MyFeed Personalized Content
บทความ

PLAYING: ทารกท้องเสีย ลูกท้องเสีย เกิดจากอะไร พร้อมวิธีป้องกันจากผู้เชี่ยวชาญ

Add this post to favorites

ทารกท้องเสีย ลูกท้องเสีย เกิดจากอะไร พร้อมวิธีป้องกันจากผู้เชี่ยวชาญ

จะป้องกันไม่ให้ลูกท้องเสีย ก่อนอื่นคุณแม่ควรแยกความแตกต่างระหว่างอาการท้องเสียกับอุจจาระนิ่มจากการกินนมแม่ให้ออกก่อน แล้วค่อยดูแลลูกน้อย ดังนี้

1นาที อ่าน

ตรวจสอบข้อมูลทางวิชาการโดย รองศาสตราจารย์ นายแพทย์พรเทพ ตั่นเผ่าพงษ์

อาการลูกท้องเสียหรือเด็กทารกท้องเสีย รวมถึงอาการถ่ายเหลวเป็นเรื่องใกล้ตัวที่พบได้บ่อย คุณแม่ควรสังเกตลักษณะอุจจาระของลูก วิธีดูแลเบื้องต้นตามช่วงวัยและรู้จักสัญญาณเตือนที่ควรพบแพทย์

คุณแม่มักกังวลใจทุกครั้งเมื่อลูกป่วย โดยเฉพาะอาการเด็กทารกท้องเสียที่พบได้ในเด็ก โดยปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่พบว่าคุณแม่ไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างภาวะท้องเสียกับลักษณะอุจจาระนิ่มจากการที่ทารกกินนมแม่ได้ ดังนั้นคุณแม่ต้องอาศัยการสังเกตและจดจำลักษณะอุจจาระปกติของลูก ถ้าลูกถ่ายอุจจาระที่มีลักษณะแตกต่างจากเดิม เช่น อุจจาระเหลว เป็นน้ำ ร่วมกับถ่ายอุจจาระบ่อยขึ้นมากกว่า 3 ครั้งต่อวัน นับเป็นอาการท้องเสีย เรามาเรียนรู้ดีกว่าว่า ลูกท้องเสียมีสาเหตุหลักเกิดจากอะไรบ้าง

 

อาการท้องเสีย

 

สาเหตุที่ทำให้ทารกท้องเสีย?

 

อาการลูกท้องเสียหรือเด็กทารกท้องเสีย มักมีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือสาเหตุอื่น ๆ เช่น การแพ้โปรตีนนมวัว เมื่อลูกท้องเสีย จะนำไปสู่การสูญเสียน้ำและเกลือแร่ ซึ่งเสี่ยงต่อภาวะขาดน้ำ ในกรณีที่เด็กทารกท้องเสียรุนแรง จะทำให้อ่อนเพลีย ร้องกวนมากขึ้นหรือซึมลง ปัสสาวะออกน้อย โดยอาจทำให้จำเป็นต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ดังนั้น คุณแม่ต้องให้ความใส่ใจและเฝ้าระวังเมื่อลูกท้องเสียหรือมีอาการท้องเสียร่วมกับถ่ายเหลว

 

วิธีสังเกตอาการเมื่อทารกท้องเสีย 

 

อาการบ่งชี้สำคัญที่ควรสังเกตมีดังต่อไปนี้ 

คุณแม่ไม่จำเป็นต้องกังวลเกินไปถ้าลูกท้องเสียเพียงเล็กน้อย แต่ถ้ามีอาการท้องเสียพร้อมกับอาการบางอย่าง ควรรีบจัดการ โดยคุณแม่ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษถ้าลูกมีอาการดังต่อไปนี้:
✔ ลูกงอแงผิดปกติ ไม่ยอมนอน ร้องปลอบไม่นิ่ง
✔ ลูกอาเจียนทุกครั้งที่กิน หรือไม่ยอมกิน
✔ ลูกมีอาการริมฝีปากแห้ง กระหม่อมหน้าบุ๋ม
✔ ลูกถ่ายอุจจาระทุก 2 หรือ 3 ชั่วโมง
✔ ลูกถ่ายมีมูกหรือเลือดปนในอุจจาระ
✔ ลูกมีอาการซึม หรือไม่ตอบสนอง
✔ ลูกดูอ่อนเพลีย
✔ ปัสสาวะออกลดลงหรือไม่ปัสสาวะนานกว่า 6-8 ชั่วโมง

 

วิธีดูแลเมื่อทารกท้องเสีย

 

หากทารกที่กินนมแม่อย่างเดียวมีอาการท้องเสีย ควรให้ลูกกินนมแม่บ่อยขึ้น LPR (แอลพีอาร์) ซึ่งเป็นหนึ่งในจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ที่มีประโยชน์ที่พบในน้ำนมแม่ ที่ช่วยเสริมความแข็งแรง และลดโอกาสที่ทำให้ลูกท้องเสียได้ นอกจาก LPR แล้วในน้ำนมแม่ยังมีสารอาหารอื่นๆ อีกมากกว่า 200 ชนิด ที่มีส่วนช่วยให้ระบบทางเดินอาหารแข็งแรง ทำให้เยื่อบุลำไส้ฟื้นตัวและกลับมาทำหน้าที่ย่อยและดูดซึมสารอาหารได้ดีขึ้น รวมทั้งช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน โดย LPR เป็น จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ที่นอกจากจะพบในนมแม่แล้ว ยังพบในโยเกิร์ตและนมบางชนิด  

ในปัจจุบัน เด็กท้องเสียสามารถกินนมแม่หรือนมผสมรวมทั้งอาหารได้ตามปกติ โดยพยายามหลีกเลี่ยงการชงนมให้จางลง หากกินนมผสมสูตรดัดแปลง หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีใยอาหารสูง การให้น้ำหวานหรือน้ำผลไม้ ควรกินอาหารที่ย่อยง่าย เช่น ข้าวบด เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เป็นต้น 

คุณแม่ควรป้องกันการติดเชื้อที่ก่อให้เกิดท้องเสียโดยให้ความสำคัญกับสุขอนามัยในการเตรียมอาหารให้สะอาดและปรุงสุกด้วยการผ่านความร้อน ล้างมืออย่างสม่ำเสมอ และหมั่นล้างทำความสะอาดสิ่งของ รวมทั้งของเล่นอยู่เสมอ 


เอกสารอ้างอิง
แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาโรคท้องร่วงเฉียบพลันในเด็ก (Clinical Practice Guideline for Acute Diarrhea in Children) ปี พ.ศ. 2562 คลิก