MyFeed Personalized Content
พัฒนาการลูก 0-36 เดือน
บทความ

PLAYING: เสริมความฉลาดทางอารมณ์ให้ลูกน้อยในเเต่ละช่วงวัย

Add this post to favorites

เสริมความฉลาดทางอารมณ์ให้ลูกน้อยในเเต่ละช่วงวัย

ลูกน้อยค้นพบอารมณ์ของตัวเองตั้งแต่แรกเกิด การรับรู้ต่างๆ มีการพัฒนาและสร้างความเชื่อมโยงทางอารมณ์ ที่ส่งผลต่อพัฒนาการต่างๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นกับพวกเขา

1นาที อ่าน

พัฒนาการด้านอารมณ์เป็นช่วงเวลาที่ละเอียดอ่อนในพัฒนาการของลูกน้อย ถึงขั้นที่สามารถกำหนดได้ว่าลูกจะมีลักษณะนิสัยอย่างไรเมื่อโตขึ้น เช่น มีความเห็นอกเห็นใจหรือไม่สนใจผู้อื่น มีความเชื่อใจหรือวิตกกังวล มองโลกในแง่ดีหรือแง่ร้าย มีความหวังหรือมีแต่ความโกรธ เป็นต้น สิ่่งสำคัญคือคุณแม่ต้องดูแลลูกน้อยด้วยความรักและทัศคติที่ดี การให้ความรักและการสร้างความเชื่อใจเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยสร้างความรู้สึกของการเป็นเจ้าของ ความรู้สึกนี้จะสร้างพื้นฐานจิตใจที่แข็งแรง ช่วยลดความเครียดให้ลูกน้อย ได้การแสดงความรักและความเชื่อใจในช่วงวัยเด็กจะช่วยพัฒนาจิตใจและอารมณ์ให้แข็งแรงและเข้มแข็ง ช่วยให้ลูกสามารถรับมือกับสถานการณ์ที่ท้าทายในการใช้ชีวิตต่อไปได้

 

ความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) และพัฒนาการด้านอารมณ์ของลูกน้อย

 

การเข้าใจภาษาการแสดงความรักของลูกน้อย

 

แม้สัญญาณที่ลูกน้อยแสดงออกถึงความรักที่มีต่อคุณแม่อาจเข้าใจยากในช่วงแรกๆ อาจดูเหมือนว่าลูกแค่ต้องการอาหาร อยากอาบน้ำ หรืออยากเปลี่ยนผ้าอ้อม ขณะที่ดูเหมือนจะเป็นอย่างนั้นมากกว่าที่จะเป็นการแสดงความรัก แต่ลูกน้อยก็มีการแสดงออกอย่างจริงใจและมีความอ่อนไหวต่อการตอบสนองของคุณแม่เช่นกัน เมื่ออายุ 6 สัปดาห์คุณแม่จะได้รับรอยยิ้มแรกจากลูกน้อยที่แสนจะคุ้มค่ากับการรอคอย ในที่สุดลูกน้อยก็พร้อมสำหรับการยิ้มให้ด้วยความตั้งใจให้กับคนรอบข้างที่เขาคุ้นเคย

อายุ 4 เดือน ลูกน้อยเริ่มเลียนแบบคุณแม่ได้แล้ว! ลูกน้อยเริ่มเลียนแบบการเคลื่อนไหว และการแสดงออกต่างๆ มีการตอบสนองอย่างตั้งใจมากขึ้น เพราะเขาเรียนรู้ว่าคุณจะมีการตอบสนองและมีความสุขกับสิ่งที่เขาแสดงออก ยิ่งคุณแม่มีความกระตือรือร้นมากเท่าไร ลูกน้อยก็ยิ่งเลียนแบบสิ่งต่างๆ ได้มากขึ้นจากคุณแม่ด้วยเช่นกัน

อายุ 7 เดือน ลูกน้อยอาจยกแขนเพื่อขอให้คุณแม่อุ้ม และคุณแม่ก็มักจะตกหลุมพรางทำตามลูกน้อยแต่โดยดี เมื่อลูกมีทักษะด้านกล้ามเนื้อในการคว้าหยิบของเล่นชิ้นโปรด เขาจะเริ่มหยิบของให้คุณแม่ด้วย ซึ่งเป็นสัญญาณของพัฒนาการที่ดีและการเป็นเด็กที่มีความสุข ลูกน้อยเริ่มร้องไห้เมื่อมีการแยกจากคุณแม่ซึ่งเป็นเรื่องปกติ และเป็นส่วนสำคัญของพัฒนาการด้านจิตใจและอารมณ์ ถึงแม้จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ แต่ความกังวลจากการแยกจากคุณแม่ก็บ่งบอกได้ว่าเขาอยากอยู่กับคุณแม่ และชอบคุณแม่มากกว่าคนอื่นๆ

อายุ 8 เดือน ลูกน้อยเริ่มพูดเลียนแบบคำพูดของคุณแม่ คุณแม่อาจได้ยินคำว่า “หม่าม๊า” จากลูก โดยคำพูดที่ออกเสียงง่ายๆ และความต้องการเรียกชื่อคนหรือสิ่งของที่สำคัญกับตัวเขา ทำให้เกิดคำพูดแรกของลูกน้อย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นคำว่า “แม่แม่ หรือ หม่าม๊า” นั่นเอง อย่ากังวลหากคุณแม่จะได้ยินคำว่า “ดาดา” ก่อน เพราะมักเป็นเพียงแค่การออกเสียงที่ง่าย แต่ยังไม่มีความหมายมากนัก

อายุ 12 เดือน ลูกน้อยชอบหอมแก้มในช่วงวันเกิดแรกของลูกน้อย เขาจะมีทักษะการเคลื่อนไหวและการสื่อสารที่สามารถตอบสนองการหอมแก้มหรือการจูบจากคุณแม่ได้ ลูกน้อยอาจลืมปิดปากในช่วงที่จะจุ๊บแก้มคุณแม่ ซึ่งคุณแม่ควรเต็มใจรับความเลอะที่แสนจะน่ารักนี้จากรอยจุ๊บของลูกในช่วงเริ่มต้น ซึ่งไม่นานจะค่อยๆ ดีขึ้น