ทารกไม่ถ่ายหลายวันทำอย่างไรดี? วิธีดูแลเมื่อลูกถ่ายยากจากผู้เชี่ยวชาญ
ตรวจสอบข้อมูลทางวิชาการโดย รองศาสตราจารย์ นายแพทย์พรเทพ ตั่นเผ่าพงษ์
ปัญหาทารกไม่ถ่ายหลายวัน หรือลูกถ่ายอุจจาระยาก เป็นปัญหาที่พบบ่อยที่คุณแม่ไม่ควรมองข้าม เรารวบรวมข้อมูลที่จำเป็นที่คุณแม่ควรรู้ เพื่อรับมือได้อย่างถูกต้องและเท่าทันอาการเมื่อลูกถ่ายยาก เพื่อเตรียมรับมือตั้งแต่เนิ่น ๆ คลายความกังวลสำหรับคุณแม่มือใหม่
ทารกไม่ถ่ายหลายวันเกิดจากสาเหตุใด แล้วลูกไม่ถ่ายอุจจาระกี่วันถึงเรียกว่าผิดปกติ?
1. สำหรับทารกที่กินนมแม่เพียงอย่างเดียว
ทารกในช่วงอายุ 3-4 เดือนแรกหลังเกิดสามารถถ่ายอุจจาระหลายรอบต่อวันแต่หลังจากนั้นทารกจะถ่ายห่างขึ้น ซึ่งอาจเหลือเพียงวันละครั้ง หรือหลายวันต่อครั้ง โดยยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด ทารกบางคนอาจจะไม่ถ่ายอุจจาระนาน 2-3 สัปดาห์ ซึ่งยังถือว่าเป็นปกติ ไม่ได้บ่งชี้ว่าเป็นอาการท้องผูกหากยังสังเกตเห็นว่า ทารกยังถ่ายได้สะดวก อุจจาระนิ่ม ไม่แข็ง หรืออาจจะมีส่วนแข็งบ้างเล็กน้อยในช่วงต้น ๆ ก็อย่าเพิ่งกังวลไปก่อน ยังถือว่าอยู่ในภาวะปกติเช่นกัน
2. สำหรับทารกที่กินนมผสมสูตรดัดแปลง
ทารกอาจจะมีแนวโน้มการถ่ายอุจจาระแข็งกว่าและห่างกว่าทารกที่กินนมแม่อย่างเดียว บางคนอาจจะถ่ายทุกๆ 3-4 วัน และหากอุจจาระไม่แข็งเป็นเม็ดคล้ายลูกกระสุน ก็ยังถือเป็นเรื่องปกติเช่นกัน
ลูกถ่ายยากหรือทารกไม่ถ่ายหลายวันทำอย่างไรดี? สังเกตว่าหากมีอาการดังนี้อาจบ่งชี้ว่าลูกอาจมีภาวะท้องผูกเรื้อรัง
หากลูกถ่ายอุจจาระยาก คุณแม่สามารถสังเกตพฤติกรรมของลูกว่ามีอาการท้องผูกเรื้อรังหรือไม่ ดังต่อไปนี้
✔ อุจจาระก้อนเล็กและแข็ง
✔ ถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์
✔ พยายามกลั้นอุจจาระ
✔ ยืนเบ่ง
✔ ไม่กล้านั่งถ่ายอุจจาระ
✔ ยืนเขย่งเท้า เกร็งขาขณะพยายามถ่ายอุจจาระ
✔ นอนหรือยืนหนีบก้นจนหน้าซีดหรือมีเหงื่อออก
✔ ต่อต้านการนั่งถ่ายอุจจาระในโถส้วม
หากเด็กกลั้นอุจจาระนาน ๆ ลำไส้ใหญ่จะดูดน้ำออกจากอุจจาระมากขึ้น ทำให้อุจจาระแข็งและเป็นก้อนใหญ่ ถ่ายลำบาก เมื่อลำไส้ใหญ่ถูกยืดมากจนระบบประสาทรับรู้ความรู้สึกที่ผนังลำไส้ใหญ่เสียไป ความรู้สึกอยากถ่ายอุจจาระมักจะลดลง ทำให้ต้องใช้เวลาในการรักษานานกว่าจะกลับมาเป็นปกติ
3 วิธีดูแลเมื่อลูกถ่ายยากหรือทารกไม่ถ่ายหลายวัน
1. ควรให้ทารกและเด็กกินนมและน้ำด้วยปริมาณที่เหมาะสมตามวัย โดยปกติแล้ว ทารกในช่วง 6 เดือนแรกมักได้รับสารน้ำอย่างเพียงพอจากการดื่มนมเท่านั้น
2. หากมีอาการท้องผูก ผู้ดูแลเด็กสามารถให้น้ำลูกพรุนสกัดเข้มข้น ประมาณ 5-15 มล. ได้
3. การนวดท้องลูกอาจช่วยให้ถ่ายอุจจาระออกมาได้ง่ายขึ้น
LPR จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ที่พบในนมแม่ เสริมสร้างความแข็งแรงให้ระบบทางเดินอาหาร
สมดุลที่ดีของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในทางเดินอาหารมีผลดีต่อระบบประสาทที่ควบคุมระบบทางเดินอาหาร ส่งผลต่อการย่อย การดูดซึม และการขับถ่ายที่เป็นปกติ
หากระบบทางเดินอาหารหรือจุลินทรีย์เสียสมดุล อาจส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน การย่อยและการดูดซึมสารอาหาร อาการท้องผูกไปจนถึงการอักเสบที่เป็นปัจจัยหนึ่งของโรคเรื้อรังหลาย ๆ โรค การได้รับจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์จึงมีหลักฐานทางการแพทย์บ่งชี้ว่ามีประโยชน์ต่อทารกและเด็กในหลายภาวะ หากลูกมีการขับถ่ายดี จะส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิต
น้ำนมแม่ยังมีสารอาหารอื่น ๆ อีกมากกว่า 200 ชนิด ที่มีส่วนช่วยให้ระบบทางเดินอาหารแข็งแรง ปรับสมดุลที่ดีของจุลินทรีย์ในลำไส้ โดย LPR เป็น หนึ่งในจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ที่นอกจากจะพบในนมแม่แล้ว ยังพบในโยเกิร์ตและนมบางชนิดอีกด้วย
หากคุณแม่มีคำถามเรื่องโภชนาการและสุขภาพของลูกน้อย ไม่ว่าจะเป็นอาการลูกถ่ายยาก หรือ ระบบขับถ่ายต่างๆ หรือต้องการปรึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ LPR เพิ่มเติม สามารถปรึกษาทีมพยาบาล และผู้เชียวชาญได้ที่ Mommy Bear Club ได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
เพียงสมัครสมาชิกฟรีที่ https://www.nestlemomandme.in.th/profile/register
คลับแม่หมีพร้อมให้การดูแลคุณแม่สมาชิกทุกท่าน สามารถติดต่อโทรหาเราได้ที่ 1162 กด 3 หรือ แชทกับเราผ่านทางเฟซบุ๊ค ได้ที่ Facebook Messenger: Mommy Bear Club http://m.me/mommybearclub