MyFeed Personalized Content
พัฒนาการลูก 0-36 เดือน
บทความ

PLAYING: 10 วิธีเปลี่ยนผ้าอ้อมทารกแรกเกิด ด้วยวิธีที่ถูกต้อง

Add this post to favorites

10 วิธีเปลี่ยนผ้าอ้อมทารกแรกเกิด ด้วยวิธีที่ถูกต้อง

ไม่มีใครเป็นผู้เชี่ยวชาญในการเปลี่ยนผ้าอ้อมในทันที ไม่ต้องกังวลไปเพราะคุณจะมีโอกาสฝึกเปลี่ยนผ้าอ้อมบ่อยๆ เเน่นอน มาดูเคล็ดลับในการเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูกน้อยกัน

2นาที อ่าน

เทคนิคเปลี่ยนผ้าอ้อม

 

เคล็ดลับในการเปลี่ยนผ้าอ้อม

 

ไม่มีใครเป็นผู้เชี่ยวชาญในการเปลี่ยนผ้าอ้อมได้ในทันทีทันใด แต่ไม่ต้องกังวลไปค่ะ คุณมีโอกาสอีกมากให้ฝึก ลูกของคุณอาจจะชอบนอนเฉยๆ ให้คุณเปลี่ยนผ้าอ้อม หรือขยับไปมา เตะและร้องไห้ หรือทำทั้งสามอย่าง สิ่งสำคัญที่สุดคือจำนวนการนับจำนวนผ้าอ้อมที่ใช้มากกว่า
ไม่ว่าคุณจะเปลี่ยนผ้าอ้อมอย่างไร สิ่งสำคัญที่สุดก็คือการที่ลูก
• ปัสสาวะประมาณ 6 ครั้ง
• ถ่ายอุจจาระวันละครั้ง หรือถ่ายทุกๆสองวัน และบางครั้งก็อาจถ่ายทุก 2-3 วัน
ซึ่งเป็นเรื่องปกติและแตกต่างกันไปในเด็กทารกแต่ละคน

 

10 เคล็ดลับยอดนิยมในการเปลี่ยนผ้าอ้อม

 

