MyFeed Personalized Content
รวมเคล็ดลับ ดูแลครรภ์ สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์มือใหม่
บทความ

PLAYING: เคล็ดลับดูแลคุณแม่ตั้งครรภ์ 2 เดือน เพื่อพัฒนาการทารกอายุครรภ์ 2 เดือน

Add this post to favorites

เคล็ดลับดูแลคุณแม่ตั้งครรภ์ 2 เดือน เพื่อพัฒนาการทารกอายุครรภ์ 2 เดือน

ช่วงนี้ร่างกายของลูกมีพัฒนาการที่เร็วมาก คุณแม่จะเห็นการเคลื่อนไหวของลูกได้จากการตรวจอัลตราซาวด์ครั้งแรก มาเรียนรู้วิธีรับมืออาการคลื่นไส้และอาเจียนที่พบบ่อยเป็นปกติในระยะนี้

1นาที อ่าน

ถ้าคุณแม่มีประจำเดือนครั้งสุดท้ายเมื่อประมาณ 7 -10 สัปดาห์ก่อน นั้นอาจหมายความว่าคุณกำลังตั้งครรภ์ได้ 5 – 8 สัปดาห์แล้ว ซึ่งในช่วงนี้เป็นช่วงการตั้งครรภ์ที่บอบบางมาก และเป็นช่วงที่ลูกน้อยมีพัฒนาการที่น่าตื่นเต้นเกิดขึ้นมากมาย ว่าที่คุณแม่จึงต้องดูแลตัวเองให้มากและพักผ่อนให้เพียงพอ

สมองและทางเดินอาหาร


พัฒนาการของทารกอายุครรภ์ 2 เดือน

ช่วงตั้งครรภ์ 2 เดือน พัฒนาการเด็กในครรภ์ต่างๆ มีดังนี้
• เริ่มมีใบหน้า รูปร่างที่ชัดเจนขึ้น เมื่อตรวจอัลตราซาวด์จะเห็นเป็นดวงตา หู จมูก ปาก ตามด้วยลิ้น และหน่อฟัน หัวของลูกน้อยจะเห็นได้ชัดเจนซึ่งจะมีขนาดใหญ่กว่าเมื่อเทียบกับลำตัว
• มีพัฒนาการของประสาทสัมผัสต่างๆ ตั้งแต่สัปดาห์ที่เจ็ดเป็นต้นไป โดยเส้นประสาทตาจะสามารถรับรู้ความแตกต่างของระดับแสงต่างๆ ได้
• อวัยวะต่างๆ ของลูกน้อยมีการพัฒนาเป็นอย่างมาก โดยอวัยวะที่มีพัฒนาการมากที่สุดคือ ทางเดินอาหาร ส่วนสมองและปอดของลูกน้อยก็เริ่มพัฒนาการเป็นรูปเป็นร่างมากหากเทียบกับเดือนที่แล้ว ในส่วนหัวใจของลูกน้อยเองก็เปลี่ยนจากเส้นเลือดทั่วไปเป็นก้อนนูนเล็กๆ อยู่ตรงบริเวณกระเพาะอาหาร ก่อนที่จะถูกย้ายไปที่หน้าอกด้านซ้ายในเวลาต่อมา และตับของลูกน้อยก็กำลังมีขนาดใหญ่ขึ้นจนกินพื้นที่ภายในช่องท้องไปประมาณหนึ่ง
• สรีระร่างกายของลูกน้อยก็กำลังมีพัฒนาการที่สำคัญ เช่น กระดูกสันหลังที่กำลังสร้างตัวให้เห็นชัดเจนขึ้น แขนและขาเริ่มยาวขึ้น ข้อศอกเริ่มปรากฎ นิ้วมือ และนิ้วเท้าเริ่มที่จะเห็นได้อย่างชัดเจน กล้ามเนื้อของลูกน้อยได้ถูกสร้างขึ้นมาแล้ว
โดยคุณแม่จะเห็นพัฒนาการทั้งหมดนี้จากการตรวจอัลตราซาวด์ครั้งแรก ซึ่งในช่วงนี้ลูกน้อยของดูเหมือนมนุษย์ตัวจิ๋วเลย

