MyFeed Personalized Content
รวมเคล็ดลับ ดูแลครรภ์ สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์มือใหม่
บทความ

PLAYING: เคล็ดลับดูแลคุณแม่ตั้งครรภ์ 25 สัปดาห์ เพื่อพัฒนาการทารกอายุครรภ์ 25 สัปดาห์

Add this post to favorites

เคล็ดลับดูแลคุณแม่ตั้งครรภ์ 25 สัปดาห์ เพื่อพัฒนาการทารกอายุครรภ์ 25 สัปดาห์

เข้าสู่ช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ ในช่วงนี้ลูกน้อยจะดิ้นแรงเป็นพิเศษ เพราะกล้ามเนื้อของเขาแข็งแรงขึ้น มาดูพัฒนาการของลูก และเคล็ดลับที่แนะนำสำหรับคุณแม่กัน

1นาที อ่าน

ในสัปดาห์ที่ 25 ลูกน้อยอาจซุกซนและดิ้นแรงเป็นพิเศษ นั่นแปลว่าเขาแข็งแรงแล้ว ในขณะที่คุณแม่บางท่านอาจมีอาการหลับยากระหว่างตั้งครรภ์ และฝันร้ายตอนท้องบ่อยๆ เนื่องจากความกังวลที่เพิ่มมากขึ้น เพราะเข้าสู่การตั้งครรภ์ในไตรมาสสุดท้ายแล้ว

pregnant woman and her husband excited with baby’s kicking

พัฒนาการของทารกอายุครรภ์ 25 สัปดาห์

ในช่วงนี้ลูกน้อยจะมีการเคลื่อนไหวถี่ และบางครั้งก็ดิ้นแรงจนคุณแม่รู้สึกได้ เช่น ดิ้นจากท้องด้านซ้ายไปด้านขวาสลับกันไปมา ที่เด็กดิ้นแรงขึ้นมาก เป็นเพราะอวัยวะต่างๆ ของเขาพัฒนาและแข็งแรงมากขึ้นแล้ว เราขอแนะนำให้คุณแม่เอามือลูบท้องเบาๆ เพื่อเป็นการแสดงว่า คุณรับรู้ถึงการเคลื่อนไหวของเขา อีกทั้งในสัปดาห์นี้คุณแม่และคุณพ่อควรพูดคุยกับลูกน้อยให้มากๆ เพราะเขาจะเริ่มจำเสียงและแยกเสียงคุณแม่และคุณพ่อได้แล้ว

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของคุณแม่ตั้งครรภ์ 25 สัปดาห์

อาการหลับยากระหว่างตั้งครรภ์เป็นเรื่องปกติสำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์มาถึงไตรมาสที่ 2 ตอนปลาย เพราะฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ประกอบกับความกังวลเรื่องสุขภาพของลูกน้อยว่า เมื่อคลอดออกมาจะสมบูรณ์แข็งแรงดีหรือไม่ ความคิดเหล่านี้จะวนเวียนอยู่ในหัวของคุณแม่ จนเกิดเป็นความเครียด นำไปสู่อาการฝันร้ายตอนท้อง แน่นอนว่าเมื่อคนท้องฝัน คนโบราณมักมีการทำนายความฝันนั้นของคุณแม่ แต่ในทางวิทยาศาสตร์และทางการแพทย์นั้น ความฝันของคุณแม่เกิดมาจากความกังวลและความเครียดเท่านั้น ทางที่ดีควรเล่าความฝัน ระบายความกังวลใจให้สามี หรือคนใกล้ชิดฟัง เพื่อคุณแม่จะได้รู้สึกดีขึ้น หรืออาจลองหากิจกรรมทำเพื่อผ่อนคลายความเครียด เช่น ฟังเพลง อ่านหนังสือ หรือออกกำลังกายเบาๆ

สาระน่ารู้! โภชนาการคุณแม่ตั้งครรภ์ เพื่อพัฒนาการทารกอายุครรภ์ 25 สัปดาห์

จากพัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์ที่สามารถสัมผัสถึงรสชาติของอาหารที่คุณแม่ทานได้แล้ว ทำให้คุณแม่บางท่านมีความกังวลเรื่องอาหารที่ตนเองจะรับประทานเข้าไป เช่น กลัวว่าลูกน้อยจะไม่ชอบอาหารนั้นๆ หรือรสชาติอาหารที่จัดเกินไปจะส่งผลไม่ดีต่อลูก เป็นต้น แต่ในความจริงแล้ว การรับรู้รสชาติอาหารของลูกน้อยในที่นี้คือ การรับรู้ถึงรสชาติอ่อนๆ และกลิ่นอ่อนๆ ผ่านทางน้ำคร่ำของคุณแม่เท่านั้น ดังนั้น เราขอแนะนำว่า ให้คุณแม่ทานอาหารที่ต้องการได้โดยเลือกทานอย่างหลากหลาย และมีสารอาหารครบถ้วนตามหลักโภชนาการและอายุครรภ์

pregnant woman drinking milk

เคล็ดลับสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ เมื่ออายุครรภ์ 25 สัปดาห์

ในช่วงนี้คุณแม่อาจต้องเผชิญกับปัญหา ข้อเท้าบวม เรามีเคล็ดลับแก้อาการข้อเท้าบวมตอนท้อง มาฝากคุณแม่กัน ทำง่ายๆ ได้ 2 วิธี
• วิธีแรก ให้คุณแม่นั่งบนเก้าอี้ และหาเก้าอี้อีกตัวที่เตี้ยกว่ามาวางเท้า เพื่อเป็นการยกเท้าขึ้น วิธีนี้จะช่วยลดการกดทับที่ขาและข้อเท้าได้
• วิธีที่สอง ให้คุณแม่ออกลุกขึ้นเดิน เพราะการเดินช้าๆ จะทำให้การไหลเวียนของโลหิตและการส่งของเหลวไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายทำได้ดีขึ้น และข้อเท้าก็จะหายบวมในที่สุด แต่อย่างไรก็ตามหากคุณแม่มีอาการมือบวมตอนท้อง หน้าบวมตอนท้อง และตัวบวมระหว่างท้อง ควบคู่ด้วย ให้ไปพบแพทย์ทันที เพื่อตรวจเช็คให้ละเอียดที่สุด เพราะอาการเหล่านี้อาจทำให้คุณแม่มีความเสี่ยงต่อภาวะครรภ์เป็นพิษได้

อ้างอิง:
1. Mennella JA, Jagnow CP, Beauchamp GK: Prenatal and Postnatal Flavor Learning by Human Infants. Pediatrics 2001, 107: -e88.
2. Seron-Ferre M, Torres-Farfan C, Forcelledo ML, Valenzuela GJ: The development of circadian rhythms in the fetus and neonate. Seminars in Perinatology 2001, 25: 363-370.
3. Swaiman KF: Pediatric neurology: principles & practice, 5th edn. Philadelphia: Elsevier/Saunders; 2012.
4. Weaver LT, Austin S, Cole TJ: Small intestinal length: a factor essential for gut adaptation. Gut 1991, 32: 1321-1323.
5. MedlinePlus [Internet]. Bethesda (MD): National Library of Medicine (US); [updated 2016 Oct 05]. Fetal development; [reviewed 2015 Sept 26; cited 2016 Oct 27]; [about 2 p.]. Available from: https://medlineplus.gov/ency/article/002398.htm