ทำตามเคล็ดลับต่อไปนี้เพื่อช่วยให้การเปลี่ยนผ้าอ้อมง่ายขึ้น
1. สถานที่เปลี่ยนผ้าอ้อม: พื้น หรือโต๊ะ หรือม้านั่งที่สูงระดับข้อศอกเป็นสถานที่ที่เหมาะสม เพราะช่วยให้การก้มตัว หมอบ หรือคุกเข่าน้อยลง พื้นราบก็เป็นสถานที่เปลี่ยนผ้าอ้อมที่ดีเพราะลูกจะไม่มีทางตกลงมา
2. ใช้มือข้างหนึ่งจับลูกไว้: ไม่หันหลังให้ลูกของคุณเมื่อเปลี่ยนผ้าอ้อมบนโต๊ะ ใช้มือข้างหนึ่งจับตัวลูกไว้ตลอดเวลา มันช่วยให้คุณและลูกรู้สึกปลอดภัยยิ่งขึ้น
3. เตรียมพร้อม: เตรียมผ้าอ้อมสะอาด ถุงหรือถังใส่ขยะ แผ่นเช็ดทำความสะอาด และครีมให้หยิบใช้ได้สะดวก
4. ปรับขนาดผ้าอ้อมให้เหมาะกับเด็กแรกเกิด: ก่อนที่สายสะดือลูกจะหลุดออกไป ให้ซื้อผ้าอ้อมที่ตัดขอบเอวตรงส่วนสายสะดือ หรือพับส่วนบนของผ้าอ้อมให้บริเวณสายสะดือเปิดสัมผัสกับอากาศ
5. เลือกใช้ผ้าที่สะอาด: ช่วงไม่กี่เดือนแรก ผิวของลูกอาจจะแพ้สารเคมี หรือน้ำหอมที่มีอยู่ในแผ่นเช็ดทำความสะอาดสำเร็จรูป ให้ใช้ผ้านุ่มๆ ที่อุ่น สะอาด และน้ำ ทำความสะอาดก้นของลูกด้วยการเช็ดเบาๆ และใช้แผ่นเช็ดทำความสะอาดสำเร็จรูปเช็ดผิวด้านนอกเท่านั้น
6. ทำความสะอาดให้หมดจด: การเช็ดทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศ และก้น ช่วยป้องกันผื่นผ้าอ้อม และช่วยให้ลูกมีกลิ่นหอมสดชื่นแบบเด็กเกิดใหม่ การเช็ดทำความสะอาด ให้เช็ดจากด้านหน้าไปด้านหลัง เพื่อลดโอกาสในการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย
7. ระวังการเปลี่ยนผ้าอ้อมให้เด็กผู้ชาย: เพื่อป้องกันไม่ให้ถูกเด็กฉี่รด ถ้าเขาฉี่ออกมาตอนที่คุณกำลังเปลี่ยนผ้าอ้อม ให้วางผ้านุ่มๆ ลงบนอวัยวะเพศจนกว่าคุณจะจัดผ้าอ้อมเรียบร้อย
8. เปลี่ยนผ้าอ้อมให้เด็กผู้หญิงอย่างนุ่มนวล: เมื่อเปลี่ยนผ้าอ้อมให้เด็กผู้หญิงให้เช็ดทำความสะอาดจากด้านบนลงล่าง
9. ผ้าอ้อมแบบใช้แล้วทิ้ง: เลือกขนาดที่เหมาะสม สวมใส่สบาย ดึงด้านที่ขยายออกได้ให้เรียบก่อนจะติดสายรัด เมื่อรัดผ้าอ้อมสำเร็จรูปแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งเสร็จแล้ว ให้ตรวจดูว่ามันไม่รัดแน่นเกินไป คุณคงไม่ต้องการผ้าอ้อมที่รัดเฉพาะท้องลูก แต่ส่วนที่เหลือหลวมเกินไป เพราะแม้แต่ผ้าอ้อมที่ยึดหยุ่นได้ดีที่สุดก็ยังรั่วซึมได้
10. ผ้าอ้อมที่ทำจากผ้า: ยึดผ้าอ้อมด้วยเข็มซ่อนปลาย หรือสายรัดผ้าอ้อมแบบพลาสติก เพื่อป้องกันไม่ให้เข็มตำลูก ให้เอานิ้วมือของคุณมากั้นไว้ระหว่างปลายเข็มกับผิวของลูก เพราะคุณถูกเข็มตำดีกว่าจะให้ลูกถูกเข็มตำ คอยตรวจดูเพื่อให้แน่ใจว่าปลายเข็มถูกเก็บซ่อนไว้ดีแล้ว สวมกางเกงพลาสติก หรือไนล่อน หรือแผ่นหุ้มผ้าอ้อมเพื่อเพิ่มการปกป้องไม่ให้ของเหลวรั่วซึมออกมา
การเปลี่ยนผ้าอ้อมเป็นสิ่งที่คุณแม่และคุณพ่อทุกคนจำเป็นต้องเรียนรู้ มันอาจจะน่าเบื่อแต่ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ในชีวิตของพ่อแม่ทุกคน – ขอให้มีความสุขกับมัน

 

เทคนิคเปลี่ยนผ้าอ้อม

 

ผ้าอ้อมแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง หรือผ้าอ้อมที่ทำจากผ้า

 

