MyFeed Personalized Content
บทความ

PLAYING: ให้นมลูกต่อยังไงดี เมื่อคุณแม่ต้องกลับไปทำงาน

Add this post to favorites

ให้นมลูกต่อยังไงดี เมื่อคุณแม่ต้องกลับไปทำงาน

วันลาคลอดกำลังจะหมด และคุณแม่ที่จะต้องกลับไปทำงาน มักกังวลว่าไปทำงานแล้วจะไม่มีนมให้ลูก มาเรียนรู้วิธีเตรียมตัว และเทคนิคการปั๊มนม เพื่อเตรียมสต็อกนมกันค่ะ

1นาที อ่าน

วันลาคลอดกำลังจะหมด และคุณแม่ที่จะต้องกลับไปทำงาน มักกังวลว่าไปทำงานแล้วจะไม่มีนมให้ลูก หรือกังวลว่าจะให้ลูกกินนมอย่างไรต่อดี ต้องมีสต็อกนมกี่ถุงถึงเพียงพอ ต้องจัดระเบียบตัวเองอย่างไร มาดูเคล็ดลับง่ายๆสำหรับคุณแม่ให้นมที่กำลังเตรียมตัวกลับไปทำงานกันค่ะ

1. เตรียมตัวปั๊มนมตั้งแต่เนิ่นๆ

เริ่มต้นจากการใช้เครื่องปั๊มนม ประมาณ 2 สัปดาห์ก่อนจะถึงวันที่ต้องกลับไปทำงาน ให้คุณแม่ป้อนนมจากขวดแทนการให้ลูกดูดนมจากเต้าวันละ 1 ครั้ง เริ่มจากวันเว้นวันก่อน แล้วค่อยให้ทุกวัน แต่ยังควรให้ลูกดูดนมแม่ในตอนเช้าและ/หรือกลางคืน ปริมาณน้ำนมที่ผลิตขึ้นมาจะปรับเปลี่ยนไปตามธรรมชาติ

เคล็ดลับ: ในสัปดาห์ก่อนที่คุณแม่จะกลับไปทำงาน ให้บีบน้ำนมจากเต้าในเวลาที่คุณแม่มีน้ำนมมากเกินไป (โดยมากมักเป็นตอนเช้า) หรือในระหว่างที่รอป้อนนมครั้งต่อไป การทำอย่างนี้ จะช่วยให้คุณแม่มีน้ำนมสำรองเก็บไว้สำหรับป้อนให้ลูกซึ่งคุณแม่อาจแช่แข็งเก็บไว้ได้

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ กับการกลับไปทำงาน

 

2. ใช้เครื่องปั๊มนมแบบ2ข้างพร้อมกัน

การเลือกใช้เครื่องปั๊นนมแบบ2ข้างพร้อมกัน เป็นการช่วยประหยัดเวลา เช่น การปั๊มนมทีละข้างนาน30นาที จะได้นมเท่ากับการปั๊ม 2ข้างพร้อมกันนาน10นาที ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาปั๊นนมนาน และการปั๊มนมข้างหนึ่งจะเป็นการกระตุ้นน้ำนมอีกข้างหนึ่งให้ไหลด้วย เพราะฉะนั้นคุณแม่จึงควรปั๊มนม 2ข้างพร้อมกัน

3. เทคนิคการปั๊มนม

ก่อนที่คุณแม่จะกลับไปทำงาน ให้คุณแม่คอยปั๊มนมทุกๆชั่วโมงในช่วงกลางวัน เมื่อลูกดูดนมเสร็จให้คุณแม่พักผ่อนประมาณ 1ชั่วโมง แล้วจึงค่อยปั๊มนมอีก 2ข้างพร้อมกันนาน 10นาที เมื่อครบ10นาทีแล้วให้คุณแม่เทนมที่ปั๊ม เก็บแยกไว้อีกขวดแล้วนำเข้าตู้เย็น และอีก1ชั่วโมงถัดมาให้ทำแบบเดียวกัน แล้วนำนมที่ได้ไปเทรวมกันได้ภายใน 1วัน

