MyFeed Personalized Content
รวมเคล็ดลับ เตรียมพร้อมตั้งครรภ์ สำหรับแม่มือใหม่
บทความ

PLAYING: 7 อาการคนตั้งครรภ์ และอาการคนท้องระยะแรก ที่คุณแม่มือใหม่ควรรู้

Add this post to favorites

7 อาการคนตั้งครรภ์ และอาการคนท้องระยะแรก ที่คุณแม่มือใหม่ควรรู้

รวม7 สัญญาณอาการเบื้องต้นที่บ่งบอกว่าคุณท้อง ซึ่งอาการคนท้องมีหลายอาการด้วยกัน โดยผู้หญิงแต่ละคนจะมีอาการที่บ่งบอกว่าท้องแตกต่างกัน บางคนรู้สึกได้จากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนและอาการแพ้ท้อง บางคนอาจไม่มีอาการใดๆ ให้รู้ตัวเลย

1นาที อ่าน

7 สัญญาณอาการที่บ่งบอกว่าท้อง


1. การเปลี่ยนแปลงของเต้านม หรือเจ็บเต้านม
เป็นอาการคนท้องระยะแรกที่มักเกิดขึ้นคล้ายกับอาการเตือนก่อนมีประจำเดือน เนื่องจากฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้มีอาการคัดตึงเต้านม เวลากด หรือสัมผัสจะรู้สึกเจ็บ และบางคนอาจจะรู้สึกหน้าอกใหญ่ขึ้น แต่อาการเหล่านี้จะค่อยๆหายไปหลังตั้งครรภ์ในช่วง2-3เดือนแรก

2. อาการแพ้ท้อง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน
อาการที่บ่งบอกว่าท้อง และสังเกตได้ง่าย คือ อาการคลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งเป็นอาการคนท้องระยะแรกที่พบบ่อย มักเกิดขึ้นในตอนเช้าเพราะเป็นช่วงที่ฮอร์โมนตั้งครรภ์สูงที่สุด คุณแม่จะรู้สึกไวต่อกลิ่น และรสชาติอาหาร รู้สึกเหม็นจนเกิดอาการคลื่นไส้ คุณแม่มือใหม่ควรเรียนรู้เคล็ดลับวิธีแก้อาการแพ้ท้อง เพื่อเตรียมตัวรับมือและปรับตัวสำหรับการท้องระยะแรก ก็จะช่วยลดอาการแพ้ท้องได้

7 สัญญาณอาการคนตั้งครรภ์และอาการคนท้องระยะแรก

3. อ่อนเพลีย ง่วงนอน เหนื่อยง่าย
อาการคนท้องระยะแรกมักมาคู่กับอาการง่วงนอนตลอดเวลา เกิดขึ้นจากการที่คุณแม่มีฮอร์โปรเจสเตอโรนเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้มีระดับน้ำตาลในเลือดลดลง จึงเกิดการเผลาผลาญพลังงานยิ่งขึ้นเมื่อร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้คุณแม่รู้สึกง่วงนอน อ่อนเพลียได้

4. มีเลือดออกทางช่องคลอดเล็กน้อย หรือ เป็นตะคริว
คุณแม่บางท่านอาจมีเลือดไหลออกมาทางช่องคลอด ในช่วงหลังจากตัวอ่อนปฏิสนธิได้ 11-12 วัน ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับประจำเดือนขาด เลือดที่ไหลออกมามักเป็นเลือดจางสีแดงหรือชมพู และจะหยุดไปเองภายใน 1-2 วัน แต่หากพบว่ามีเลือดไหลออกมาทางช่องคลอดร่วมกับอาการปวดท้อง ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะอาจเป็นสัญญาณของภาวะท้องนอกมดลูกหรือการแท้งบุตรได้ค่ะ

5. ปัสสาวะบ่อยขึ้น
คุณแม่ท้องปัสสาวะบ่อยเป็นสัญญาณบ่งบอกอาการคนท้อง เนื่องจากในช่วง3เดือนแรก ร่างกายจะสร้างของเหลวมากขึ้น และมดลูกมีการขยายตัวไปกดทับกระเพราะปัสสาวะทำให้พื้นที่การเก็บปัสสาวะน้อยลง นอกจากนี้มดลูกที่ขยายตัวทำให้ร่างกายต้องการเลือดมากขึ้น ทำให้เลือดไหลผ่านไตมากขึ้นกว่าเดิม ส่งผลให้ไตตกรองปัสสาวะเพิ่มขึ้นกว่าปกติ

6. อารมณ์แปรปรวน
อารมณ์ขึ้นๆลงๆ เป็นหนึ่งในอาการที่บ่งบอกว่าท้อง ซึ่งมีความคล้ายกับอาการในช่วงมีประจำเดือน ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนนั่นเอง คุณแม่ตั้งครรภ์ในระยะแรกจะรู้สึกหงุดหงิดง่าย ร้องไห้ง่าย โกรธง่าย อารมณ์อ่อนไหวกว่าปกติ การอ่านหนังสือ หรือฟังเพลง เป็นหนึ่งในวิธีที่ที่จะช่วยให้แม่ท้องผ่อนคลายอารมณ์และลดอาการเครียดได้

