MyFeed Personalized Content
รวมเคล็ดลับ ดูแลครรภ์ สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์มือใหม่
บทความ

PLAYING: วิธีดูแลแม่ตั้งครรภ์ 19 สัปดาห์ เพื่อพัฒนาการทารกอายุครรภ์ 19 สัปดาห์

Add this post to favorites

วิธีดูแลแม่ตั้งครรภ์ 19 สัปดาห์ เพื่อพัฒนาการทารกอายุครรภ์ 19 สัปดาห์

ลูกน้อยดิ้นแรงเป็นสัญญาณปกติของลูกในครรภ์ บ่งบอกความแข็งแรงว่าลูกน้อยสามารถขยับแขน ขา ภายในครรภ์ได้ สำหรับตัวคุณแม่ยังต้องคำนึงถึงคุณภาพอาหารมากกว่าปริมาณเพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพและโรคภัย

1นาที อ่าน

มาถึงครึ่งทางของการตั้งครรภ์กันแล้ว แต่ก็ยังมีคุณแม่หลายคนเข้าใจผิดว่าเมื่อมีอีกหนึ่งชีวิตอยู่ในท้องจึงต้องทานอาหารเพิ่มขึ้นในปริมาณมากเป็น 2 เท่า แท้จริงแล้วเป็นการทำลายสุขภาพของลูกและยังเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลังคลอดด้วย

Pregnant woman and her husband holding ultrasound picture

 

พัฒนาการของทารกอายุครรภ์ 19 สัปดาห์

เมื่อตั้งครรภ์มาถึงสัปดาห์ที่ 19 ลูกน้อยจะมีน้ำหนักระหว่าง 300-400 กรัม หรือเทียบเท่าประมาณขนาดผลแก้วมังกร
และพัฒนาการทารกมีการเติบโตต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อนโดยขนาดตัวของลูกในครรภ์ยังไม่ขยายใหญ่จนคับท้องคุณแม่
จึงพอมีพื้นที่ให้สามารถขยับแขน ขา ทำให้เป็นเรื่องปกติที่ลูกดิ้นแรง เตะ ต่อย ท้องบ่อยขึ้น คุณแม่สามารถลูบหน้าท้องเบาๆ เพื่อทักทายและส่งสัญญาณว่าคุณแม่อยู่ที่นี่ หากช่วงเวลาตื่นหรือหลับของลูกในครรภ์ไม่ตรงกับเวลาตื่นหรือหลับของ
คุณแม่ คุณแม่อาจลูบท้องเพื่อกล่อมให้ลูกสงบลงแล้วหลับไปพร้อมกันในช่วงเวลากลางคืน

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของคุณแม่ตั้งครรภ์ 19 สัปดาห์

แม้ว่าการตั้งครรภ์ 19 สัปดาห์ ร่างกายของคุณแม่จะเริ่มอยู่ตัว สามารถรับมือกับการดิ้นของลูกได้แล้ว แต่ยังมีเรื่องสำคัญที่คุณแม่ควรตัดสินใจให้ได้ในช่วงนี้คือ การเลือกโรงพยาบาลสำหรับคลอดและวิธีการคลอดให้เรียบร้อย หากยังตัดสินใจไม่ได้ ควรขอข้อมูลการคลอดจากทางโรงพยาบาล และขอรับคำแนะนำจากคุณหมอที่ฝากครรภ์ได้

โภชนาการที่คุณแม่อายุครรภ์ 19 สัปดาห์ควรได้รับ

ช่วงเวลานี้เป็นจังหวะแห่งการสำรวจน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นของคุณแม่ เพราะอย่างที่ย้ำไปตั้งแต่สัปดาห์ที่ผ่านมาว่า น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นของคุณแม่ช่วยบ่งบอกสุขภาพลูกได้ หากคุณแม่เลือกรับประมาณอาหารที่มีคุณภาพในปริมาณที่เหมาะสม ลูกน้อยจะมีสุขภาพที่ดี หากคุณแม่ทานอาหารเพิ่มมากขึ้นเกินความจำเป็น จะส่งผลเสียต่อลูกในท้อง รวมถึงหลังจากคลอดลูกน้อยแล้วน้ำหนักของคุณแม่จะลดลงยาก ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพเช่นกัน ในส่วนของทารกที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ตั้งแต่แรกเกิด
มีโอกาสเสี่ยงที่สุขภาพจะแย่กว่าทารกที่มีน้ำหนักตามเกณฑ์ ซ้ำยังเพิ่มโอกาสที่จะกลายเป็นเด็กที่มีน้ำหนักมากตลอดช่วงวัยเด็ก นำไปสู่ปัญหาสุขภาพและโรคภัยอื่นๆ เช่น โรคเบาหวาน หรือโรคอ้วน เป็นต้น คุณแม่จึงต้องคำนึงถึงคุณภาพอาหารตั้งแต่ตอนนี้ เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพและโรคภัยทั้งของคุณแม่และลูกน้อย ดังนั้นคุณแม่ควรปรึกษาและขอคำแนะนำด้านโภชนาการจากคุณหมอหรือผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงรายงานน้ำหนักให้คุณหมอทราบทุกครั้งเพื่อควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

เคล็ดลับสำหรับคุณแม่อายุครรภ์ 19 สัปดาห์

บางครั้งการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายอาจทำให้คุณแม่มือใหม่วิตกกังวล การเข้าคอร์สอบรมก่อนคลอดจึงเป็นกุญแจสำคัญสำหรับการเตรียมตัวที่ดี เมื่อได้เรียนรู้แล้วว่าพัฒนาการเด็กในครรภ์จะเป็นอย่างไร หรือจะเกิดอะไรขึ้นในช่วงเวลาต่อจากนี้ จะช่วยให้คุณแม่รู้วิธีปฏิบัติตัวระหว่างตั้งครรภ์และคลายความกังวลลง รวมถึงได้พบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์กับคุณแม่คนอื่นๆ จึงเป็นช่วงเวลาที่ดีในการเริ่มเรียนรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จากคุณแม่คนอื่นๆ ด้วย


Pregnant women in prenatal class

อ้างอิง:

1. Seron-Ferre M, Torres-Farfan C, Forcelledo ML, Valenzuela GJ: The development of circadian rhythms in the fetus and neonate. Seminars in Perinatology 2001, 25: 363-370.
2. Swaiman KF: Pediatric neurology: principles & practice, 5th edn. Philadelphia: Elsevier/Saunders; 2012.
3. Weaver LT, Austin S, Cole TJ: Small intestinal length: a factor essential for gut adaptation. Gut 1991, 32: 1321-1323.
4. MedlinePlus [Internet]. Bethesda (MD): National Library of Medicine (US); [updated 2016 Oct 05]. Fetal development; [reviewed 2015 Sept 26; cited 2016 Oct 27]; [about 2 p.]. Available from: https://medlineplus.gov/ency/article/002398.htm