เมื่อคุณแม่กลับไปทำงานแล้ว ก่อนที่คุณแม่จะออกไปทำงาน แนะนำให้ลูกดูดรอบนึง โดยระหว่างวันให้เอานมให้ลูกทุก 3-4 ชั่วโมง หรือถี่กว่านั้นเฉลี่ยชั่วโมงละออนซ์พอให้หายหิว เท่ากับว่าจะใช้นมสต็อกไปวันละ 10ออนซ์ และเมื่อคุณแม่กลับมาถึงบ้านจึงค่อยให้นมลูกจากเต้าตอนเย็น และตอนกลางคืน

เคล็ดลับ: คุณแม่ควรปั๊มนมทุก 2-3ชั่วโมงเมื่อกลับไปทำงาน เพราะจะช่วยรักษาระดับการสร้างน้ำนมให้คงที่ไม่ลดลง หากปั๊มห่างกว่า 3ชั่วโมงจะทำให้ปริมาณน้ำนมลดลงได้ โดยคุณแม่สามารถปั๊มนมได้ที่โต๊ะทำงานและใช้ผ้าคลุมให้นมสวมทับ

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ กับการกลับไปทำงาน

 

4. ระวังน้ำนมไหลออกมาเปื้อนเสื้อ!

เมื่อในน้ำนมไหลออกมามากอาจจะเกิดคราบน้ำนมเปื้อนบนเสื้อผ้าได้ คุณแม่จึงควรมีเสื้อชั้นในและเสื้อตัวนอกสำรองไว้ในที่ทำงาน และควรซื้อฝาครอบหัวนม (breast shell) หรือแผ่นซับน้ำนม (breast pad) แบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง คุณแม่ควรเปลี่ยนแผ่นซับน้ำนมอยู่เสมอตลอดวัน และเปลี่ยนหลังจากการปั๊มน้ำนม

คุณแม่หลายท่านอยากรีบปั๊มให้มาก เพราะมีความกังวลกลัวสต็อกน้ำนมไม่มากพอ ไม่ต้องกังวลไปนะคะ แม่บางท่านมีสต็อกแค่วันต่อวัน ก็ยังสามารถให้นมลูกได้เป็นปี และการปั๊มน้ำนมเป็นประจำจะช่วยให้คุณแม่รู้สึกผ่อนคลาย และช่วยระบายน้ำนม รวมทั้งเป็นการพัฒนาการความสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูกมากขึ้นด้วยเช่นกัน

แม่ให้นมต้องรู้! การเสริมภูมิคุ้มกันของลูกให้แข็งแรงเป็นสิ่งสำคัญ

นมแม่เป็นโภชนาการที่ดีที่สุดสำหรับทารก ซึ่งอุดมไปด้วยสารอาหารกว่า 200 ชนิด รวมทั้ง จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ LPR, โอเมก้า และดีเอชเอ คุณแม่จึงควรให้นมแม่เพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนหรือนานที่สุดเท่าที่จะให้ได้

LPR (แอลพีอาร์) หรือ แล็กโทบาซิลลัส รามโนซัส เป็นจุลินทรีย์สายพันธุ์ที่มีงานวิจัยรองรับมากที่สุด และมีผลการศึกษาที่มีความน่าเชื่อถือสูงรองรับว่าช่วยในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน มีส่วนช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้ระบบทางเดินอาหาร และมีคุณสมบัติโดดเด่นที่สามารถเกาะติดเยื่อบุลำไส้ได้ดี โดยในปัจจุบันมีงานวิจัยสนับสนุนว่า จุลินทรีย์ในทางเดินอาหาร มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสื่อสารระหว่างทางเดินอาหาร และสมอง เมื่อร่างกายแข็งแกร่ง พร้อมเรียนรู้ พัฒนาการทางสมองก็เกิดขึ้นได้อย่างเต็มที่


 


อ้างอิง
-แม่ต้องกลับไปทำงาน จะให้ลูกกินนมแม่ต่อไปยังไงดี, เข้าถึงได้จาก https://th.theasianparent.com/tips-for-going-back-to-work-after-a-baby
-มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย เข้าถึงได้จาก https://www.facebook.com/Thaibf/posts/975697882537783/
-Lara-Villoslada F, et al. Br J Nutr. 2007 Oct;98 Suppl 1:S96-100.
-เมื่อแม่ต้องไปทำงาน จะให้นมลูกได้อย่างไร, เข้าถึงได้จาก https://www.synphaet.co.th/children-ramintra/ทำงานจะให้นมลูก