MyFeed Personalized Content
พัฒนาการลูก 0-36 เดือน
บทความ

PLAYING: พัฒนาการครั้งแรกของลูกน้อยจะเกิดขึ้นเมื่อไร

Add this post to favorites

พัฒนาการครั้งแรกของลูกน้อยจะเกิดขึ้นเมื่อไร

ลูกน้อยจะมีการเรียนรู้ และพัฒนาทักษะของตัวเองอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นควรรู้ว่าช่วงเวลาสำคัญใดที่คุณแม่ไม่ควรพลาดพัฒนาการของลูก

1นาที อ่าน

พัฒนาการลูกน้อยในวัยเด็กตอนต้น

 

ลูกน้อยมีการเรียนรู้ หัวเราะ พูด ตลอดเวลา อาหารอะไรที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการของลูก และช่วงเวลาสำคัญใดที่คุณแม่ไม่ควรพลาดพัฒนาการของลูก โลกของลูกและพัฒนาการของลูกอาจไม่ธรรมดาอย่างที่คุณคิด ในแต่ละเดือน หรือแม้แต่ในแต่ละวันจะมีทักษะใหม่ๆ และพัฒนาการใหม่ๆ เกิดขึ้นกับเขา ซึ่งเป็นเหตุผลที่พ่อแม่ทุกคนอยากเห็นพัฒนาการของลูกอย่างต่อเนื่อง แต่เมื่อลูกมีพัฒนาการที่ช้ากว่าเด็กในวัยเดียวกัน คุณแม่ก็มักเกิดความกังวล เช่น การพูดล่าช้า ยังไม่ยอมนั่งกระโถน ไม่กินข้าวเอง หรือการปฏิเสธผักและผลไม้ เป็นต้น

 

พัฒนาการลูกน้อย ครั้งแรกของพัฒนาการต่างๆ จะเกิดขึ้นเมื่อไร

 

การหัวเราะ การพูดอ้อแอ้ การนั่ง การเดินก้าวแรกของลูกน้อย

 

เด็กทุกคนมีพัฒนาการตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า จากส่วนกลางของลำตัวไปยังปลายนิ้วมือและนิ้วเท้า การรับทราบถึงพัฒนาการพื้นฐานต่างๆ จะช่วยให้คุณแม่เข้าใจลำดับขั้นของพัฒนาการและวิธีพัฒนาทักษะต่างๆ ของลูก

ในเชิงลึก แรงผลักดันที่ช่วยกระตุ้นพัฒนาการลูกให้ผลชัดเจนที่สุด คือ ความต้องการสำรวจโลกและแสดงตัวตนของตัวเองของลูก การรับรู้ของลูกน้อยเกิดจากกระบวนการค้นพบการได้ยิน การดมกลิ่น การสัมผัส การลิ้มรส และการมองเห็น

ประสาทการรับรู้เหล่านี้ไม่ได้ทำงานแยกส่วนกัน ตั้งแต่ตอนที่ทารกเป็นตัวอ่อนฟีตัส (feotus) จนกระทั่งคลอดออกมา ประสาทสัมผัสบางอย่างอาจมีความโดดเด่นกว่าชนิดอื่นๆ เช่น การดมกลิ่น การได้ยิน และการรับรู้รสชาติ ลำดับขั้นพัฒนาการของเด็กแต่ละคนอาจไม่ได้เกิดจากองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งแต่มักเกิดจากการประสานงานที่ดีของกระบวนการทั้งหมด

 

ลูกน้อยสามารถจดจำหน้าพ่อแม่ได้เมื่อไร

 

เมื่ออายุ 2 เดือน ลูกน้อยสามารถมองเห็นเพียงลักษณะกลมๆ ของศีรษะและดวงตาของคุณแม่ ดวงตาของลูกมีการตอบสนองโดยธรรมชาติต่อสิ่งกระตุ้น แต่ยังไม่สามารถจดจำหน้าคุณแม่ได้ สิ่งที่ลูกจำคุณแม่ได้เกิดจากกลิ่นและเสียงของคุณแม่นั่นเอง

ในระยะนี้ ลูกได้ผ่านช่วงพัฒนาการแรกๆ เกือบพร้อมๆ กัน รอยยิ้มแรกของลูกอาจไม่ได้เป็นการตอบสนองของร่างกาย แต่เป็นการตอบสนองต่อสิ่งที่เขาได้ยิน จากนั้นลูกจะเริ่มหันหน้าไปมาเพื่อมองสิ่งรอบตัว และสุดท้ายเมื่อเขาอายุ 3 เดือน เขาจะสามารถจดจำหน้าของสมาชิกในครอบครัวได้

 

พัฒนาการพื้นฐานต่างๆ มักเกิดขึ้นในช่วงลูกอายุ 3 เดือน

 

ในช่วงแรก พัฒนาของลูกน้อยอาจไม่ได้เกิดขึ้นจากความตั้งใจ เช่น การกำมือจับสิ่งของต่างๆ ด้วยปลายนิ้ว แต่หลังจากนั้นลูกจะเริ่มค้นพบสิ่งใหม่ นั่นคือ ความสามารถของมือทั้ง 2 สองข้าง คุณแม่ควรกระตุ้นให้ลูกหัดกำมือโดยการสำรวจสิ่งของต่างๆ
เมื่อไรที่สามารถให้ลูกน้อยกินอาหารเสริมได้

ช่วง 6 เดือน เป็นช่วงที่ลูกเริ่มมีความพร้อมในการเริ่มอาหารตามวัย ซึ่งเป็นช่วงที่คุณแม่สามารถหัดให้ลูกกินอาหารที่มีลักษณะข้นๆ หรือเป็นชิ้นนิ่มๆ ได้ และเมื่ออายุ 9 เดือน ถ้าลูกน้อยมีฟันขึ้นแล้ว ลูกก็สามารถกินชิ้นอาหารที่แข็งขึ้นหรืออาหารกรอบๆ ได้แล้ว

 

วิธีการกระตุ้นลูกน้อย

 

พัฒนาการลูกน้อย ครั้งแรกของพัฒนาการต่างๆ จะเกิดขึ้นเมื่อไร

 

ลูกต้องการแสดงความเป็นตัวตน และการชอบเลียนแบบผู้ใหญ่ก็เป็นแรงกระตุ้นที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการต่างๆ ได้
ช่วง 5-6 เดือน ลูกจะสามารถพลิกตัวได้ และจะเริ่มนั่งได้เมื่ออายุ 7 เดือน ในเดือนที่ 10 และ 11 เขาจะรู้ว่าเขาอยู่ในบ้าน ในที่ของตัวเอง และพร้อมสำหรับการเดินก้าวแรก

 

ลูกจะค่อยๆ มีพัฒนาการแต่ละขั้นดังนี้

 

● การคลาน
● การเกาะยืน
● การเดินเป็นเส้นตรง (ช่วง 13-18 เดือน)
● การวิ่ง
● การกระโดด
● การปีนป่าย
● การอุ้มของ
● การดึง
● การผลัก
● การขว้างปา
บางครั้งพัฒนาการของลูกอาจข้ามบางขั้นตอน หรืออาจเรียงลำดับแตกต่างจากนี้ไปบ้าง

 

วิธีการกระตุ้นให้ลูกพูดคำแรก

 

การเรียนรู้ภาษาของเด็กๆ ไม่ได้ขึ้นกับใครคนใดคนหนึ่ง แต่ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม เด็กวัยเตาะแตะและเด็กเล็กๆ อาจเพิ่งจะเริ่มพูด ในขณะที่เด็กบางคนอาจพูดได้เร็วกว่านั้น

• อายุ 15 เดือน ลูกจะเริ่มพูดได้หลายคำ คุณแม่มักเป็นผู้ได้ยินสิ่งที่ลูกพูด สิ่งเหล่านี้สร้างความรู้สึกที่มีค่า เปรียบเสมือนสายใยที่สร้างความผูกพันภายในครอบครัว
• อายุ 24 เดือน ลูกเริ่มพูดประโยคง่ายๆ ได้
• อายุ 3 ปี ลูกสามารถเล่าเรื่องของตัวเองได้ ในช่วงนี้ การพูดคุยกับคุณพ่อคุณแม่เป็นปัจจัยที่ช่วยกระตุ้นการพูดของลูก การพูดคุยในช่วงมื้ออาหารจะช่วยให้ลูกเรียนรู้ได้ดี

 

กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการลูก

 

การช่วยส่งเสริมพัฒนาการ คุณแม่ควรพูดคุยกับลูกตั้งแต่แรกเกิดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รอบตัวบ่อยๆ คุณแม่ควรอยู่ห่างจากหน้าลูก 30 เซนติเมตร ซึ่งเป็นระยะที่เขาสามารถมองเห็นหน้าคุณแม่ได้ชัดเจน

• อายุ 3 เดือน ลูกเริ่มมีความสุขกับการถูกแกว่งไกวในเปล ของเล่นสุดโปรดของลูกในช่วงนี้ คือ มือถือของเล่น และของเล่นเขย่ามือกรุ๋งกริ๋ง ที่ลูกจะได้สะบัดมือตามไปด้วย
• อายุ 5-6 เดือน เสื่อปูพื้นลายต่างๆ หรือเพลย์แมตเป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยกระตุ้นการคลานของลูกได้