สาระน่ารู้! โภชนาการคุณแม่ตั้งครรภ์ เพื่อพัฒนาการทารกอายุครรภ์ 2 เดือน

อาการคลื่นไส้ และอาเจียนในตอนเช้าเป็นอาการที่พบได้เป็นปกติของการตั้งครรภ์ในระยะไตรมาสที่ 1 เพื่อลดอาการเหล่านี้ คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง และแบ่งอาหารออกเป็นมื้อย่อยหลายๆ มื้อ โดยรับประทานอาหารว่างมื้อเล็กๆ 1-2 มื้อระหว่างอาหารสามมื้อหลักก็สามารถช่วยได้ การที่คุณแม่อาเจียนบ่อยๆ อาจจะทำให้น้ำหนักลดลงไปบ้างเล็กน้อยก็ไม่ต้องกังวลไป ตราบใดที่น้ำหนักยังอยู่ในเกณฑ์ แต่ถ้าหากน้ำหนักลดลงมากผิดปกติควรปรึกษาคุณหมอทันที

แม้ว่าคุณแม่จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ก็ไม่ควรอดอาหารมื้อเช้า เพราะจะทำให้รู้สึกโหย และได้รับพลังงานลดลง การรับประทานอาหารให้หลากหลาย มีโภชนาการที่สมดุลเป็นสิ่งที่สำคัญมาก คุณแม่ควรเอาใจใส่ในการทานคาร์โบไฮเดรตให้เพียงพอ เพราะอาหารหมวดนี้จะสร้างพลังงานให้แก่คุณแม่ เช่น ข้าว แป้ง มัน ธัญพืช และถั่ว ฯลฯ
คุณแม่อย่าลืมดื่มน้ำให้เพียงพอ ควรดื่มน้ำอย่างน้อย 1.5 ลิตรต่อวัน (หรือมากกว่านี้ถ้าหากอากาศร้อน) เพราะน้ำเป็นส่วนประกอบสำคัญของเลือด ซึ่งโดยปกติคุณแม่ตั้งครรภ์จะต้องสร้างเลือดมากกว่าปกติ เพื่อใช้ลำเลียงสารอาหารไปยังรกเพื่อส่งต่อให้ลูกน้อย และการดื่มน้ำให้เพียงพอยังช่วยให้ไตซึ่งมีหน้าที่ในการกำจัดของเสียของคุณแม่ทำงานได้ดี ทำให้ร่างกายกำจัดของเสียของลูกน้อยได้ดีขึ้นด้วย ทั้งนี้คุณแม่ควรพยายามงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด และน้ำอัดลมอย่างเด็ดขาด ควรจำกัดปริมาณการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น กาแฟ และชา เป็นต้น

เคล็ดลับสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ เมื่ออายุครรภ์ 2 เดือน

อย่างที่กล่าวไปในตอนต้นว่า ในช่วงตั้งครรภ์ 2 เดือนนี้ คุณแม่อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน วิธีบรรเทาอาการเหล่านี้คือ การแบ่งอาหารเป็นมื้อเล็กๆ ควรจะประกอบไปด้วย ผลไม้หรือผัก โปรตีน ผลิตภัณฑ์ธัญพืช เครื่องดื่ม ยกตัวอย่างเช่น แอปเปิ้ล 1 ลูก ขนมปังธัญพืชไม่ขัดสี 1 แผ่น และชานม 1 ถ้วย หรืออาจจะเป็นอาหารว่างที่ทำเอง 1 ชิ้น เช่น ชีสขาว ผลไม้สีแดงหั่นเป็นชิ้น และขนมปังกรอบ ตามด้วยชาสมุนไพร หากคุณแม่ชอบรับประทานอาหารที่มีรสชาติมากกว่านี้ คุณแม่สามารถรับประทานขนมปังธัญพืชไม่ขัดสี 1 แผ่นคู่กับผักสลัด และแฮม 1 ชิ้น พยายามหลีกเลี่ยงขนม และอาหารที่มีไขมันหรือน้ำตาลสูง