MyFeed Personalized Content
พัฒนาการลูก 0-36 เดือน
บทความ

PLAYING: “วัคซีนสำหรับเด็ก” สิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม!

Add this post to favorites

“วัคซีนสำหรับเด็ก” สิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม!

เด็กแรกเกิดจนถึงเด็กเล็กมักเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยหรือเสียชีวิตด้วยโรคคอตีบ ไอกรน โปลิโอ และไข้หัด ทว่าคุณพ่อ-คุณแม่ไม่ต้องกังวลกับโรคเหล่านั้นอีกต่อไป แล้ววัคซีนยังจำเป็นต่อเด็กแรกเกิดมั้ย?

1นาที อ่าน

ความสำคัญของการฉีดวัคซีนในเด็ก

 

หลังจากที่ทารกน้อยถือกำเนิดจากร่างกายของคุณแม่ ภูมิคุ้มกันที่ลูกเคยได้รับขณะอยู่ในครรภ์จะเริ่มลดลงเรื่อยๆ จากที่ร่างกายของเด็กได้รับแอนติบอดี้ “อิมมูโนโกลบูลิน” (IgG) ผ่านทางรกตลอดการตั้งครรภ์ แต่เมื่อเด็กคลอดออกมาแอนติบอดี้นั้นจะค่อยๆ หมดไปภายในไม่กี่สัปดาห์ ช่วงนี้ระบบภูมิคุ้มกันจึงทำงานได้ไม่ดีพอ ร่างกายของทารกจึงต้องการกำลังเสริมเพื่อต่อสู้กับโรคต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นั่นเป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมการรับวัคซีนจึงสำคัญมากสำหรับเด็กแรกเกิดจนถึงเด็กเล็กนั่นเอง

 

การฉีดวัคซีนในเด็ก

 

วัคซีนทำงานอย่างไร

 

กลไกการทำงานของวัคซีนนั้น เริ่มจากการฉีดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัสที่ตายแล้ว หรือเชื้อโรคที่ถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ลงเข้าสู่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย จากนั้นร่างกายจะสร้างแอนติบอดี้ขึ้นมาเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรคต่างๆ ที่ร่างกายได้รับในอนาคต ในเรื่องนี้นักวิชาการและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้เก็บรวบรวมสถิติและติดตามผลหลังการฉีดวัคซีนอย่างสม่ำเสมอ ผ่านการทดสอบและการประเมินความปลอดภัยจากการฉีดวัคซีนเข้าไปในร่างกาย รวมถึงผลข้างเคียงส่วนใหญ่ที่เกิดจากการฉีดวัคซีน ได้แก่ อาการปวด รอยแดงหรือรอยบวมบริเวณที่ฉีด และมีไข้ เป็นต้น

 

ผลข้างเคียงของการฉีดวัคซีน

 

ลูกน้อยอาจมีไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หรือปวดบริเวณที่ฉีดวัคซีนราว 24-48 ชั่วโมง อาการเหล่านี้อาจทำให้ลูกงอแง นอนหลับยากเป็นเวลา 1-2 วัน ซึ่งไม่มีอันตรายหรือส่งผลข้างเคียงในระยะยาว ทั้งนี้การฉีดวัคซีนก็เปรียบเสมือนการได้ยาที่มักจะมีความเสี่ยงร่วมอยู่ด้วย คุณแม่สามารถรออยู่บริเวณห้องแพทย์เพื่อดูอาการของลูกหลังฉีดวัคซีนก่อน เพื่อความสบายใจก่อนพาลูกน้อยกลับไปพักผ่อนที่บ้าน

 

การดูแลลูกน้อยหลังฉีดวัคซีน

 

คุณแม่สามารถช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกสบายตัวขึ้นได้ด้วยการให้ลูกกินนมแม่ หรือดื่มน้ำมากๆ ควรให้ลูกอาบน้ำอุ่น หรือเช็ดตัวหากลูกมีไข้ ตัวร้อน หรือวางผ้าชุบน้ำอุ่นประคบบริเวณที่ฉีดวัคซีน เพราะลูกน้อยอาจรู้สึกไม่อยากขยับแขนขาประมาณ 1-2 วัน จนกว่าอาการเจ็บปวดจะดีขึ้น คุณแม่อาจให้ยาแก้อักเสบหรือยาแก้ปวดให้รับประทาน เพื่อช่วยบรรเทาอาการ แต่หากลูกมีอาการเจ็บปวดมากจนผิดปกติแนะนำให้พาลูกน้อยไปพบแพทย์อีกครั้ง

บางครั้งคุณอาจได้พูดคุยกับคุณแม่บางคนที่ไม่สนับสนุนการฉีดวัคซีนในเด็ก เนื่องจากความกังวลถึงผลข้างเคียงของวัคซีนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ถึงแม้ว่าการฉีดวัคซีนจะเป็นการตัดสินใจส่วนบุคคลก็ตาม แต่คุณแม่ควรรู้ว่า ผลของการไม่ได้ฉีดวัคซีนในช่วงเวลาที่ร่างกายต้องการนั้นอันตรายกับลูกมากกว่า หากลูกน้อยไม่ได้รับการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันได้ทันท่วงที ขณะเดียวกันเด็กคนอื่นๆ ก็มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในการเกิดหรือการกลับมาระบาดของโรคร้ายแรงบางชนิดของเด็กเล็ก และอาจเพิ่มความเสี่ยงให้ลูกน้อยมีอันตรายจากอาการแทรกซ้อนของโรค ซึ่งมีความร้ายแรงกว่าผลข้างเคียงของการฉีดวัคซีนมาก

หลังฉีดวัคซีนแล้วคุณหมอจะติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ ผ่านการทดสอบและการประเมินความปลอดภัย ซึ่งคุณแม่อาจติดต่อคุณหมอหรือพยาบาลเพื่อขอคำแนะนำเรื่องตารางการรับวัคซีนสำหรับเด็ก หรือสอบถามข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับการฉีดวัคซีนที่คุณมีความกังวล เพื่อให้มั่นใจว่า ลูกน้อยจะได้รับการปกป้องให้สุขภาพแข็งแรงและห่างไกลจากโรคร้ายแรงสำหรับเด็กที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตในที่สุด