามากเกินไป ลูกจะรู้สึกเจ็บหูมาก โดยอาจแสดงออกด้วยการดึงหูของเขา ร้องไห้มากกว่าปกติ ไม่ยอมกิน หรือแม้แต่สูญเสียการทรงตัว นอกจากนี้ยังอาจมีไข้สูงร่วมด้วย

จะป้องกันการติดเชื้อในช่องหูได้อย่างไร
• เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในช่วงขวบปีแรก การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะช่วยให้ลูกได้รับภูมิต้านทานเพื่อสู้กับการติดเชื้อ
• ถ้าคุณให้ลูกกินนมขวด ไม่ควรยกขวดนมขึ้น หรือป้อนนมให้ลูกในท่านอน เพราะจะทำให้น้ำนมไหลกลับเข้าไปที่ท่อยูสเตเชียน ซึ่งจะทำให้เกิดการติดเชื้อในช่องหูได้
• หลีกเลี่ยงไม่ให้ทารกสัมผัสกับควัน ฝุ่น หรือขนของสัตว์เลี้ยง

 

3. ท้องเสีย

 

การเจ็บป่วยที่พบได้บ่อยในทารก

 

ปกติแล้วอุจจาระของทารกจะเหลวกว่าอุจจาระของผู้ใหญ่ แต่อาการท้องเสียในทารกจะแตกต่างจากอุจจาระปกติของทารกอย่างมาก เพราะอุจจาระจะมีลักษณะเป็นน้ำมากกว่า ถ่ายบ่อยกว่าหรือปริมาณมากกว่า อาการท้องเสียในทารกอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ตั้งแต่การแพ้อาหาร ไปจนถึงการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือปรสิต ส่วนใหญ่แล้วภาวะนี้จะเกิดในช่วงสั้นๆ และเด็กจะสามารถฟื้นตัวได้ดี แต่ในบางกรณีที่พบได้น้อยมาก ก็อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ เช่น ภาวะขาดน้ำ ความผิดปกติของระดับเกลือแร่ ทุพโภชนาการ ไปจนถึงการเสียชีวิต การรักษาอาการท้องเสียในทารกจะต้องมีการชดเชยน้ำที่สูญเสียไป โดยอาจให้ทางปากหรือทางหลอดเลือดดำในกรณีที่รุนแรง

จะป้องกันการเกิดท้องเสียในทารกได้อย่างไร

• การดูแลสุขอนามัยที่ดีจะช่วยป้องกันไม่ให้อาการท้องเสียแพร่กระจายออกไป จึงควรล้างมือทุกครั้งก่อนที่จะสัมผัสทารก
• รักษาความสะอาดของบริเวณที่กินอาหารของลูก เพื่อป้องกันการติดเชื้อในลำไส้ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการท้องเสียได้