MyFeed Personalized Content
พัฒนาการลูก 0-36 เดือน
บทความ

PLAYING: ดูแลลูกรักไม่ให้ขาด “ธาตุเหล็ก”

Add this post to favorites

ดูแลลูกรักไม่ให้ขาด “ธาตุเหล็ก”

“ธาตุเหล็ก” เป็นแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการในปริมาณน้อย แต่มีความสำคัญมาก เพราะหากขาดธาตุเหล็กอาจส่งผลต่อพัฒนาการทางร่างกาย สมองและการเรียนรู้ของลูกได้เลยนะคะ

1นาที อ่าน

ธาตุเหล็ก เป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญต่อการสร้างเม็ดเลือดแดงให้กับร่างกาย เมื่อกินอาหารที่มีธาตุเหล็กก็จะกระจายไปอยู่ในไขกระดูกและเม็ดเลือดแดงที่ไหลเวียนไปทั่วร่างกาย ทำหน้าที่นำออกซิเจนและสารอาหารไปเลี้ยงเซลล์ต่างๆ รวมถึงสมอง หากคุณพ่อ-คุณแม่ปล่อยให้ลูกน้อยขาดธาตุเหล็กจะมีผลต่อการเจริญเติบโตและการเรียนรู้รวมถึงสติปัญญาของเขา แม้ว่าจะได้รับธาตุเหล็กเพิ่มขึ้นในภายหลังก็ไม่สามารถช่วยให้ความสามารถในการเรียนรู้พัฒนาได้เต็มที่หรือกลับมาเป็นปกติได้

 

ดูแลลูกรักไม่ให้ขาด “ธาตุเหล็ก”

 

รู้ได้อย่างไรว่าลูกขาดธาตุเหล็ก?

 

• หากลูกมีสีของริมฝีปาก ลิ้น เล็บ และเปลือกตาซีดขาวกว่าปกติ แสดงว่าลูกขาดธาตุเหล็กมากจนแสดงอาการซีดออกมา
• ลูกจะกินอาหารน้อยลง เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ไม่ค่อยมีแรง ไม่ค่อยร่าเริง เฉื่อยชา ไม่มีสมาธิ นั่งซึม สนใจจดจ่อในแต่ละเรื่องได้ไม่นาน ซึ่งเกิดจากออกซิเจนไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ
• เจ็บลิ้น เบื่ออาหาร พัฒนาการช้า
• เจ็บป่วยบ่อย ติดเชื้อง่าย เนื่องจากภูมิต้านทานโรคลดลง

 

ทำอย่างไร ไม่ให้ลูกขาดธาตุเหล็ก?

 

ให้ลูกกินนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน หลังจากนั้นเป็นวัยที่ลูกน้อยเริ่มอาหารเสริมได้แล้ว คุณพ่อ-คุณแม่ควรเลือกอาหารเสริมที่มีธาตุเหล็กสูง เนื่องจากลูกน้อยวัย 6 เดือนยังมีกระเพาะที่เล็กมาก แต่มีความต้องการธาตุเหล็กมากกว่าผู้ใหญ่ถึง 5 เท่า (เด็กอายุ 6-11 เดือนต้องการธาตุเหล็ก 1.1 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ผู้ใหญ่ต้องการธาตุเหล็ก 0.2 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม)

 

ดูแลลูกรักไม่ให้ขาด “ธาตุเหล็ก”

 

อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง ได้แก่ เนื้อสัตว์ ตับ เลือด ไข่แดง และผักใบเขียวอย่างตำลึง ผักโขม หรือจะเลือกอาหารเสริมธัญพืชที่มีการเสริมธาตุเหล็ก ซึ่ง 1 ชาม ให้ธาตุเหล็กสูงถึง 40% ของปริมาณที่ควรได้รับต่อวันและควรดูแลเรื่องอาหารการกินของลูก เพื่อไม่ให้ขาดธาตุเหล็กตั้งแต่วันนี้ เพื่อให้ลูกเติบโตแข็งแรง สมองดี และมีพัฒนาการสมวัยค่ะ

 

ที่มา
กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสำรวจภาวะอาหารและโภชนาการของประเทศไทย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2546. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ ;2549.
Black MM, Quigg AM, Hurley KM, Pepper MR. Iron deficiency and iron-deficiency anemia in the first two years of life: Strategies to prevent loss of developmental potential. 2011 Nutrition Reviews 69 (SUPPL. 1), S64-S70.
WHO/UNICEF/UNU: Iron deficiency Anaemia. Assessment, prevention and control. A guide for programme managers. WHO/ NHD/01.3; World Health Organization 2001.
Yadav D, Chandra J. Iron deficiency: beyond anemia. Indian J Pediatr 2010:1-8. doi: 10.1007/s12098-010-0129-7.
คณะกรรมการจัดทำข้อกำหนดสารอาหารที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย. ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย พ.ศ. 2546. กรุงเทพฯ: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2546
Rojroongwasinkul N, Kijboonchoo K, Wimonpeerapattana W. Purttiponthanee S, Yamborisut U, Boonprederm A, et al. SEANUTS: the nutritional status and dietary intakes of 0.5-12-year-old Thai children. Br J Nutr 2013;110:S36-44. doi:10.1017/S0007114513002110.
คลีนิกเด็กหมอสังคม, https://web.facebook.com/sungkomclinic/?hc_ref=ARQGSpcdNvciIBj4-zTUNIzf…