เรื่องแรกๆ ที่คุณต้องตัดสินใจในการดูแลลูกก็คือ จะใช้ผ้าอ้อมแบบไหนดี คุณมีทางเลือกสองทาง – ผ้าอ้อมแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง หรือผ้าอ้อมที่ทำจากผ้า ทั้งคู่มีข้อดีและข้อเสีย ต่อไปนี้เป็นจุดสังเกตบางอย่างที่คุณอาจใช้เมื่อต้องตัดสินใจเลือก
1. ประเภทของวัสดุ: ผ้าอ้อมแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งทำจากวัสดุที่มนุษย์สร้างขึ้น และต้องทิ้งไปหลังใช้งาน ในขณะที่ผ้าอ้อมที่ทำจากผ้าทำมาจากผ้าฝ้าย ผ้าขนหนู หรือผ้าสักหลาดอ่อน สามารถซื้อได้ทั้งแบบยังไม่ตัดขึ้นรูปหรือตัดขึ้นรูปแล้ว โดยมีความหนาและรูปแบบที่แตกต่างกันไป
2. ขนาด: ผ้าอ้อมแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งมีหลายขนาด ขึ้นอยู่กับน้ำหนักและอายุของเด็ก ผ้าอ้อมที่ทำจากผ้าก็มีหลายขนาดเช่นเดียวกัน
3. วิธีที่ยึดติด: ผ้าอ้อมแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งใช้การคาดด้วยเทปกาว หรือตีนตุ๊กแก (นำตีนตุ๊กแกที่แปะอยู่ด้านหลังมาติดที่ด้านหน้า) ผ้าอ้อมแบบดั้งเดิมอาจยึดติดด้วยเข็มซ่อนปลาย หรือสายรัดผ้าอ้อม และจำเป็นต้องมีกางเกงพลาสติกสวมไว้ด้านนอกเพื่อป้องกันการเปียก ผ้าอ้อมผ้าหลายรุ่นได้รับการออกแบบให้ไม่ต้องใช้กางเกงกันเปียก หรือเข็มซ่อนปลาย เพราะมีตีนตุ๊กแก หรือกระดุมช่วยยึด พร้อมกับมีตัวป้องกันการเปียกอยู่ด้านนอก
4. การทำความสะอาด และการทำลาย: ทิ้งอุจจาระที่อยู่ในผ้าอ้อมทั้งสองแบบลงในโถส้วม พับผ้าอ้อมสำเร็จรูปแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งก่อนจะทิ้งลงถังขยะ ผ้าอ้อมที่ทำจากผ้าจำเป็นต้องแช่และซัก การใช้ผ้าซับในที่ล้างทำความสะอาดได้ง่ายสอดไว้ในผ้าอ้อมที่ทำด้วยผ้าช่วยให้ทำความสะอาดได้ง่ายขึ้น
5. ศูนย์เลี้ยงเด็กกลางวัน: ศูนย์เลี้ยงเด็กกลางวันส่วนใหญ่จะขอให้ใช้ผ้าอ้อมแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง เพราะใช้ได้สะดวกกว่า กำจัดอย่างถูกสุขอนามัยได้ง่ายกว่า ควรพูดคุยเรื่องการใช้ผ้าอ้อมที่ทำด้วยผ้ากับศูนย์เลี้ยงเด็ก คนรับเลี้ยงเด็กภายในบ้านอาจยอมใช้ผ้าอ้อมที่ทำด้วยผ้าได้มากกว่าที่ศูนย์
6. ป้องกันการเกิดผื่นผ้าอ้อม: ผ้าอ้อมแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งมีแผ่นซับด้านในที่ช่วยปกป้องผิวจากความเปียกชื้น มันช่วยให้ก้นของลูกแห้งกว่า และเกิดการระคายเคืองน้อยกว่า อย่างไรก็ตาม ผ้าอ้อมแบบดั้งเดิมหลายรุ่นมีแผ่นซับในคล้ายกับผ้าอ้อมแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง มันจึงช่วยป้องกันการเกิดผื่นผ้าอ้อมได้
7. เดินทางได้สะดวก: คุณสามารถทิ้งผ้าอ้อมแบบใช้ครั้งเดียวที่สกปรกแล้วลงในถังขยะที่เหมาะสม หรือเก็บผ้าอ้อมที่ทำด้วยผ้าที่สกปรกไว้ในถุงพลาสติกที่ปิดสนิท แล้วค่อยนำมาซักทำความสะอาดในเวลาที่สะดวก
8. ราคา: การใช้ผ้าอ้อมแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งมีราคาแพงกว่าการนำผ้าอ้อมไปซักทำความสะอาดที่บ้านมาก การซักผ้าอ้อมแบบดั้งเดิมด้วยตัวเองเป็นทางเลือกที่ราคาถูกที่สุด ลองหาให้ดีเพราะมีผ้าอ้อมที่ทำด้วยผ้าอยู่หลายแบบ
9. การคำนึงถึงสภาพแวดล้อม: ยังมีการถกเถียงกันถึงข้อดีและข้อเสียต่อสภาพแวดล้อมจากการใช้ผ้าอ้อมทั้งสองแบบ ในขณะที่การซักผ้าอ้อมด้วยตัวเองและการใช้บริการซักผ้าอ้อมมีการใช้น้ำและกระแสไฟฟ้า ผ้าอ้อมแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งก็ไปเพิ่มปัญหาระยะยาวในการกำจัดขยะที่ไม่ย่อยสลาย เพราะจะต้องนำไปกลบฝัง
คุณควรใช้เวลาเพื่อการตัดสินใจอย่างถูกต้องเพื่อลูก ทั้งในตอนนี้และในอนาคต และคุณอาจเปลี่ยนใจเมื่อไรก็ได้

