MyFeed Personalized Content
บทความ

PLAYING: ป้องกันการ “แพ้อาหาร” ของลูกน้อย

Add this post to favorites

ป้องกันการ “แพ้อาหาร” ของลูกน้อย

สาเหตุที่ทำให้ทารกแพ้อาหารเป็นเรื่องซับซ้อนและมีปัจจัยหลายอย่าง ดังนั้นคุณแม่ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่คาดว่าเป็นตัวการที่ทำให้ลูกน้อยเกิดการแพ้ ควบคู่กับการเข้ารับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ

1นาที อ่าน

สาเหตุที่ทำให้ทารกแพ้อาหารเป็นเรื่องซับซ้อนและมีปัจจัยหลายอย่าง ซึ่งส่งผลต่อการแสดงออกของอาการที่แตกต่างกัน วิธีป้องกันที่ดีคือพยายามหลีกเลี่ยงอาหารที่คาดว่า น่าจะเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ลูกน้อยเกิดการแพ้ ควบคู่กับการเข้ารับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญและกุมารแพทย์โรคภูมิแพ้ เราได้รวบรวมคำตอบของสิ่งที่คุณแม่อยากรู้เกี่ยวกับอาการแพ้อาหารของลูกน้อยมาฝาก

 

ป้องกันการ “แพ้อาหาร” ของลูกน้อย

 

เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช่วยป้องกันการแพ้อาหารในทารกได้จริงหรือ?

 

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อาจช่วยลดความเสี่ยงในการแพ้อาหารได้ โดยเฉพาะครอบครัวที่มีความเสี่ยงสูงและมีประวัติภูมิแพ้ อย่างการแพ้โปรตีนในนมวัว การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงเป็นสิ่งที่ควรทำอย่างยิ่ง และควรเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวในช่วงแรกเกิด เพื่อช่วยเรื่องระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงและช่วยให้ะบบย่อยอาหารของลูกพัฒนาได้สมบูรณ์มากขึ้น ควบคู่กับการให้อาหารเสริมที่เหมาะสมกับลูกน้อยแต่ละช่วงวัย

 

เด็กที่แพ้อาหารมีอาการอย่างไร?

 

ขึ้นอยู่กับอาหารที่แพ้ ส่วนใหญ่อาการที่พบมีตั้งแต่การอาเจียน ท้องเสีย ปวดท้อง ลมพิษ ริมฝีปากและลิ้นบวม ผื่นแพ้ หอบหืด และมีอาการติดเชื้อซ้ำที่หู จมูก และคอ ซึ่งอาจส่งผลกระทบการเจริญเติบโตของเด็กได้

 

อาหารที่มักทำให้เกิดการแพ้

 

อาหาร 4 อย่างที่เป็นสาเหตุหลักของการแพ้ในเด็ก ตั้งแต่เริ่มต้นให้อาหารเสริมจนลูกอายุ 3 ปี ได้แก่

 

ไข่

ถ้าลูกได้รับการวินิจฉัยว่าแพ้ไข่ ควรอ่านฉลากและส่วนประกอบอย่างระมัดระวัง เพราะหลายผลิตภัณฑ์ผลิตขึ้นโดยมีไข่เป็นส่วนประกอบ นักโภชนาการสามารถช่วยสอนการอ่านฉลากอาหารได้ ถ้าควรให้ลูกกินไข่ที่ต้มสุกแล้วเท่านั้น

 

กลูเตน

ป้องกันการแพ้อาหารลูกน้อย

 

กลูเตนเป็นโปรตีนที่พบในธัญพืช เช่น ข้าวไรย์ ข้าวโอ๊ต ข้าวสาลี (รวมถึงขนมปังที่ทำจากแป้งสาลีและข้าวสเปลท์) และข้าวบาร์เลย์ ทันทีที่แพทย์วินิจฉัยว่าลูกน้อยแพ้กลูเตน ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่ทำจากธัญพืชต้องนำออกจากรายการอาหาร แนะนำว่าควรให้เด็กได้รับกลูเตนเมื่ออายุ 6 เดือนขึ้นไป แม้จะไม่เคยมีประวัติภูมิแพ้ในครอบครัวมาก่อนก็ตาม ส่วนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อาจช่วยลดโอกาสที่จะเกิดการแพ้กลูเตน (Coeliac Disease) ซึ่งเรื่องนี้ยังอยู่ในระหว่างการศึกษาวิจัย

 

ถั่วลิสง

เช่นเดียวกับไข่ และกลูเตน ถั่วลิสงมีอยู่ในหลายผลิตภัณฑ์ในท้องตลาด ถ้าลูกได้รับการวินิจฉัยว่าแพ้ถั่วลิสงจึงต้องอ่านฉลากเพื่อดูว่ามีส่วนประกอบของถั่วลิสงหรือไม่ คุณอาจให้ลูกชิมเนยถั่วลิสงธรรมชาติในปริมาณน้อยๆ ตอนเริ่มให้ลูกกินอาหารเสริมตามวัยในขวบปีแรก

 

โปรตีนนมวัว

การแพ้โปรตีนในนมวัวเป็นอาการที่พบได้ทั่วไปโดยเฉพาะในเด็กทารก แม้การแพ้นมวัวจะทำให้การเลี้ยงลูกของคุณยุ่งยากขึ้น แต่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคภูมิแพ้และแพทย์ทั่วไปสามารถให้คำแนะนำที่ดีได้ เมื่อลูกเติบโตขึ้นการแพ้โปรตีนในนมวัวก็อาจจะหายไป

 

มีเรื่องอะไรบ้างที่คุณควรรู้

 

• ต้มผลไม้และผักให้สุกอย่างทั่วถึง (ก่อนจะนำมาบดละเอียด) เพราะการทำให้สุกจะช่วยลดคุณสมบัติในการเป็นสารก่อภูมิแพ้ได้
• เริ่มให้อาหารชนิดใหม่ทีละอย่างๆ และควรให้ในตอนเช้า เพื่อจะได้สังเกตอาการในระหว่างวัน
• เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ควบคู่กับการให้ลูกกินอาหารเสริมที่เหมาะสมกับแต่ะช่วงวัย

 

ใครควรเป็นผู้วินิจฉัยโรคภูมิแพ้?

 

ป้องกันการ “แพ้อาหาร” ของลูกน้อย

 

ช่วงแรกแพทย์ที่ดูแลอาจสั่งให้ตรวจเลือด ก่อนจะแนะนำให้ไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคภูมิแพ้ และคุณยังสามารถไปพบกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคภูมิแพ้ได้ด้วย

การแพ้อาหารสามารถรักษาให้หายได้หรือไม่?

ยังไม่มียาตัวใดในปัจจุบันที่สามารถรักษาการแพ้อาหารได้ อย่างไรก็ดี มันเป็นไปได้ที่อาการแพ้อาหารจะหายไปเมื่อลูกเติบโตขึ้น ดังนั้นแพทย์อาจนัดทดสอบการแพ้อาหารของลูกภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด