MyFeed Personalized Content
พัฒนาการลูก 0-36 เดือน
บทความ

PLAYING: วิธีชงนมที่ถูกต้อง พร้อมขั้นตอนการชงนมให้ถูกสุขอนามัยสำหรับลูกน้อย

Add this post to favorites

วิธีชงนมที่ถูกต้อง พร้อมขั้นตอนการชงนมให้ถูกสุขอนามัยสำหรับลูกน้อย

วิธีชงนมที่ทำอยู่ถูกต้องหรือเปล่า? ทำความเข้าใจการชงนมอย่างไรให้ถูกวิธีและถูกสุขอนามัยใน 4 ขั้นตอน พร้อมไขข้อข้องใจนมผงที่ชงแล้วสามารถเก็บไว้ได้กี่ชั่วโมง

2นาที อ่าน

เมื่อพูดถึงวิธีชงนมให้ลูก คุณแม่หลายท่านคงคิดว่าเป็นเรื่องง่าย ๆ แค่มีนมผงกับน้ำร้อน นำใส่แก้วแล้วเขย่ารวมกันใคร ๆ ก็ทำได้ ใช่ไหมล่ะคะ? แต่รู้ไหมคะ ว่าสิ่งที่คิดว่าง่าย อาจเป็นสิ่งที่คุณแม่เข้าใจผิดมาตลอดก็ได้นะ แม้ว่าวิธีชงนมให้ลูกฟังดูอาจจะง่าย แต่คุณแม่ต้องใส่ใจให้มาก ฉะนั้นลองมาดูวิธีชงนมให้ลูกที่ถูกต้อง ถูกหลักอนามัย

 

ขั้นตอนและวิธีการชงนมที่ถูกต้องให้ถูกสุขอนามัย

 

วิธีชงนม 3 ขั้นตอนเพื่อสุขอนามัยที่ดี
 

ขั้นตอนที่ 1 : วิธีชงนมที่ดี สุขอนามัยต้องสะอาด

พื้นฐานสำคัญของวิธีชงนมให้ลูกที่ถูกต้อง คือ การมีสุขอนามัยที่สะอาด คุณแม่ควรทำความสะอาดภาชนะใส่นม และอุปกรณ์ที่ใช้ในการชงนม เพื่อป้องกันแบคทีเรีย สาเหตุความเจ็บป่วยต่าง ๆ ที่สามารถติดมากับภาชนะใส่นม และอุปกรณ์การชงนมได้ ซึ่งวิธีทำความสะอาดภาชนะใส่นม และอุปกรณ์ก็ง่ายนิดเดียว ทำตามได้ 4 ขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้

1. ล้างมือให้สะอาดและถูกวิธีก่อนการทำความสะอาดภาชนะใส่นมทุกครั้ง เพื่อไม่ให้มีสิ่งแปลกปลอมปะปนระหว่างทำความสะอาด
2. ทำความสะอาดภาชนะใส่นม และอุปกรณ์ ด้วยน้ำยา และแปรงขนนุ่มหรือฟองน้ำแบบนุ่ม ให้สะอาดอย่างทั่วถึงทุกครั้งทั้งภายในและภายนอกภาชนะใส่นม
3. พักภาชนะใส่นม และอุปกรณ์ให้แห้งสนิท แล้วเก็บใส่ในกล่องสะอาดที่มีฝาปิดหรือที่ที่มิดชิด เพื่อป้องกันการปนเปื้อนจากสิ่งแปลกปลอม เช่น เศษผง แมลงต่าง ๆ ฝุ่น และสิ่งแปลกปลอมที่มองไม่เห็นก่อนจะชงนม
 

ขั้นตอนที่ 2 : วิธีชงนมที่ดี ต้องใช้น้ำร้อนผสมน้ำต้มสุก ที่ทิ้งไว้ให้เย็นจนเท่าอุณหภูมิห้อง

 

วิธีชงนม

 

คุณแม่หลายท่านคงคิดว่าวิธีชงนมให้ลูกต้องใช้น้ำร้อนหรือน้ำเดือดในการชงนมเพียงอย่างเดียว แต่จริง ๆ แล้ว น้ำที่เหมาะสมสำหรับชงนม คือ น้ำร้อน + น้ำต้มสุก ที่ทิ้งไว้ให้เย็นจนเท่าอุณหภูมิห้อง เมื่อหยดหลังมือแล้วจะรู้สึกอุ่นพอดี และเมื่อผสมกับผงนมแล้วจะได้อุณหภูมินมประมาณอุณหภูมิห้อง

หมายเหตุ
* น้ำต้มสุกอุณหภูมิห้อง คือน้ำที่ผ่านการต้มให้เดือด แล้วเตรียมพักไว้ให้เย็นในอุณหภูมิห้อง

 

ขั้นตอนที่ 3 : วิธีชงนม การเตรียม และการตวงนม

 

วิธีชงนม

 

ปริมาณการเตรียมนมผสมที่เหมาะสม จะขึ้นอยู่กับวัย และน้ำหนักตัวของลูกเป็นสำคัญ ซึ่งอาจรวมถึงความอยากอาหารของลูกด้วยเช่นกัน คุณแม่ควรศึกษาอัตราส่วนผสมบนกล่องให้ชัดเจน เนื่องจากนมสูตรต่าง ๆ อาจมีอัตราส่วนผสมที่แตกต่างกัน

เติมน้ำลงภาชนะใส่นมก่อนใส่นมผง เนื่องจากวิธีชงนมแบบใส่นมผงก่อนน้ำอาจทำให้ปริมาณน้ำน้อยกว่าความเป็นจริง ทำให้ลูกได้รับนมในปริมาณที่เข้มข้นเกินไป และอาจทำให้ลูกเกิดอาการท้องผูกได้ เพราะฉะนั้นคุณแม่จึงควรใช้วิธีชงนมแบบเติมน้ำลงในภาชนะใส่นมก่อน และค่อยตามด้วยการใส่นมผง หลังจากนั้นให้เขย่าภาชนะที่ใช้ใส่นม