 

เทคนิคเปลี่ยนผ้าอ้อม

 

การเปลี่ยนผ้าอ้อมให้เด็กผู้หญิง

 

บริเวณช่องคลอดของเด็กผู้หญิงเป็นส่วนที่บอบบาง จึงไม่จำเป็นต้องเช็ดเข้าไปในรอยพับบริเวณปากช่องคลอด จับรอยพับที่ช่องคลอดเบาๆ ให้เปิดออก แล้วใช้ผ้าอ้อมนุ่มๆ หรือก้อนสำลีที่แช่น้ำอุ่นเอาไว้เช็ดจากด้านบนลงล่าง แผ่นเช็ดทำความสะอาดที่ใส่สารเคมีเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น เพราะทำให้เกิดปัญหากับผิวที่บอบบางและเยื่อเมือกต่างๆ เปลี่ยนผ้าอ้อมทุกๆ 3-4 ชั่วโมงตามเวลาที่ให้นม เพื่อป้องกันไม่ให้ผิวที่บอบบางสัมผัสกับปัสสาวะนานเกินไป ทำความสะอาดบริเวณช่องคลอดโดยเช็ดจากบนลงล่างเสมอ เพื่อป้องกันการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ เนื่องจากมีอุจจาระจากการเช็ดทำความสะอาด ปนเปื้อนเข้าไปในท่อปัสสาวะที่สั้นของเด็ก เด็กหญิงบางคนอาจมีประจำเดือนเทียม โดยเห็นเป็นน้ำเมือกที่มีเลือดปนอยู่เล็กน้อยไหลออกมาจากช่องคลอดในช่วง 6 สัปดาห์แรกหลังคลอด มันเป็นสิ่งปกติและต้องเช็ดออกเมื่อถึงเวลาเปลี่ยนผ้าอ้อม

 

เทคนิคเปลี่ยนผ้าอ้อม

 

การเปลี่ยนผ้าอ้อมให้เด็กผู้ชาย

 

เมื่อเช็ดทำความสะอาดเด็กผู้ชาย ให้ค่อยๆ ยกถุงหุ้มอัณฑะขึ้น แล้วจึงเช็ดทำความสะอาด เด็กชายที่ไม่ได้ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ คุณไม่จำเป็นต้องดึงหนังไปข้างหลัง เพื่อทำความสะอาดปลายอวัยวะเพศ การอาบน้ำทุกวัน โดยอาบตั้งแต่ “หัวจรดเท้า” ก็ช่วยให้บริเวณนี้สะอาดแล้ว เด็กชายจะเริ่มเล่นกับร่างกายของเขาเอง และดึงหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศเล่นเมื่ออายุประมาณ 12 เดือน มันเป็นเรื่องปกติและเป็นส่วนหนึ่งของการสำรวจตัวเอง เมื่อลูกชายของคุณโตขึ้น ควรสอนให้เขาดึงหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศไปด้านหลัง เพื่อป้องกันไม่ให้ปัสสาวะกระเซ็นแบบไร้ทิศทางในขณะปัสสาวะ และยังช่วยรักษาสุขอนามัยที่ดีอีกด้วย
เปลี่ยนผ้าอ้อมทุก 3-4 ชั่วโมง ใกล้ๆ เวลาที่ให้นม

 

เทคนิคเปลี่ยนผ้าอ้อม

 

ผื่นผ้าอ้อม

 

