MyFeed Personalized Content
พัฒนาการลูก 0-36 เดือน
บทความ

PLAYING: อาการไข้ในเด็กวัยเตาะแตะ

Add this post to favorites

อาการไข้ในเด็กวัยเตาะแตะ

การเป็นไข้ คืออาการที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายกำลังต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามา แต่อาการไข้ในเด็กวัยเตาะแตะอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงขึ้นได้เช่นกัน

1นาที อ่าน

อาการไข้ในเด็กวัยเตาะแตะ

 

คุณแม่ย่อมมีความเป็นห่วงเมื่อลูกน้อยมีอาการไข้ แต่คุณแม่สบายใจได้ เพราะมันไม่ได้เป็นอาการที่น่ากลัว การเป็นไข้ คืออาการที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายกำลังต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามา เช่น แบคทีเรีย หรือไวรัส แต่อาการไข้ในเด็กวัยเตาะแตะอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงขึ้นได้เช่นกัน ดังนั้น คุณแม่จึงต้องดูแลลูกน้อยหากเขามีไข้อุณหภูมิขึ้นสูง และพาไปพบแพทย์ทันทีหากคุณแม่รู้สึกกังวล

 

อาการไข้ในเด็กวัยเตาะแตะ

 

อุณหภูมิปกติของร่างกาย

 

อุณหภูมิปกติของร่างกายเด็กวัยเตาะแตะอยู่ในช่วง 36-37 องศาเซลเซียส แต่ค่าที่วัดอาจแตกต่างไปจากนี้ได้ ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของร่างกาย และเวลาที่ทำการวัดอุณหภูมิ ถึงแม้การวัดอุณหภูมิบริเวณหน้าผากจะง่ายที่สุด แต่การวัดบริเวณใต้รักแร้ และทางช่องหูจะให้ค่าที่แม่นยำที่สุด ลูกน้อยจะเป็นไข้ต่อเมื่ออุณหภูมิร่างกายขึ้นสูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียส ซึ่งถือว่าไม่ได้เป็นระดับที่รุนแรง อาการไข้มักทำให้อุณหภูมิร่างกายพุ่งสูงขึ้นในช่วงตอนเย็นและจะต่ำลงในช่วงเช้า หากลูกน้อยสามารถดื่มน้ำและปัสสาวะได้ตามปกติ การพาลูกน้อยไปพบแพทย์อาจยังไม่ใช่เรื่องที่จำเป็นนัก แต่อาจมีอาการงอแง หรือเกาะติดคุณแม่บ้าง

 

ภาวะชักจากอาการไข้

 

ภาวะที่อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นอย่างรวดเร็วแล้วลดลงอาจเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะชักจากอาการไข้ได้
การเห็นลูกชักเป็นสถานการณ์ที่น่าตกใจสำหรับคุณแม่ คุณแม่ควรขอคำปรึกษาจากแพทย์ทันที เพื่อให้สามารถดูแลได้อย่างเหมาะสม

 

อาการไข้ในเด็กวัยเตาะแตะ

 

การดูแลเมื่อลูกน้อยมีอาการไข้

 

• การลดอุณหภูมิร่างกาย การปลอบ และการดื่มน้ำเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำ เมื่อลูกน้อยมีอาการไข้ พยายามเล่นกับลูกน้อยเบาๆ ให้ลูกได้พักผ่อนเต็มที่ ดื่มน้ำหรือนมแม่มากๆ (หากคุณแม่ยังมีน้ำนมอยู่)
• อย่ากังวลหากลูกน้อยปฏิเสธอาหาร เมื่อลูกมีไข้ ความอยากอาหารมักลดลงเป็นเรื่องปกติ แต่จะกลับมาเป็นปกติได้ในไม่ช้า
• หลีกเลี่ยงการสวมเสื้อผ้าหลายชั้นจนมิดชิด เพราะการเผยผิวหนังให้สัมผัสกับอากาศภายนอกจะช่วยลดอุณหภูมิของร่างกายได้
• ใช้น้ำอุ่นในการอาบน้ำ (ไม่ใช้น้ำร้อนหรือเย็นเกินไป) เพราะน้ำเย็นจะทำให้อุณหภูมิลดลงรวดเร็วเกินไป เสี่ยงต่อภาวะชักได้ นอกจากนี้ น้ำเย็นอาจทำให้ลูกหนาวสั่นจนร่างกายต้องปรับอุณหภูมิเพิ่มขึ้นไปอีก
• เปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเท หรือเปิดพัดลมในบริเวณที่ลูกอยู่
• การช่วยสร้างความแข็งแรงให้ระบบภูมิคุ้มกัน สามารถช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับการติดเชื้อได้ด้วยตัวเอง คุณแม่ควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ หรือรับยา