MyFeed Personalized Content
พัฒนาการลูก 0-36 เดือน
บทความ

PLAYING: การเสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย

Add this post to favorites

การเสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย

เด็กวัยเตาะแตะมักจะมีการเล่นซนนอกบ้าน ซึ่งอาจทำให้เขาป่วยได้ คุณเเม่ควรเรียนรู้วิธีการกระตุ้นเเละเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยเเข็งเเรงอยู่เสมอ

1นาที อ่าน

กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของลูกน้อย

 

ระบบภูมิคุ้มกันของลูกน้อยจะเริ่มแข็งแรงขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น เด็กวัยเตาะแตะยังคงมีการพัฒนาระบบภูมิคุ้มกันอยู่ตลอดเวลา การได้รับเชื้อแบคทีเรียแปลกปลอมตั้งแต่เกิดมีบทบาทสำคัญในการสร้างความแข็งแรงให้ระบบภูมิคุ้มกันสามารถต่อสู้กับเชื้อเหล่านั้นได้ในครั้งต่อไปได้ ดังนั้นเด็กวัยเตาะแตะมักป่วยเป็นหวัดประมาณปีละ 5-8 ครั้ง

 

การเสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย

 

การเสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย

 

ระบบทางเดินอาหารมีบทบาทสำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกันส่วนใหญ่ของลูกน้อยวัยเตาะแตะ โดยมากกว่า 80% ของเซลล์ที่เกี่ยวกับภูมิคุ้มกันอยู่ในระบบทางเดินอาหาร การดูแลสุขภาพและการทำงานของระบบทางเดินอาหารที่ดีจึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งเคล็ดลับสุดยอดที่ช่วยให้ลูกน้อยวัยเตาะแตะมีระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง ได้แก่

• ให้ลูกน้อยกินอาหารที่มีประโยชน์ ประกอบด้วยอาหารสดใหม่ที่หลากหลาย ผักผลไม้หลากสีหลากชนิด และไขมันที่ดีต่อสุขภาพจากอาหารเช่น ปลา ทูน่า ไข่ และเมล็ดพืชต่างๆ

• กินอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินซี ซึ่งเป็นสารอาหารที่จำเป็นในการช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ผักใบเขียว ผลไม้ตระกูลส้ม และสตรอเบอร์รี เป็นแหล่งอาหารที่มีวิตามินซีสูง

• กินอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง ซึ่งเป็นสารอาหารอีกชนิดหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันของเด็กวัยเตาะแตะ โดยเฉพาะเนื้อสัตวชนิดเนื้อแดง จะมีธาตุเหล็กสูง รวมทั้งอาหารชนิดอื่นๆ เช่น เนื้อปลา เนื้อไก่ และไข่

• กินอาหารที่วิตามินบี 6 สูง สารอาหารที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการของระบบภูมิคุ้มกัน อาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินบี 6 ได้แก่ ธัญพืชเต็มเมล็ด (โฮลเกรน) ถั่วต่างๆ ผักสีเขียว ปลา หอย เนื้อสัตว์ เนื้อสัตว์ปีก ถั่วเปลือกแข็ง และตับ

ร่างกายของเด็กวัยเตาะแตะมีการสร้างและการซ่อมแซมตัวเองในขณะนอนหลับ ดังนั้น คุณแม่ควรสร้างนิสัยการนอนที่ดี และมีคุณภาพให้ลูกน้อย ระบบภูมิคุ้มกันต้องการ สิ่งที่มากระตุ้นบ้างเพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น อย่ากังวลมากเกินไปหากคุณแม่ไม่ได้ทำความสะอาดบ้านในบางช่วง การมีเชื้อจุลินทรีย์บ้างเล็กน้อยเป็นเรื่องธรรมดา ซึ่งความจริงแล้ว หากลูกน้อยป่วยบ้าง หรือมือสกปรกบ้างก็ไม่ได้เป็นปัญหามากนัก เพราะมันจะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกเมื่อต้องเจอกับเชื้อจุลินทรีย์เหล่านี้อีกในครั้งถัดไป