MyFeed Personalized Content
พัฒนาการลูก 0-36 เดือน
บทความ

PLAYING: วิธีบริหารเวลาเลี้ยงลูก สำหรับคุณแม่ทำงานนอกบ้าน

Add this post to favorites

วิธีบริหารเวลาเลี้ยงลูก สำหรับคุณแม่ทำงานนอกบ้าน

เมื่อถึงเวลาที่คุณแม่จะกลับไปทำงาน คุณแม่ควรมีการวางแผนและเตรียมการแต่เนิ่นๆ เพื่อคุณแม่จะได้กลับไปทำงานได้อย่างมีความสุข

1นาที อ่าน

การกลับไปทำงานหลังจากลาคลอดบุตร

 

การดูแลทารกแรกเกิดคือการทำงานเต็มเวลาซึ่งทั้งคุณและครอบครัวของคุณต้องเสียสละ เมื่อคุณวางแผนเพื่อกลับไปทำงาน คุณจะต้องจัดระบบของคุณเสียใหม่

 

คุณแม่ทำงานนอกบ้าน

 

การดูแลลูก และการบริหารเวลา

 

ไม่ว่าคุณจะบริหารเวลาทำงานได้มีประสิทธิภาพแค่ไหน คุณก็ต้องฝึกบริหารเวลาใหม่หลังจากคุณมีลูก คุณอาจต้องขยายกรอบเวลาให้เหมาะกับความรับผิดชอบใหม่ของคุณ ความรับผิดชอบของแม่ ร่างกายของคุณต้องการเวลาฟื้นฟู แต่ก็มีคนมาเยี่ยมไม่ขาดสาย แล้วยังรายการสิ่งที่ต้องทำอีกยาวเหยียด เช่น การซักรีด อาจทำให้คุณรู้สึกมึน คุณอาจรู้สึกถึงอารมณ์ที่แปรปรวนในช่วงสัปดาห์แรกๆ ให้ระวังในสิ่งที่คุณทำและรับรู้ความรู้สึกของคุณ ยอมรับความช่วยเหลือเมื่อคุณต้องการ แม้คุณอาจเป็นพนักงานที่ยอดเยี่ยม แต่คุณก็จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากสามี หรือครอบครัว หรือพี่เลี้ยงเด็ก ในความพยายามที่จะเป็นสุดยอดคุณแม่ในขณะเดียวกัน

 

การกลับไปทำงาน

 

ถ้าคุณตั้งใจจะกลับไปทำงานหลังจากคลอดบุตร คุณก็ควรมองหาคนดูแลลูกตั้งแต่ตอนที่คุณกำลังตั้งครรภ์ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้ให้ดูแลเด็กมีความน่าเชื่อถือและมีคุณสมบัติเหมาะสม แต่ถ้าคุณวางแผนจะจ้างพี่เลี้ยงเด็ก คุณก็ควรเลือกพี่เลี้ยงให้ได้ก่อนที่ลูกของคุณจะกลับบ้าน และควรตรวจดูให้แน่ใจว่าพี่เลี้ยงจะมาคอยลูกคุณอยู่ที่บ้านตั้งแต่วันแรก คุณควรบอกผู้ดูแลให้ชัดเจนเรื่องความรับผิดชอบทั้งหมด โดยบอกตั้งแต่ต้น ในขณะที่คุณยังอยู่ระหว่างการลาคลอดบุตร แม้ว่าคุณจะมีพี่เลี้ยงเด็กอยู่ที่บ้าน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณปลอดจากความรับผิดชอบเรื่องลูกไปทั้งหมด คุณควรดูแลลูกให้นานที่สุดเท่าที่คุณทำได้ มันจะช่วยสร้างความผูกพันระหว่างคุณกับลูก

 

บริหารเรื่องลูกและเรื่องงาน

 

