MyFeed Personalized Content
พัฒนาการลูก 0-36 เดือน
บทความ

PLAYING: สาเหตุที่ลูกน้อยเเหวะนมเเละวิธีรับมือที่ถูกต้อง

Add this post to favorites

สาเหตุที่ลูกน้อยเเหวะนมเเละวิธีรับมือที่ถูกต้อง

คุณแม่หลายคนอาจเจอปัญหาการแหวะนมของลูก ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติในวัยนี้ โดยมีสาเหตุและวิธีรับมือดังต่อไปนี้

1นาที อ่าน

การแหวะนมในเด็ก

 

การแหวะนมคือการที่อาหารในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับไปที่หลอดอาหาร อาจมีหรือไม่มีการอาเจียนร่วมด้วยก็ได้ ส่วนใหญ่มักไม่มีอันตราย จึงไม่จำเป็นต้องวิตก แต่ถ้าคุณแม่รู้สึกกังวล ให้ปรึกษาแพทย์

 

การแหวะนมของทารก

 

สาเหตุที่ทำให้ทารกแหวะนม:

 

1. ลูกกินนมมากเกินไป และการแหวะนมก็คือการกำจัดนมส่วนที่มากเกินไปนั่นเอง
2. ระบบย่อยอาหารของลูกยังพัฒนาไม่เต็มที่ และกล้ามเนื้อหูรูดตรงทางเข้าของกระเพาะอาหารยังทำงานได้ไม่ดี
3. น้ำนมอาจเข้าไปในกระเพาะอาหารเร็วเกินไปขณะที่กระเพาะอาหารยังว่างอยู่
4. การแพ้อาหาร
5. กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กอักเสบ
6. ลำไส้อุดตัน (พบได้น้อยมาก)

อย่าสับสนโรคกรดไหลย้อน (GERD) กับอาการ ‘อาเจียน’ หรือ ‘แหวะนม’อาการอาเจียนคือการที่ของเหลวหรืออาหารไหลย้อนกลับจากกระเพาะอาหาร และอาจเรียกรวมๆ ว่าการแหวะนม ซึ่งอาจเกิดจากหลายสาเหตุต่อไปนี้

• กล้ามเนื้อหูรูดที่อยู่ด้านบนของกระเพาะอาหารยังพัฒนาไม่เต็มที่ทำให้ไม่สามารถปิด และกักเก็บอาหารในกระเพาะอาหารไว้ได้ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่พบได้ทั่วไปในเด็ก ถ้าลูกอาเจียนแต่ว่ายังเจริญเติบโตและร่าเริงดี ก็ไม่ต้องกังวล

• การป้อนอาหารให้ลูกเมื่อลูกรู้สึกเหนื่อยมากเกินไป หรือถูกกระตุ้นมากเกินไป

• ลูกกินอาหารในปริมาณมากและกินเร็วเกินไปขณะที่ท้องว่าง

• โรคภูมิแพ้ หรือภูมิแพ้อาหารแฝงจากอาหารที่เด็กได้รับ

• มีแรงกดลงบนท้องในขณะนั่ง หรือขณะเปลี่ยนผ้าอ้อม

• ลูกยังคงอิ่มอยู่เพราะยังมีนมที่ยังย่อยไม่เสร็จอยู่ในกระเพาะ

• ลำไส้อุดตัน อาการนี้มักพบพร้อมกับการที่เด็กไม่ขับถ่าย

เมื่อลูกของคุณอาเจียนควรสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดและปรึกษาแพทย์ทันที

 

การแหวะนมของทารก

 

โรคกรดไหลย้อน (GERD - Gastro Esophageal Reflux Disease)

 

การแหวะนมและการอาเจียนในเด็กเป็นเรื่องธรรมดา และเกิดขึ้นได้ตามปกติแต่อาการแหวะนมที่รุนแรงและมีภาวะแทรกซ้อนที่เรียกย่อๆ ว่า เกิร์ด อาจรบกวนชีวิตของทุกๆ คน และทำให้มีความสุขน้อยลง ปกติแล้วจะมีสาเหตุที่เป็นไปได้ 2 อย่างที่อาจทำให้ลูกเกิดการเจ็บปวดจากการแหวะนม
1. กรดอาจไหลย้อนจากกระเพาะอาหารเข้าไปในหลอดอาหารมากเกินไปทำให้เกิดอาการแสบร้อนอย่างรุนแรง
2. ผนังหลอดอาหารหนาตัวขึ้น และเกิดการอักเสบจากการแพ้อาหาร เช่น ไข่ นมวัว ถั่วเหลือง ข้าวโพดและข้าวสาลี

