MyFeed Personalized Content
พัฒนาการลูก 0-36 เดือน
บทความ

PLAYING: ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด: ทำไมถึงเศร้าในเวลาแห่งความสุข

Add this post to favorites

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด: ทำไมถึงเศร้าในเวลาแห่งความสุข

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดเป็นภาวะที่คุณแม่หลายๆ คนต้องเจอ ถ้าคุณแม่มีอาการ เศร้า มักร้องไห้อยู่บ่อยๆ แม้ว่าตนเองจะมีความสุข มาอ่านบทความนี้เพื่อเรียนรู้วิธีการรับมือ

1นาที อ่าน

เกือบสองในสามของคุณแม่รู้สึกซึมเศร้าหลังจากคลอดลูก แม้ตัวเลขนี้อาจไม่ได้ช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้น แต่มันสะท้อนความจริงที่ว่า คุณไม่ใช่ผู้หญิงเพียงคนเดียวที่รู้สึกซึมเศร้าหลังคลอดบุตร สิ่งที่เกิดขึ้นคือพวกเราต่างก็เคยได้ยิน “ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด” แต่ไม่เคยรับรู้ถึงผลที่ตามมา ผู้หญิงส่วนใหญ่ไม่ต้องการจะจดจำช่วงเวลาที่มืดมนนี้ เพราะเป็นช่วงเวลาที่พวกเธอรู้สึกอ้วนและน่าเกลียด ถูกตอกย้ำด้วยการที่ไม่สามารถ “ใส่เสื้อผ้าชุดเดิมได้” คำแนะนำของเราจะช่วยให้คุณข้ามช่วงเปลี่ยนผ่านนี้ไป และมองสิ่งต่างๆ ด้วยมุมมองใหม่!

 

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด: ทำไมคุณถึงรู้สึกเศร้าในเวลาแห่งความสุขนี้

 

ทำไมฉันถึงร้องไห้ตลอดเวลา?

 

อาการของภาวะซึมเศร้าหลังคลอดจะแตกต่างกันไปในผู้หญิงแต่ละคน บางคนร้องไห้ หรือโกธรเพราะเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ในขณะที่บางคนไม่ได้มีความสุขเมื่อกอดลูกน้อยไว้ในอ้อมแขน บางคนรู้สึกเหนื่อยมากจนกระทั่งไม่อยากลุกออกจากเตียง... ขอให้วางใจ ความรู้สึกเหล่านี้จะเกิดขึ้นแค่เพียงชั่วคราว มันอาจเกิดขึ้นแค่ไม่กี่ชั่วโมง หรืออย่างมากไม่เกิน 10 วัน

ช่วงที่เกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอดเป็นช่วงของการเปลี่ยนผ่าน แม่และลูกไม่ได้เป็นหนึ่งเดียวกันแล้ว! ความรู้สึกตื่นเต้นตอนคลอดบุตรค่อยๆ หายไป กลายเป็นอารมณ์หดหู่ เหนื่อยล้า คิดถึงตัวเองในแง่ลบ และหวาดกลัวเรื่องความรับผิดชอบใหม่ๆ อารมณ์แปรปรวน นอนไม่หลับ ฯลฯ

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดมักเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 3-10 หลังจากคลอดบุตร และบางครั้งก็ถูกเรียกว่า “อาการซึมเศร้าหลังคลอดบุตร 3 วัน” ซึ่งถูกกระตุ้นด้วยระดับฮอร์โมนที่ลดลงตามธรรมชาติอย่างทันทีทันใดในช่วงนี้ นอกจากนั้นยังมีความรู้สึก “ว่างเปล่า” หลังจากคลอด การที่ต้องดูแลเด็กทารกทั้งกลางวันและกลางคืน ความรับผิดชอบแบบใหม่ของคุณซึ่งเป็นแม่... จึงเป็นเรื่องง่ายที่จะเข้าใจว่าทำไมคุณจึงรู้สึกหดหู่
 

เทคนิคง่ายๆ ที่ช่วยให้คุณกลับมายิ้มได้อีกครั้ง

 

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด: ทำไมคุณถึงรู้สึกเศร้าในเวลาแห่งความสุขนี้