เพื่อให้จัดการงานและดูแลลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ การวางแผนล่วงหน้าเป็นสิ่งสำคัญ มันช่วยให้คุณใจเย็น ไม่รู้สึกผิดที่ไม่สามารถใช้เวลาทั้งวันอยู่กับลูกได้ ลูกจะสบายดีตราบเท่าที่เขาได้รับการดูแลและความรักอย่างเพียงพอจากคนอื่นๆ ในครอบครัวเมื่อคุณไม่อยู่ แม้คนอื่นในครอบครัวจะไม่สามารถแทนที่แม่ได้ แต่ในตอนที่คุณไปทำงานพวกเขาจะจัดหาสิ่งที่เด็กต้องการได้อย่างแน่นอน ควรถามเรื่องลูกอย่างสม่ำเสมอ โดยอาจโทรศัพท์ถามสมาชิกในครอบครัว/ ผู้ดูแล ถ้าเป็นไปได้ ให้คุณเริ่มจากการอยู่ห่างจากลูกไปเพียงแค่ไม่กี่ชั่วโมงก่อน แล้วจึงค่อยๆ เพิ่มเวลาให้นานขึ้น

 

ใช้เวลาร่วมกับลูกอย่างมีคุณภาพ

 

เมื่อคุณอยู่บ้าน คุณควรให้ความใส่ใจและให้ความรักกับลูกอย่างที่เขาต้องการ โดยเน้นไปที่การใช้เวลาร่วมกันกับเขาอย่างมีคุณภาพ แม้จะมีเวลาสั้นๆ ก็ตาม พยายามให้ลูกรู้สึกสงบและมีความสุข พยายามเล่นกับเขา ร้องเพลงให้เขาฟัง ป้อนอาหาร และนวดให้เขา พยายามรักษาความสัมพันธ์ของคุณกับลูกให้เต็มที่ แม้ว่าคุณจะออกไปทำงานเกือบตลอดทั้งวัน

 

พูดคุยกับนายจ้างของคุณ

 

คุยกับนายจ้างของคุณเรื่องความยืดหยุ่นของชั่วโมงทำงาน เพื่อคุณจะได้มีเวลาอยู่กับลูกได้มากพอ คุณยังอาจพูดคุยเรื่องทางเลือกที่เป็นไปได้ในการดูแลลูกเมื่ออยู่ในที่ทำงาน สิ่งอำนวยความสะดวก และการขอพักเพื่อให้นมลูก หรือสถานที่สะอาดและเป็นส่วนตัวสำหรับการปั๊มนม และการเก็บน้ำนมไว้ในตู้เย็นของที่ทำงานเพื่อจะได้นำไปให้ลูกดื่มต่อไป

 

การไปพบกุมารแพทย์หลังจากคลอดบุตร

 

นัดในเวลาที่คุณสะดวก และไปถึงก่อนเวลานัดหมายพร้อมกับลูก ไม่ว่าลักษณะงานของคุณจะเป็นอย่างไร ลูกก็ยังเป็นสิ่งสำคัญที่สุด

 

คุณแม่ทำงานนอกบ้าน

 

การเก็บสำรองน้ำนมแม่

 

ถ้าคุณวางแผนเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ คุณควรปั๊มนมแล้วเก็บเอาไว้อย่างน้อย 3-4 วันก่อนคุณจะกลับไปทำงาน เก็บน้ำนมแม่อย่างระมัดระวังในภาชนะปราศจากเชื้อที่ปิดสนิท และอากาศผ่านไม่ได้ เก็บนมไว้ในตู้เย็นเพื่อนำมาใช้ในภายหลัง คุณอาจเก็บน้ำนมแม่ไว้ในภาชนะที่มีขนาดเหมาะสมก่อนนำไปแช่แข็ง เพื่อจะได้นำน้ำนมในปริมาณที่พอดีมาอุ่นให้ลูกกิน ทำให้ลูกเคยชินกับการดื่มนมที่พี่เลี้ยงป้อนให้ในตอนที่คุณไม่อยู่ โดยทำตั้งแต่เนิ่นๆ ก่อนที่คุณจะกลับไปทำงาน การให้กำเนิดและการดูแลลูกคือความรับผิดชอบอันยิ่งใหญ่ มันไม่มีวิธีแก้ปัญหาที่สมบูรณ์แบบและตอบปัญหาได้ทุกเรื่อง ที่จะนำมาใช้ในการสร้างสมดุลระหว่างความต้องการภายในครอบครัว พร้อมไปกับการจัดการกับความท้าทายในอาชีพ คุณจึงต้องทดลองและหาวิธีการที่ดีที่สุดที่เป็นไปได้ พร้อมทั้งทางเลือกสำหรับตัวคุณและลูก ไม่จำเป็นต้องกังวล ความรักที่คุณมีให้กับลูกช่วยให้ชีวิตของคุณเปิดกว้าง และพร้อมที่จะรับมือกับความท้าทายเหล่านี้