การที่ลูกใส่ผ้าอ้อมนานๆ แล้วเป็นผื่นผ้าอ้อมเป็นสิ่งที่พบได้เสมอ แต่มันไม่ได้เป็นสาเหตุเพียงอย่างเดียว เด็กบางคนเป็นผื่นผ้าอ้อมไม่ว่าพวกเขาจะได้รับการดูแลดีแค่ไหน ในขณะที่เด็กบางคนก็ไม่เป็นผื่นผ้าอ้อมเลย ลูกของคุณอาจเป็นผื่นผ้าอ้อมเมื่อเขาเป็นหวัด ฟันงอก กำลังป่วย หรือเมื่อเกิดการแพ้อาหารแบบแฝง (food intolerance) อาการผื่นผ้าอ้อมอาจมีลักษณะดังนี้:
• ผิวอักเสบ: ผิวบริเวณรอบอวัยวะเพศและทวารหนักเป็นสีแดง และแฉะ
• ผื่นแดงคล้ายผิวถูกน้ำร้อนลวก: ผิวอาจเป็นผื่นแดงคล้ายผิวถูกน้ำร้อนลวก และอาจลอกออก จนเห็นเนื้อสีแดงที่อาจกลายเป็นแผล
• ผื่นแดงขยายออกไป: ผื่นอาจขยายออกไปบริเวณท้องและอาจลุกลามไปที่บริเวณก้น
• แผล: บางครั้งก็อาจเกิดแผลเล็กๆ บริเวณผิวใกล้ๆ กับผื่น
การติดเชื้อจากแบคทีเรีย หรือเชื้อราเป็นภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นเมื่อผื่นผ้าอ้อมขยายออกไป หรือเมื่อผื่นผ้าอ้อมไม่สามารถหายเองเมื่อรักษาด้วยการปล่อยให้ผิวสัมผัสอากาศ อาบน้ำและทาครีมหรือขี้ผึ้งเคลือบปกป้องผิว ผิวมักจะระคายเคือง คัน หรือเจ็บ เมื่อลูกของคุณเป็นผื่นผ้าอ้อม เขาอาจนอนหลับไม่สนิทเพราะรู้สึกเจ็บและระคายเคือง

 

สาเหตุบางอย่างที่ทำให้เกิดผื่นผ้าอ้อมได้แก่

 

• สารเคมีในปัสสาวะเปลี่ยนเป็นแอมโมเนีย แล้วทำให้ผิวไหม้เพราะมีการสัมผัสโดยตรงกับผิวนานเกินไป
• เชื้อรา (แคนดิดา) – เจริญเติบโตในสภาพแวดล้อมที่อุ่นชื้น ผื่นผ้าอ้อมประเภทนี้จะแพร่กระจายเป็นปื้นสีแดง และไม่หายไปแม้จะมีการทาครีมเคลือบผิว
• สารเคมีที่ละลายอยู่ในผ้าอ้อมที่เปียกชุ่ม สารที่ใช้ซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม แผ่นเช็ดทำความสะอาด (คลีนซิ่งแบบแผ่น) สบู่และโลชั่นที่มีกลิ่นหอม และผ้าอ้อมแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งบางยี่ห้ออาจทำให้ผิวของทารกระคายเคือง
• กางเกงพลาสติกช่วยให้เสื้อผ้าของเด็กสะอาดและแห้ง แต่กางเกงพลาสติกส่วนใหญ่จะป้องกันไม่ให้อากาศไหลผ่าน เมื่อเสื้อผ้าไม่เปียกทำให้ลูกของคุณอาจถูกปล่อยให้สวมใส่ผ้าอ้อมที่เปียกและสกปรกเป็นเวลานาน ผิวที่เปียกและเป็นแผลไหม้เพราะปัสสาวะจะร้อนและอ่อนแอ ทำให้ติดเชื้อราง่าย
• ผ้าอ้อมเนื้อหยาบ ทราย และสิ่งสกปรกอาจเสียดสีและทำให้ผิวที่บอบบางของลูกถลอก
• เมื่อลูกของคุณท้องเสียบ่อย
• ถ้าลูกของคุณถ่ายบ่อย
• ความเจ็บป่วยอื่นๆ เช่น การเป็นผื่นผิวหนังอักสบ (eczema) อาจทำให้อาการผื่นผ้าอ้อมแย่ลง