ทุกอย่างควรจะเป็นไปด้วยดี... แต่คุณกลับพบว่าคุณเดินไปรอบๆห้อง โดยที่คุณยังสวมชุดนอนอยู่ทั้งวัน คุณอาจรู้สึกเศร้าและผิดหวัง แต่ให้คุณลองหาเวลาให้กับตัวเองบ้างด้วยการพักผ่อน เพราะการพักผ่อนคือสิ่งที่สำคัญที่สุดหลังการคลอดบุตร มีส่วนช่วยในการฟื้นฟูร่างกายและจิตใจ ลองขอความช่วยเหลือจากคนที่อยู่รอบๆ คุณดู ปล่อยให้การซื้อของ งานบ้าน การทำอาหารและงานเอกสาร เป็นหน้าที่ของสามีหรือคุณแม่ของคุณ แล้วทำในสิ่งที่คุณต้องการ อย่างน้อยก็ในช่วงไม่กี่วันแรก
การดูแลตัวเองหมายถึงการหาช่วงเวลาที่สงบสำหรับตัวคุณเอง ไม่ใช่สำหรับคนอื่น ถ้าลูกกำลังนอนหลับ ลองใช้เวลาให้คุ้มค่าด้วยการนอนแช่น้ำในอ่างภายใต้ฟองสบู่ ถ้าลูกเพิ่งกินนมเสร็จ ลองออกไปดื่มกาแฟกับเพื่อนสนิทของคุณ! สามีคุณสามารถดูแลลูกและคุณสามารถพักผ่อนได้เป็นเวลานาน ก่อนที่จะถึงเวลาให้นมลูกอีกครั้ง
คุณต้องไม่ลังเลที่จะพูดถึงความรู้สึกของคุณ เพื่อนสนิทจะไม่ว่าคุณ แม้ว่าคุณจะโทรหาเขาวันละสามเวลา โดยเฉพาะถ้าเธอมีลูกแล้ว เธอก็อาจเคยผ่านประสบการณ์นี้มาก่อน!
ท้ายที่สุด กอดลูกของคุณให้บ่อยที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ เห็นไหม เท่านี้คุณรู้สึกดีขึ้นแล้ว!

 

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด หรือการซึมเศร้าขั้นสูงสุด (full-blown depression)
 

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด: ทำไมคุณถึงรู้สึกเศร้าในเวลาแห่งความสุขนี้

ถ้าคุณมีภาวะซึมเศร้าหลังคลอดนานกว่า 3 สัปดาห์ หรือเริ่มเกิดภาวะนี้ขึ้นหลังคลอดเกิน 15 วัน นั่นอาจแสดงว่าคุณอาจมีอาการผิดปกติอย่างอื่น ถ้าไม่มีอะไรทำให้คุณยิ้มได้ ไม่ว่าจะเป็นการได้พักผ่อน หรือการที่ญาติหรือเพื่อนสนิทมาเยี่ยม หรือการได้เห็นลูกยิ้มเป็นครั้งแรก ถ้าคุณไม่อยากกินอาหาร และมองเห็นแต่ความไม่ดีของสิ่งต่างๆ คุณควรไปขอความช่วยเหลือ และพูดคุยเกี่ยวกับความรู้สึกของคุณกับสูตินรีแพทย์
อารมณ์หดหู่ของคุณอาจไม่ได้แค่เกิดขึ้นเพราะระดับฮอร์โมนที่ลดลง แต่มันอาจเป็นสัญญาณของการเกิดโรคซึมเศร้าหลังคลอด คุณน่าจะต้องกินยาและรับการรักษาทางการแพทย์ ยิ่งตรวจพบมันได้เร็วเท่าไหร่ ประสิทธิผลในการรักษาก็ยิ่งได้ผลดีขึ้นเท่านั้น

 

คุณพ่อก็อาจเกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอดได้เหมือนกัน!
 

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด: ทำไมคุณถึงรู้สึกเศร้าในเวลาแห่งความสุขนี้

ไม่ใช่แค่ผู้หญิงเท่านั้นที่จะรู้สึกซึมเศร้า แต่ผู้ชายก็อาจรู้สึกได้เช่นกัน โดยอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ความเครียดจากความรับผิดชอบใหม่ ความรับผิดชอบของพ่อ กลัวว่าจะทำได้ไม่ดี รู้สึกถูกทอดทิ้ง เหนื่อย... บางครั้งพวกเขาก็รู้สึกอย่างนี้ตั้งแต่ตอนก่อนที่ลูกจะเกิด!
วิธีการแก้ไขที่ดีที่สุดคือการพูดถึงความรู้สึกของคุณ และการได้พักผ่อน เช่นเดียวกับคุณแม่ คุณมีบทบาทสำคัญที่ต้องทำด้วยเหมือนกัน มันเห็นได้ชัดว่า ลูกต้องการเวลาจากคุณอย่างมากในช่วงเริ่มต้น แต่คุณก็ต้องมีเวลาให้กับภรรยาของคุณ และควรมั่นใจในบทบาทใหม่ของการเป็นพ่อ

 

อ้างอิง

1. Seyfried LS, Marcus SM. Postpartum mood disorders. Int Rev Psychiatry. 2003;15:231–42.
2. Hapgood CC, Elkind GS, Wright JJ. Maternity blues: Phenomena and relationship to later postpartum depression. Aust N Z J Psychiatry. 1988;22:299–306.
3. Burt VK. Mood disorders in women: Focus on postpartum. Womens Health Psychiatry. 2006;2:6–12.
4. Beck CT. Postpartum depression predictors inventory-revised. Adv Neonatal Care. 2003;3:47–8.