MyFeed Personalized Content
พัฒนาการลูก 0-36 เดือน
บทความ

PLAYING: เชื้อราในเด็ก อาการเชื้อราในปากทารก รักษาอย่างไรดี

Add this post to favorites

เชื้อราในเด็ก อาการเชื้อราในปากทารก รักษาอย่างไรดี

การติดเชื้อราในทารกอาจพบได้ในช่องปาก บริเวณที่ใส่ผ้าอ้อม หรือใต้คาง มักไม่ทำให้เกิดอันตราย แต่เมื่อสภาวะเหมาะสม มันก็จะเจริญเติบโตและเกิดภาวะรุนแรง

1นาที อ่าน

การติดเชื้อรา หรือเชื้อแคนดิดาอัลบิแคนส์ (Candida albicans) อาจพบในปากของลูก บริเวณที่ใส่ผ้าอ้อม หรือใต้คาง และยังอาจมีการติดเชื้อราที่หัวนมของแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และบริเวณช่องคลอด เชื้อราที่รู้จักกันในชื่อ แคนดิดา อาศัยอยู่บนผิวของเรา และมักจะไม่ทำให้เกิดอันตราย แต่เมื่อสภาวะเหมาะสม มันก็จะเจริญเติบโตได้ดีและทำให้เกิดภาวะรุนแรง ซึ่งสภาวะที่เหมาะสมสำหรับเชื้อราก็คือสิ่งแวดล้อมที่อุ่น และชื้น
 

การติดเชื้อราในทารก

 

การติดเชื้อราในช่องปาก

 

เชื้อราจะเจริญเติบโตจากโคนลิ้นไปทางด้านหน้า และอาจเห็นเป็นแผ่นสีขาวขนาดใหญ่บนลิ้นของลูก ในกระพุ้งแก้ม และด้านในของริมฝีปากซึ่งไม่สามารถเช็ดทำความสะอาดออกได้ เมื่อสีขาวใหญ่ขึ้นก็มักมีแผ่นสีแดงอยู่ด้วย แต่อย่าเข้าใจผิดว่าเป็นคราบน้ำนมบนลิ้น การติดเชื้อราในช่องปากอาจทำให้ลูกกินอาหารยาก แต่เด็กบางคนก็อาจไม่เป็นเช่นนั้น และอาจมีการติดเชื้อราในช่องปาก เมื่อให้ลูกดูดนมจากหัวนมที่ติดเชื้อ ยกเว้นว่ามีการรักษาการติดเชื้อที่หัวนมด้วย

 

วิธีรักษาการติดเชื้อราในช่องปาก

 

• ล้างมือให้สะอาด
• ล้างขวด จุกนมเพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำ
• ถามเภสัชกรหรือแพทย์เพื่อหาวิธีการรักษาที่เหมาะสม ซึ่งมักอยู่ในรูปแบบเจล หรือแบบหยอดสำหรับใช้ในช่องปาก

 

การติดเชื้อราในทารก
 

การติดเชื้อราในบริเวณที่ใส่ผ้าอ้อม

 

การติดเชื้อราในบริเวณที่ใส่ผ้าอ้อมจะมีลักษณะกระจายตัวในรูปแผ่นสีแดง และจะไม่ลามออกไปจากส่วนที่มีการทาครีมป้องกันไว้เป็นประจำ

สาเหตุที่พบบ่อยของการติดเชื้อราในบริเวณที่ใส่ผ้าอ้อม
• การติดเชื้อราอาจเกิดขึ้นได้เมื่อคุณหรือลูกกินยาปฏิชีวนะ
• ปล่อยลูกไว้ในผ้าอ้อมที่เปียกหรือสกปรกเป็นเวลานาน
• ใส่ผ้าอ้อมที่อากาศถ่ายเทไม่ได้
• ไม่รู้ว่าเกิดจากอะไร

 

วิธีรักษาการติดเชื้อราในบริเวณที่ใส่ผ้าอ้อม

 

• ใช้น้ำล้างทำความสะอาดทุกครั้งที่เปลี่ยนผ้าอ้อม
• ตากแดดผ้าอ้อมให้แห้งสนิท
• ปล่อยให้ก้นลูกได้สัมผัสกับอากาศอย่างสม่ำเสมอ อย่าใส่ผ้าอ้อมให้ลูกตลอดเวลา
• ใช้ครีมรักษาเชื้อรา ทาบางๆ วันละ 2 ครั้ง และทาครีมปกป้องผิวทับด้านบน ทุกครั้งที่เปลี่ยนผ้าอ้อม