  • ตวงนมผง โดยชงนมในอัตราส่วนตามที่ระบุข้างฉลาก
  • ใส่นมผงลงในภาชนะที่เติมน้ำเรียบร้อยแล้ว
  • แกว่งภาชนะใส่นมไปทางซ้ายและขวา หรือ ใช้ช้อนคนวนเป็นวงกลมเบา ๆ เพื่อให้นมละลาย
  • ต้องตรวจสอบอุณหภูมิน้ำนมด้วยการหยดลงบนหลังมือของคุณแม่ทุกครั้ง แล้วรู้สึกอุ่นพอดี

Trick ไม่ควรทิ้งนมผงที่ชงแล้วในอุณหภูมิห้องนานเกิน 2 ชั่วโมง แต่วิธีที่ดีที่สุด ควรทิ้งนมที่ลูกกินไม่หมดทุกครั้ง
 

ขั้นตอนที่ 4 : วิธีชงนมให้นมผงละลาย

 

วิธีชงนม

 

เมื่อใส่น้ำต้มสุกและนมผงลงในภาชนะใส่นม แล้ว คุณแม่ควรใช้วิธีแกว่งภาชนะใส่นม ซ้ายและขวา หรือ วนเป็นวงกลมเบา ๆ เพื่อให้นมละลาย

นมผงชงแล้วอยู่ได้กี่ชั่วโมง ?

นมที่เหลือจากการดื่มควรปิดฝาครอบให้สนิททุกครั้ง และนมที่ชงแล้วนั้น ควรป้อนลูกทันที หรือ กินให้หมดภายใน 2 ชั่วโมงที่อุณหภูมิห้อง ถ้าพักนานกว่านั้น อาจมีความเสี่ยงต่อสุขภาพของลูก ดังนั้นควรเตรียมนมผสม ให้เพียงพอ กับปริมาณที่ลูกกินในแต่ละครั้งแล้วหมดพอดี เพื่อหลีกเลี่ยงการนำมากินซ้ำ ป้องกันการปนเปื้อนที่อาจเกิดจากนมที่เหลือ หรือต้องเททิ้ง
 

4 ขั้นตอนเก็บนมผงที่ถูกต้อง

 

วิธีเก็บนมผง

 

1. อุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บต้องสะอาด ก่อนที่คุณแม่จะเปิดกล่องนมผง ให้ทำความสะอาดอุปกรณ์ทุกครั้งก่อนนำไปตัดบรรจุภัณฑ์ เช่น กรรไกร หรือมีด เพื่อให้มั่นใจว่าอุปกรณ์ทุกชิ้นและสภาพแวดล้อมสะอาดปลอดภัย
2. ควรพับปิดปากถุงนมให้สนิท เมื่อชงนมเสร็จแล้ว คุณแม่ควรพับปากถุงก่อนเก็บ และบรรจุในภาชนะที่สะอาด แห้ง และมีฝาปิดสนิท เพื่อป้องกันไม่ให้อากาศ หรือสิ่งสกปรกภายนอกเข้ามาเจือปนกับนมผงในถุง
3. ควรเก็บนมผงไว้ในที่แห้ง คุณแม่ควรจัดเก็บนมผงไว้ในที่แห้ง และห่างบริเวณที่มีอุณหภูมิสูง ห่างจากความร้อน ไม่ควรให้โดนแสงแดดและความชื้น เพราะแสงแดดอาจทำให้คุณภาพของนมผงลดลง หรือความชื้นจะทำให้นมผงเสียง่ายและจับตัวกันเป็นก้อนได้ และควรระมัดระวังช้อนที่ใช้ตักนม ต้องให้แห้งอยู่เสมอ เพื่อความสะอาด และป้องกันการจับตัวเป็นก้อนของนมผง
4. ไม่ควรเทนมผงลงในภาชนะโดยตรง คุณแม่ควรเก็บนมผงลงใส่ภาชนะทั้งถุง เพื่อรักษาคุณภาพของนมผงไว้ให้ครบถ้วน หรือในกรณีที่ต้องการเทนมผงใส่ภาชนะ ควรใช้ภาชนะทึบแสง เพื่อป้องกันการสูญเสียสารอาหารในนม และควรระวังเรื่องความสะอาดของภาชนะด้วยนะคะ


เพื่อให้คุณแม่สะดวก และใช้ชีวิตง่ายขึ้นทั้งช่วงเวลากลางวันและกลางคืน คุณแม่ควรจัดเตรียมน้ำต้มสุกอุณหภูมิห้อง แล้วเก็บน้ำใส่กระติกหรือกระบอกเก็บความร้อน เมื่อคุณแม่จะชงนม ให้เติมน้ำร้อนตามส่วนเพื่อให้ได้อุณหภูมิที่เหมาะสม ตามด้วยนมผงลงไป และเตรียมตลับหรือกล่องแบ่งนมให้พร้อม เพื่อให้คุณแม่สามารถเตรียมและตวงนมผงในส่วนที่ถูกต้อง สะอาด ผสมนมได้เร็วขึ้น และชงนมได้หลายครั้งในหนึ่งวัน ซึ่งช่วยให้คุณแม่มีความสุขและสะดวกสบายมากขึ้นในการดูแลลูก

เอกสารอ้างอิง
1. คู่มือสําหรับพ่อแม่ เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการดูแลและพัฒนาเด็ก วัยเด็กเล็ก 0-3 ปี จัดพิมพ์โดย ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย
media-20171010123052.pdf (thaipediatrics.org)