7. อยากอาหาร และหิวบ่อย
อาการคนท้องระยะแรกมักมีความคล้ายกับอาการในช่วงก่อนมีประจำเดือน เช่น อาการอยากอาหาร แต่สำหรับคุณแม่ท้องจะมีอาการอยากอาหารที่ต่างออกไป เพราะอยากกินอะไรแปลกๆ อยากกินอะไรที่ไม่เคยกินมาก่อน หรือ อยากกินอาหารที่ปกติไม่ชอบกิน

 

อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่มีอาการเหล่านี้ ยังควรต้องทำการตรวจเพื่อยืนยันการตั้งครรภ์อีกครั้ง ซึ่งมีด้วยกันหลายวิธี

● การใช้ชุดตรวจครรภ์ด้วยปัสสาวะ วิธีนี้เป็นวิธีที่สะดวกรวดเร็ว และง่ายเพราะหาซื้อชุดตรวจครรภ์ได้ตามร้านขายยา โดยแนะนำให้คุณแม่ใช้ที่ตรวจครรภ์หลังพบว่าประจำเดือนมาช้าเกินกว่า 7วัน เพื่อความแม่นยำ หากชุดตรวจสอบการตั้งครรภ์ขึ้นแถบสีสองขีด แสดงว่ามีโอกาสตั้งครรภ์สูง แต่หากพบว่าขีดที่สองขึ้นจางๆ ควรเว้นระยะแล้วตรวจซ้ำอีกครั้ง
● การตรวจเลือด เป็นการตรวจที่มีความแม่นยำ100% ซึ่งวิธีนี้คุณแม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจเลือดค่ะ
● การตรวจอัลตร้าซาวด์ เป็นอีกวิธีการตรวจที่ต้องทำโดยสูตินารีแพทย์ วิธีนี้สามารถทำได้หากพบว่าประจำเดือนขาดไป1-2สัปดาห์
 

วิธีดูแลตัวเอง เมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์

1. พบแพทย์เพื่อฝากครรภ์
เมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์ สิ่งแรกที่คุณแม่ท้องควรทำคือ การไปพบแพทย์เพื่อฝากครรภ์ คุณหมอจะทำการตรวจสุขภาพของคุณแม่ และทารกในครรภ์ อัพเดทพัฒนาการทารกในครรภ์ พร้อมแนะนำวิธีดูแลครรภ์ การเลือกโภชนาการสำหรับคนท้อง อาหารที่ควรและไม่ควรกิน รวมถึงความเสี่ยงโรคต่างๆเช่น เบาหวาน เป็นต้น

2. ดูแลสุขภาพ และทานอาหารที่มีประโยชน์
การดูแลสุขภาพ และทานอาหารที่มีประโยชน์เป็นหนึ่งในวิธีการดูแลตัวเองสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่คุณแม่ควรรู้และศึกษาข้อมูลเพิ่ม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหารที่คนท้องควรกิน หรือเมนูอาหารแนะนำที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรกินเพื่อให้ได้รับสารอาหารที่หลากหลาย ดีต่อสุขภาพคุณแม่และทารกในครรภ์

3. หลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่ควรกินระหว่างตั้งครรภ์
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน รวมทั้งอาหารดิบต่างๆ เป็นตัวอย่างของเครื่องดื่มและอาหารที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยง คุณแม่ควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่มที่อาจะเป็นอันตรายต่อแม่และลูกน้อยในครรภ์

4. ปรึกษาแพทย์เมื่อต้องทานยา
ในขณะที่ตั้งครรภ์คุณแม่อาจจะมีอาการเจ็บป่วย โดยคุณแม่ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนทานยา เพราะยาที่แม่ทานอาจจะส่งผลต่อทารกในครรภ์ได้ การทานยาแต่ละตัวของคนท้องจึงควรอยู่ในดุลยพินิจของคุณหมอค่ะ
 

ลักษณะท้องของคนท้อง

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย เช่นลักษณะท้องของคนท้อง เป็นอีกหนึ่งปัจจัยภายนอกที่บ่งบอกว่าคุณกำลังท้อง ในช่วงตั้งครภ์3เดือนแรกคุณแม่จะรู้สึกถึงหน้าท้องขยายใหญ่ขึ้น เริ่มมีหน้าท้องช่วงล่างน้อยๆ และเมื่อตั้งครรภ์ได้ 4-5เดือน คุณแม่จะรู้สึกถึงการดิ้นของลูกน้อยในครรภ์ค่ะ


เอกสารอ้างอิง
ปัญหาของคุณแม่หลังคลอด | โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ (bumrungrad.com)
แบบนี้สิท้องแล้ว (samitivejhospitals.com)
5 อาการเตือนที่บอกว่าคุณกำลัง "ตั้งครรภ์"
ตั้งครรภ์แน่ๆ หรือแค่จะมีประจำเดือน
เทคนิคดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์อย่างมีสุขภาพดีทั้งแม่และทารกในครรภ์
ท้องหรือไม่ดูอย่างไร