MyFeed Personalized Content
รวมเคล็ดลับ ดูแลครรภ์ สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์มือใหม่
บทความ

PLAYING: เคล็ดลับดูแลคุณแม่ตั้งครรภ์ 36 สัปดาห์ เพื่อพัฒนาการทารกอายุครรภ์ 36 สัปดาห์

Add this post to favorites

เคล็ดลับดูแลคุณแม่ตั้งครรภ์ 36 สัปดาห์ เพื่อพัฒนาการทารกอายุครรภ์ 36 สัปดาห์

เมื่อคุณแม่ท้องใหญ่ขึ้น จะทำอะไรก็ลำบากและเหนื่อยง่ายกว่าเดิม ในขณะที่คุณแม่บางคนอาจรู้สึกเบื่ออาหาร มาติดตามพัฒนาการการตั้งครรภ์ในสัปดาห์นี้กัน

1นาที อ่าน

ตั้งแต่สัปดาห์นี้ไปจนถึงวันคลอด พัฒนาการเด็กในครรภ์จะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ โดยตอนนี้ลูกน้อยมีน้ำหนักประมาณ 2.9 กิโลกรัมและมีความยาวถึง 45 เซนติเมตรแล้ว จึงอาจทำให้คุณแม่รู้สึกหนักและขยับตัวลำบากกว่าเดิมสักหน่อย พยายามเข้านะอีกไม่นานจะได้เจอเจ้าตัวเล็กแล้ว

พัฒนาการของทารกอายุครรภ์ 36 สัปดาห์

ไตรมาสที่ 3 คุณแม่ตั้งครรภ์ 36 สัปดาห์แล้ว พัฒนาการทารกในสัปดาห์นี้ลูกยังคงเพิ่มน้ำหนักและเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการมีชีวิตในโลกภายนอกที่ไม่มีแม่คอยโอบอุ้ม ทั้งระบบทางเดินอาหารซึ่งตอนอยู่ในท้องลูกน้อยจะได้รับอาหารผ่านสายสะดือ ก่อนจะเปลี่ยนมากินอาหารด้วยตัวเองหลังคลอด โดยอาหารชนิดแรกที่ลูกจะได้กินก็คือน้ำนมแม่ ซึ่งส่งผลต่อพัฒนาการและการเติบโตต่อจากนี้ของลูกอย่างมาก โดยเฉพาะ “น้ำนมเหลือง” หรือน้ำนมที่ไหลในช่วงแรก เช่นเดียวกับระบบทางเดินหายใจ จากเดิมลูกจะมีรกคอยทำหน้าที่เหมือนปอด แต่เมื่อถึงเวลาผนังช่องคลอดของแม่จะรีดน้ำคร่ำในทางเดินหายใจให้ไหลย้อนออกทางปากและจมูกของลูกน้อยจนหมด เพื่อให้ลูกได้หายใจด้วยตัวเองเป็นครั้งแรก

Basket with dirty laundry


การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของคุณแม่ตั้งครรภ์ 36 สัปดาห์

เมื่อท้องใหญ่ขึ้นอาจทำให้คุณแม่ก้มใส่รองเท้ายากขึ้นสักหน่อยจึงควรเลือกรองเท้าที่ใส่และถอดง่าย ในขณะเดียวกันท้องโตๆ ก็อาจทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์เหนื่อยง่ายกว่าปกติ แม้จะเป็นแค่การทำงานบ้านเบาๆ หากคุณแม่รู้สึกเหนื่อยควรขอความช่วยเหลือจากพ่อแม่และสามีเพื่อให้ช่วยทำงานบ้าน รวมถึงการช้อปปิ้งและการทำอาหาร ช่วงใกล้คลอดแบบนี้ถ้าเลี่ยงได้ควรเลี่ยงไปก่อน

สาระน่ารู้! โภชนาการคุณแม่ตั้งครรภ์ เพื่อพัฒนาการทารกอายุครรภ์ 36 สัปดาห์

คุณแม่ตั้งครรภ์ส่วนมากมักมีความอยากอาหารมากกว่าปกติ แต่ก็มีความเป็นไปได้เหมือนกันที่คุณแม่จะเหนื่อยกับการกินหรือรู้สึกไม่อยากอาหารขึ้นมา แต่ถึงอย่างนั้นโภชนาการคุณแม่ก็ควรเป็นไปอย่างเหมาะสม โดยอาจจะปรับมาทานอาหารมื้อเล็กๆ หรืออาหารว่างที่ดีต่อสุขภาพตลอดทั้งวันเพื่อให้ลูกได้รับพลังงานและสารอาหารเพียงพอกับพัฒนาการการตั้งครรภ์ในช่วงสุดท้าย โดยเฉพาะคุณแม่ที่มีน้ำหนักก่อนตั้งครรภ์น้อยจำเป็นต้องกินเพื่อเพิ่มน้ำหนักมากกว่าคนอื่น และดื่มน้ำให้เพียงพอประมาณ 8 แก้วต่อวัน พร้อมกับทานวิตามินเสริมช่วงตั้งครรภ์ตามที่แพทย์สั่งอย่างต่อเนื่อง โดยคุณแม่อย่าลืมว่าไม่ควรซื้ออาหารเสริม หรือเครื่องดื่มที่ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์สำหรับหญิงตั้งครรภ์ทานเอง ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง

เคล็ดลับสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ เมื่ออายุครรภ์ 36 สัปดาห์

แม้บางครอบครัวจะมีความเชื่อว่าไม่ควรตั้งชื่อลูกก่อนที่จะคลอด แต่คุณพ่อคุณแม่หลายคนก็เริ่มตั้งชื่อลูกกันแล้วซึ่งสามารถมองหาแรงบันดาลใจในการตั้งชื่อได้จากทุกๆ ที่ ทั้งจากหนังสือตั้งชื่อ การตั้งชื่อตามคนในครอบครัว หรือตั้งชื่อตามตัวละครจากภาพยนตร์ที่ชอบ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่อาจจะลองเขียนรายชื่อที่ชอบมา หากมีชื่อที่ทั้งสองคนชอบตรงกันก็จะช่วยให้เลือกง่ายขึ้น

อ้างอิง:
1. Mennella JA, Jagnow CP, Beauchamp GK: Prenatal and Postnatal Flavor Learning by Human Infants. Pediatrics 2001, 107: -e88.
2. Seron-Ferre M, Torres-Farfan C, Forcelledo ML, Valenzuela GJ: The development of circadian rhythms in the fetus and neonate. Seminars in Perinatology 2001, 25: 363-370.
3. Swaiman KF: Pediatric neurology: principles & practice, 5th edn. Philadelphia: Elsevier/Saunders; 2012.
4. Weaver LT, Austin S, Cole TJ: Small intestinal length: a factor essential for gut adaptation. Gut 1991, 32: 1321-1323.
5. MedlinePlus [Internet]. Bethesda (MD): National Library of Medicine (US); [updated 2016 Oct 05]. Fetal development; [reviewed 2015 Sept 26; cited 2016 Oct 27]; [about 2 p.]. Available from: https://medlineplus.gov/ency/article/002398.htm