MyFeed Personalized Content
บทความ

PLAYING: ทำไมเด็กผ่าคลอดต้องการการดูแลเป็นพิเศษ

Add this post to favorites

ทำไมเด็กผ่าคลอดต้องการการดูแลเป็นพิเศษ

ทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่างการคลอดธรรมชาติ กับ การผ่าคลอด สำหรับคุณแม่ที่จำเป็นต้องผ่าคลอด เพื่อเสริมภูมิคุ้มกันที่ดีให้ตัวเองและลูกน้อยอย่างถูกวิธี

1นาที อ่าน

ตรวจทานความถูกต้องโดย ศ.พญ.จรุงจิตร์ งามไพบูลย์

ปัจจุบันนี้ทางการแพทย์มีทางเลือกในการคลอดมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการคลอดแบบธรรมชาติ การผ่าคลอด รวมไปถึงการคลอดในน้ำ ทั้งนี้การคลอดแต่ละวิธีการย่อมมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกัน โดยแพทย์มักจะแนะนำตามความเหมาะสม เพื่อให้คุณแม่ตัดสินใจเลือกตามความสมัครใจ

 

ความแตกต่างของการคลอดธรรมชาติกับการผ่าคลอด

 

การคลอดแบบธรรมชาติ

 

การคลอดแบบธรรมชาติแม้จะเจ็บกว่าการที่คุณแม่ผ่าคลอด แต่มีข้อดีที่ลูกน้อยจะได้รับจุลินทรีย์สุขภาพที่มีอยู่ในช่องคลอดของคุณแม่ อีกทั้งการคลอดแบบธรรมชาติยังช่วยประหยัดค่าใช่จ่ายได้มากกว่าคุณแม่ผ่าคลอด รวมถึงคุณแม่จะฟื้นตัวได้เร็วกว่าการผ่าคลอด

 

การผ่าคลอด

 

สำหรับคุณแม่ผ่าคลอดนั้น ข้อดีคือ สามารถกำหนดเวลาคลอดได้ แต่ ข้อเสียก็คือค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง และที่สำคัญจากการศึกษาพบว่า หากลูกน้อยออกมาดูโลกด้วยวิธีผ่าคลอด แทนวิธีคลอดตามธรรมชาตินั้น อาจทำให้เด็กผ่าคลอดพลาดโอกาสได้รับภูมิคุ้มกันตั้งต้นจากช่องคลอดตามธรรมชาติได้ จึงเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือเจ็บป่วยได้ง่ายขึ้นถึง 30%

ข้อมูลจากการวิจัยพบว่า เด็กผ่าคลอดจะไม่ได้รับจุลินทรีย์ที่ดีจากแม่ในขณะคลอดและมีโอกาสได้รับนมแม่ช้ากว่าทารกที่คลอดตามธรรมชาติ เพราะคุณแม่มีอาการเจ็บแผลหลังคลอดมากกว่า อีกทั้งอาการเจ็บยังยาวนานกว่าและฟื้นตัวได้ช้ากว่า จึงทำให้เด็กที่ผ่าคลอดมีการพัฒนาจุลินทรีย์ที่ดีในระบบทางเดินอาหารล่าช้ากว่า ซึ่งอาจส่งผลต่อการพัฒนาภูมิคุ้มกันที่ล่าช้ากว่าเด็กที่คลอดตามธรรมชาติ

 

การให้นมแม่สำหรับเด็กผ่าคลอด เรื่องสำคัญที่คุณแม่ต้องดูแลเป็นพิเศษ

 

โอบกอดลูกให้เร็วที่สุด

 

การโอบกอดลูกแบบเนื้อแนบเนื้อช่วยเชื่อมสัมพันธ์ ความผูกพันและยังช่วยกระตุ้นให้ร่างกายคุณแม่เตรียมน้ำนมให้ลูกด้วย หลังจากการผ่าคลอด คุณหมอมักจะนำลูกมาวางไว้แนบหน้าอกของคุณแม่ก่อนที่จะนำลูกไปห้องปรับอุณหภูมิ และหากคุณพ่อสามารถเข้าไปอุ้มลูกได้ ให้คุณพ่อเข้าไปกอดแบบเนื้อแนบเนื้อ เพื่อให้ลูกเกิดความผูกพัน พร้อมที่จะเชื่อมสัมพันธ์กับคุณแม่อีกเมื่อมีโอกาส

 

อย่าเครียดเรื่องน้ำนมมากเกินไป

 

คุณแม่ที่ผ่าคลอดอาจจะรู้สึกน้ำนมมาช้ากว่าคนที่คลอดด้วยวิธีธรรมชาติเล็กน้อย แต่ไม่ควรกังวลจนเกินไป เพราะจะยิ่งทำให้น้ำนมมาช้า เนื่องจากฮอร์โมนและอารมณ์ส่งผลต่อการผลิตน้ำนม เพราะฉะนั้นคุณแม่ควรทำใจให้สบาย

 

ท่าให้นมลูก

 

ควรระมัดระวังการเลือกท่าที่ให้นมลูก เพราะอาจจะทำให้เจ็บแผลได้ ท่าวางลูกแบบลูกฟุตบอลหรืออุ้มลูกจากด้านข้างจะช่วยหลีกเลี่ยงการสัมผัสแผลได้ การใช้หมอนก็ช่วยได้เช่นกัน ในวันแรกๆ หลังผ่าคลอด คุณแม่อาจจะรู้สึกเจ็บแผลเวลาขณะลุกจากเตียงหรือเดินไปมา แต่การลุกเดินหรือขยับร่างกายบ่อยๆ จะช่วยให้ร่างกายคุณแม่ฟื้นตัวเร็วขึ้น

