MyFeed Personalized Content
รวมเคล็ดลับ ดูแลครรภ์ สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์มือใหม่
บทความ

PLAYING: โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

Add this post to favorites

โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

การตั้งครรภ์ที่พบภาวะเบาหวานหรือความดันโลหิตสูง มักทำให้คุณแม่เป็นกังวล แต่หากดูเเลเเละติดตามอาการอย่างสม่ำเสมอ ทารกก็สามารถเกิดมาพร้อมสุขภาพที่แข็งแรงได้

1นาที อ่าน

โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ คืออะไร

 

เบาหวานประเภทนี้เกิดขึ้นเฉพาะในช่วงตั้งครรภ์เท่านั้น และมักจะหายไปหลังคลอด ลักษณะของอาการจะพบระดับน้ำตาลในเลือดสูง 1.3 - 2.0 กรัมต่อลิตร และอินซูลินที่ผลิตจากตับอ่อนไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ การตั้งครรภ์เป็นภาวะที่เสี่ยงต่อโรคเบาหวานเพราะร่างกายมีความต้องการใช้อินซูลินมากขึ้น
 

อาการและการวินิจฉัยโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

 

อาการและการวินิจฉัยโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

 

หากคุณมีอาการเหล่านี้ ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที
หิวน้ำมาก ปัสสาวะบ่อย และอ่อนเพลีย ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์สามารถวินิจฉัยได้ในช่วงอายุครรภ์ 24 - 28 สัปดาห์ ด้วยการตรวจเลือด และมักตรวจก่อนอายุครรภ์ครบ 6 เดือน

 

ผลที่อาจตามมาของโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

 

คุณแม่ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่ที่เป็นโรคเบาหวานพยายามที่จะใส่ใจดูแลตัวเอง เพื่อหวังให้ลูกน้อยมีสุขภาพดี แต่หากมีการติดตามที่ไม่เหมาะสม โรคเบาหวานนี้อาจส่งผลให้ทารกเกิดมามีน้ำหนักตัวมาก (มากกว่า 4 กิโลกรัม) ทำให้มีความลำบากในการคลอด (มีความเสี่ยงในการผ่าตัดคลอด)

 

อันตรายของโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

 

ผู้หญิงบางคนอาจมีอาการของโรครุนแรงกว่าคนอื่นๆ โดยเฉพาะเมื่อมีประวัติคนในครอบครัวเป็นเบาหวานมาก่อน หรือตัวคุณแม่เองมีภาวะน้ำหนักเกินร่วมด้วย หรือมีประวัติโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ในการตั้งครรภ์ครั้งก่อนหน้านี้ หรือคุณแม่มีอายุมากกว่า 35 ปี หรือเคยคลอดบุตรที่มีน้ำหนักตัวมากกว่า 4 กิโลกรัม
 

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหาร

 

พฤติกรรมการกินอาหาร

 

สิ่งแรกที่คุณควรทำคือ การกินอาหารสำหรับคนท้องให้เหมาะสม และสมดุล โดยกินอาหารหลักให้ครบ 3 มื้อ และอาหารว่างอีก 2 มื้อ เพื่อหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงขึ้นๆ ลงๆ ของระดับน้ำตาลในเลือด ห้ามงดอาหารมื้อใดมื้อหนึ่ง รวมทั้งมื้อว่างเด็ดขาด และควรสร้างนิสัยการกินอาหารที่ดี
● เลือกอาหารที่อุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรต เช่น โฮลเกรน แป้ง ถั่ว ข้าว พาสต้า มันฝรั่ง ให้บ่อยกว่าอาหารที่มีน้ำตาลสูง อย่าง ขนมอบ น้ำตาล แยม และขนมหวานต่างๆ
● หลีกเลี่ยงอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูง ซึ่งทำให้เกิดการผลิตอินซูลินอย่างรวดเร็ว เช่น ขนมปังขัดขาว มันฝรั่ง ข้าวขัดขาว ขนมอบ เป็นต้น อาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำได้แก่ จมูกข้าว ข้าวกล้อง หรือบัควีท (เมล็ดธัญพืช)
● กินผักผลไม้ที่มีใยอาหารสูงให้มากขึ้น เพื่อช่วยควบคุมการดูดซึมคาร์โบไฮเดรต โดยกินผลไม้วันละ 2 ส่วน โดยเฉพาะหลังมื้ออาหารแต่ละมื้อ
● กินอาหารที่มีโปรตีนทุกมื้อ
● หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ไส้กรอก ขนมอบ และชีส
แพทย์จะเป็นผู้ให้ข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับค่าดัชนีน้ำตาล และจะแนะนำให้ปรึกษานักกำหนดอาหาร เพื่อช่วยให้คำแนะนำเรื่องการกินอาหาร

 

วิธีดูแลตัวเอง

 

การกินอยู่เพื่อสุขภาพที่ดีเป็นสิ่งจำเป็น พยายามออกกำลังกาย เช่น ว่ายน้ำ หรือเดินอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน สิ่งเหล่านี้คุณแม่ควรทำด้วยความรู้สึกอยากทำจริงๆ การออกกำลังกายเป็นเวลาครึ่งชั่วโมงสามารถช่วยปรับระดับน้ำตาลในเลือดได้
 

วิธีดูแลตัวเอง

 

สุขภาพคุณแม่และทารกหลังคลอด

 

คุณแม่สบายใจได้ว่า ลูกน้อยจะไม่มีภาวะเบาหวานเมื่อคลอดอออกมา รวมทั้งตัวคุณแม่เอง จากสถิติพบว่า 98% ของคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีภาวะเบาหวาน อาการจะหายไปหลังการคลอด แต่อีก 2% อาจยังคงมีความเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวานได้ต่อเนื่อง

คุณแม่สามารถลดความเสี่ยงของการเป็นโรคเบาหวานได้ด้วยการกินอาหารที่สมดุลและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

หากคุณตั้งครรภ์อีกครั้ง ความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ก็จะมีมากขึ้น ดังนั้นคุณแม่จึงควรตรวจน้ำตาลในเลือดระหว่างตั้งครรภ์

โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์พบในผู้หญิงตั้งครรภ์ประมาณ 3-6%