อาการที่ควรเฝ้าระวัง:

• ถ้าลูกรู้สึกแสบร้อนที่หลอดอาหาร ลูกจะงอแงมาก เขาจะร้องไห้ด้วยความเจ็บปวด ไม่ใช่แค่ร้องเพราะรู้สึกไม่สบายตัว

• คุณอาจเห็นลูกร้องไห้ทุกครั้งที่คุณวางให้เขานอนหงายไม่ว่าจะตอนเล่น ตอนนอน หรือตอนเปลี่ยนผ้าอ้อม

• คุณยังอาจพบว่าลูกมักจะนอนหลับแค่ช่วงเวลาสั้นๆ จนอาจกลายเป็นพฤติกรรมการงีบหลับเมื่อพวกเขาโตขึ้น

• คุณอาจพบว่าลูกมักจะสะอึกบ่อยๆ และทำท่ากลืนอาหารแม้ว่าจะไม่ได้ป้อนอาหารอะไรให้เขาก็ตาม

• ลูกอาจอาเจียนหรือไม่อาเจียนก็ได้

• ลูกมักจะไม่ค่อยยิ้ม และมักมีสีหน้าที่แสดงความไม่สบายอยู่เสมอ เห็นได้ชัดว่าลูกรู้สึกเจ็บปวด และคุณเองก็มักเป็นเช่นเดียวกัน

มันเป็นเวลาที่เคร่งเครียดสำหรับทุกคนที่เกี่ยวข้อง การได้รับกำลังใจจากครอบครัวและเพื่อนจึงเป็นสิ่งสำคัญ ต่อไปนี้คือคำแนะนำที่อาจช่วยให้ลูกรู้สึกสบายขึ้น:
1. ให้ลูกนั่งตัวตรงศีรษะยกสูงในขณะที่ป้อนนม และให้พวกเขานั่งท่านี้ต่อไปอีกอย่างน้อย 30 นาทีหลังกินนมเสร็จ
2. เปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูกก่อน หรือระหว่างที่ให้นม เพื่อหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนผ้าอ้อมหลังกินนมเสร็จ เมื่อมีนมอยู่เต็มท้อง
3. ให้ลูกอยู่ในเป้อุ้มเด็กที่ช่วยให้ตัวเขาตั้งตรง ให้เขาพักอยู่ในท่านี้นานที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
4. ให้ลูกนอนบนเก้าอี้โยก หรือเปลโยก โดยให้ลูกอยู่ตำแหน่งกึ่งนั่งกึ่งนอน คุณอาจปรับยกหัวเตียงเด็กขึ้นเป็นมุม 45 องศา และใช้ผ้าปูผูกหรือสอดเข้าไปใต้ตัวเด็กเพื่อยึดเอาไว้ (เพราะลูกอาจเลื่อนลงไปที่ปลายเตียง และท้องอาจถูกเบียดจนทำให้นอนหลับไม่สบาย)
5. ให้ลูกนอนตะแคงข้างซ้าย วิธีนี้จะช่วยชะลอการอาเจียนอาหารจากกระเพาะ อาจนำผ้าขนหนูมาม้วนแล้ววางขนาบข้างลำตัวของลูกเพื่อให้ลูกอยู่ในตำแหน่งเดิม
6. แนะนำให้ปรึกษาแพทย์
7. ขอคำแนะนำจากแพทย์ เพื่อการรักษาด้วยยา เมื่อวิธีที่แนะนำด้านบนไม่สามารถช่วยบรรเทาอาการให้ลูกได้


Czinn SJ1, Blanchard S. Gastroesophageal reflux disease in neonates and infants : when and how to treat. Paediatr Drugs. 2013 Feb;15(1):19-27.