 

ความถี่ในการให้ลูกเข้าเต้า

 

ควรพยายามเอาลูกเข้าเต้าทุกครั้งที่มีโอกาส เพื่อกระตุ้นการผลิตน้ำนม เด็กแรกเกิดจะต้องการกินนม 6-8 ครั้ง ใน 24 ชั่วโมงแรกของชีวิต ช่วงแรกของชีวิต เด็กจะนอนมากเป็นพิเศษ ให้คุณแม่ปลุกด้วยวิธีการสัมผัส หรือพูดเบาๆ นอกจากนั้นยังมีวิธีถอดเสื้อผ้าลูก หรือเปลี่ยนผ้าอ้อม เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศและทำให้เด็กตื่น บางทีอาจจะต้องรอถึง 10 นาทีกว่าเด็กแรกเกิดจะหายจากอาการงัวเงีย และพร้อมจะดื่มนมอย่างเต็มที่ ซึ่งช่วงแรกๆ นี้ร่างกายคุณแม่จะผลิตนมเหลืองออกมาก่อน ซึ่งมีปริมาณน้อยแต่มีความสำคัญและมีประโยชน์สำหรับลูกน้อยมาก เพราะมีทั้งภูมิคุ้มกันและสารอาหารสำคัญที่เด็กต้องการ หลังจากนี้ 3-5 วัน น้ำนมจะเปลี่ยนสีและปริมาณจะมากขึ้น นั่นเป็นเพราะว่าลูกเริ่มต้องการนมมากขึ้นแล้ว

 

การดูแลสุขภาพช่วงตั้งครรภ์

เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้แล้ว คุณแม่อาจจะเริ่มชั่งใจว่าจะเลือกวิธีการคลอดแบบไหนดี? แต่ไม่ต้องกังวลใจไป ไม่ว่าคุณแม่จะเลือกคลอดแบบผ่าคลอด หรือมีความจำเป็นที่จำต้องผ่าคลอดตามคำแนะนำของแพทย์แล้วล่ะก็ วันนี้เรามีวิธีดูแลสุขภาพสำหรับคุณแม่ผ่าคลอด มาบอกกัน

 

การดูแลสุขภาพช่วงตั้งครรภ์สำหรับคุณแม่ผ่าคลอด เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี

 

1.คุณแม่ควรพักผ่อนให้เพียงพอในช่วงตั้งครรภ์ 
2.เลือกโภชนาการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
  โดยทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ อย่างสมดุล รวมถึงการเลือกอาหารที่มีส่วนผสมของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ที่ช่วยลดการติดเชื้อในทางเดินอาหาร
3.ดูแลความสะอาดและสุขอนามัยในระหว่างตั้งครรภ์ เพื่อป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อ หลีกเลี่ยงไปในที่ชุมชน ถ้าจำเป็น ให้อยู่ห่างจากคนอื่นราว ๆ 2 เมตร สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า การสวมหน้ากาก 2 ชั้นหรือผูกปมที่สายคล้องหู จะช่วยให้กระชับและป้องกันการติดเชื้อได้มากขึ้น ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยแอลกอฮอล์เจล หรือสบู่
4.ดูแลสุขภาพจิตใจและร่างกาย ด้วยการทำอารมณ์จิตใจให้แจ่มใส และหมั่นออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์ด้วยเสมอว่ามีข้อห้ามในการออกกำลังกายหรือไม่
5.พบแพทย์เพื่อตรวจครรภ์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับสุขภาพที่ดีของทารก

 

นมแม่ มหัศจรรย์แห่งภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติ

 

นมแม่มีสารอาหารกว่า 200 ชนิด รวมทั้ง Bifidus BL (B.Lactis) และ 2’FL ซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญที่พบในนมแม่ ที่ช่วยในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน เพราะ

• ในนมแม่มีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หลายสายพันธุ์ รวมทั้ง Bifidus BL หรือ B.lactis ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ที่พบได้มากในนมแม่ และเป็นสายพันธุ์ที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน โดยมีผลการวิจัยที่มีความน่าเชื่อถือสูงรองรับ
• นอกจากนี้ยังพบว่าในนมแม่มี 2’FL โอลิโกแซคคาไรด์ซึ่งเป็นพรีไบโอติกส์ชนิดที่พบมากที่สุดในนมแม่ ซึ่งช่วยส่งเสริมจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในทางเดินอาหาร ป้องกันการติดเชื้อในทางเดินอาหาร และช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

โดยสังเกตได้จากทารกที่ได้รับนมแม่จะมีการเจ็บป่วยน้อยกว่า และมีภูมิคุ้มกันที่ดีกว่า

ดังนั้นหากคุณแม่จำเป็นต้องใช้วิธีผ่าคลอด และอยากให้ลูกน้อยแข็งแรงจึงควรดูแลสุขภาพตัวเองแต่เนิ่นๆ และควรให้นมแม่อย่างน้อยที่สุด 6 เดือนหรือนานที่สุดเท่าที่จะทำได้ หรือควรปรึกษากุมารแพทย์เพื่อการดูแลที่เหมาะสมต่อไป