MyFeed Personalized Content
รวมเคล็ดลับ ดูแลครรภ์ สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์มือใหม่
บทความ

PLAYING: เคล็ดลับดูแลคุณแม่ตั้งครรภ์ 35 สัปดาห์ เพื่อพัฒนาการทารกอายุครรภ์ 35 สัปดาห์

Add this post to favorites

เคล็ดลับดูแลคุณแม่ตั้งครรภ์ 35 สัปดาห์ เพื่อพัฒนาการทารกอายุครรภ์ 35 สัปดาห์

นับถอยหลังเดือนสุดท้ายก่อนกำหนดคลอด มาดูเคล็ดลับการปฏิบัติตัวเมื่อลูกน้อยกลับหัวและขยับลงไปในอุ้งเชิงกราน รวมถึงการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายคุณแม่และลูกน้อยในสัปดาห์ที่ 35

1นาที อ่าน

คุณแม่ใกล้จะได้อุ้มเจ้าตัวน้อยไว้ในอ้อมแขนแล้ว ถึงแม้ว่าจะใกล้คลอดเต็มทีแต่ลูกน้อยก็ยังมีพัฒนาการภายในท้อง อย่างต่อเนื่อง มาอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสัปดาห์นี้กันต่อ

Pregnant woman 35 weeks relaxing at home


พัฒนาการของทารกอายุครรภ์ 35 สัปดาห์

พัฒนาการเด็กในครรภ์ในไตรมาสที่3 ลูกน้อยยังคงพัฒนาระบบหายใจอย่างต่อเนื่อง มีสารลดแรงตึงผิวในถุงลมเป็นตัวสำคัญที่ช่วยพยุงให้ถุงลมไม่ยุบตัวลงเมื่อหายใจออก เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการร้องไห้ครั้งแรกหลังคลอดและการหายใจตามปกติ ในขณะเดียวกันการแลกเปลี่ยนออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ระหว่างแม่กับลูกน้อยในครรภ์ยังคงดำเนินต่อไปผ่านทางสายรก

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของคุณแม่ตั้งครรภ์ 35 สัปดาห์

ช่วงเวลาหนึ่งเดือนก่อนคลอดลูกน้อยกลับหัวและขยับลงไปในอุ้งเชิงกรานเรื่อยๆแล้ว ทำให้ปอดและกระเพาะอาหารของคุณมีพื้นที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ช่วยให้อาการอาหารไม่ย่อยของคุณแม่ดีขึ้นและสามารถหายใจได้สะดวกขึ้น ในช่วง 2-3 สัปดาห์สุดท้ายของการตั้งครรภ์ คุณแม่จะเริ่มมีความรู้สึกว่าร่างกายของคุณกำลังเริ่มพร้อมสำหรับการเตรียมคลอดเจ้าตัวน้อย

สาระน่ารู้! โภชนาการคุณแม่ตั้งครรภ์ เพื่อพัฒนาการทารกอายุครรภ์ 35 สัปดาห์

แม้ว่าอาหารทุกกลุ่ม (เนื้อสัตว์หรืออาหารที่มีโปรตีน, ผลไม้, ผัก, นม และ ธัญพืช) จะให้สารอาหารที่จำเป็นและแคลอรีกับตัวคุณแม่เองและลูกน้อย แต่ก็ยังมีอาหารอีกกลุ่มที่คุณแม่ควรให้ความสนใจเป็นพิเศษนั่นคือกลุ่มไขมัน โดยจำเป็นต้องทานอาหารในกลุ่มไขมัน โดยเฉพาะโอเมก้า 3 ซึ่งอุดมไปด้วย "กรดไขมันจำเป็น" ที่ร่างกายของเราไม่สามารถสังเคราะห์ได้ ต้องได้รับจากการทานอาหารเท่านั้น คุณแม่อาจคุ้นๆ กับ ALA (กรดอัลฟ่า - ไลโนเลอิก) ว่าเป็นไขมันจำเป็นที่พบในอาหารจำพวกพืช เช่น ถั่วและเมล็ดพืช ส่วนโอเมก้า 3 อีกชนิดหนึ่ง คือ DHA (docosahexaenoic acid) ที่พบในปลาเป็นหลัก ซึ่งมีส่วนช่วยในการสร้างโครงสร้างของเยื่อหุ้มเซลล์โดยเฉพาะสมอง ซึ่งเกี่ยวข้องกับการควบคุมการส่งข้อมูลระหว่างเซลล์ โดยเฉพาะเซลล์ประสาท และเป็นส่วนประกอบของจอประสาทตา นอกจากนี้ดีเอชเอยังมีส่วนสำคัญต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันอีกด้วย โภชนาการคุณแม่ที่ดีคืออาหารที่มีไขมันโอเมก้า 3 จากน้ำมันเมล็ดแฟลกซ์และคาโนลา, วอลนัท, จมูกข้าวสาลี และปลาที่มีไขมัน เช่น ปลาแซลมอน เมื่อคุณแม่เลือกทานอาหารที่มีกรดไขมันจำเป็นอย่างเพียงพอจะส่งผลดีต่อสุขภาพของคุณแม่เอง และยังถูกส่งผ่านไปยังลูกน้อยอีกด้วย

Food rich in omega 3 fatty acid for pregnant woman
 

เคล็ดลับสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ เมื่ออายุครรภ์ 35 สัปดาห์

นมแม่เป็นโภชนาการที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อยซึ่งเป็นสิ่งมหัศจรรย์ตามธรรมชาติ โดยน้ำนมส่วนหน้า (Foremilk) เป็นส่วนที่มีไขมันต่ำแต่มีปริมาณน้ำสูงจึงช่วยดับกระหายได้ดี และน้ำนมส่วนหลัง (Hind milk) เป็นส่วนที่มีไขมันสูงให้แคลอรีสูง ทำให้ลูกน้อยของคุณรู้สึกอิ่ม ยิ่งไปกว่านั้นนมแม่สามารถปรับตามความต้องการของลูกน้อยได้ด้วย เช่น หากลูกหิวบ่อยขึ้น ร่างกายของคุณแม่จะปรับตัวและผลิตน้ำนมให้มากขึ้นได้โดยอัตโนมัติ แต่ยิ่งใกล้คลอดคุณแม่อาจสงสัยว่าตัวเองจะสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้หรือไม่? การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นสิ่งที่เป็นธรรมชาติที่สุดในโลก โดยเจ้าตัวน้อยเตรียมตัวเรียนรู้วิธีการดูดตั้งแต่อยู่ในท้อง ถ้าคุณแม่ยังกังวลและมีปัญหาในการให้นมลูก สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม อ่านหนังสือ และขอคำปรึกษาหรือวิธีการแก้ไขจากคุณหมอได้