MyFeed Personalized Content
รวมเคล็ดลับ ดูแลครรภ์ สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์มือใหม่
บทความ

PLAYING: เคล็ดลับดูแลคุณแม่ตั้งครรภ์ 11 สัปดาห์ เพื่อพัฒนาการทารกอายุครรภ์ 11 สัปดาห์

Add this post to favorites

เคล็ดลับดูแลคุณแม่ตั้งครรภ์ 11 สัปดาห์ เพื่อพัฒนาการทารกอายุครรภ์ 11 สัปดาห์

น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นและการเปลี่ยนแปลงของร่างกายคุณแม่ตั้งครรภ์ 11 สัปดาห์ เคล็ดลับและโภชนาการ เพื่อเลี่ยงการสูญเสียมวลกระดูกของแม่และการเกิดภูมิแพ้ของลูกในครรภ์

1นาที อ่าน

เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์มาถึงสัปดาห์ที่ 11 ช่วงนี้ลูกน้อยเริ่มเติบโต แขนขาเริ่มขยับอย่างแข็งแรง ในระยะนี้อาจทำให้คุณแม่น้ำหนักเพิ่มขึ้น เพราะเป็นช่วงที่ลูกน้อยเริ่มสร้างกล้ามเนื้อ มาดูพัฒนาการของลูกน้อย การเปลี่ยนแปลงของคุณแม่ และโภชนาการคุณแม่ที่แนะนำในช่วงสัปดาห์นี้กันเลย

pregnant woman 11 weeks and her husband
พัฒนาการของทารกอายุครรภ์ 11 สัปดาห์
 

ในการตั้งครรภ์ระยะสัปดาห์ที่ 11 นี้ ร่างกายของลูกน้อยเริ่มเติบโตขึ้น โดยมีความยาวประมาณ 6 ซม. หรือขนาดประมาณผลมะเขือเทศ นิ้วมือและนิ้วเท้า จากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ยังคงติดกันเป็นพังผืด ตอนนี้นิ้วมือและนิ้วเท้าได้แยกออกจากกันโดยสมบูรณ์แล้ว และลูกน้อยเริ่มขยับแขนขามากขึ้นอีกด้วย

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของคุณแม่ตั้งครรภ์ 11 สัปดาห์

อาการแพ้ท้อง คลื่นไส้ของคุณแม่จะเริ่มลดลงไปเรื่อยๆ แต่ในระยะนี้ถ้ากางเกง ยกทรง เริ่มคับ ไม่ต้องกังวลไป เพราะโดยเฉลี่ยแล้วในไตรมาสที่ 1 น้ำหนักตัวของคุณแม่จะเพิ่มประมาณ 0.5-2.0 กิโลกรัมอยู่แล้ว ซึ่งน้ำหนักในส่วนนี้มาจากมดลูก รก และน้ำคร่ำ ที่ขยายตัวนั่นเอง

Milk High Calcium for Pregnant Woman
โภชนาการที่คุณแม่อายุครรภ์ 11 สัปดาห์ควรได้รับ

โภชนาการคุณแม่ในช่วงนี้ ควรเน้นทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดการสูญเสียมวลกระดูกของตัวคุณแม่เอง และยังเป็นการช่วยสร้างกล้ามเนื้อของลูกน้อยให้แข็งแรงด้วย แนะนำให้ทานนมและผลิตภัณฑ์จากนม โดยควรดื่มนม 4 มื้อต่อวัน และเสริมด้วยอาหารอื่นๆ ที่อุดมไปด้วยแคลเซียม เช่น ผักใบเขียว เมล็ดงา อาจปรึกษาแพทย์เพื่อทานแคลเซียมที่มาในรูปแบบของอาหารเสริมร่วมด้วย เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะได้รับปริมาณแคลเซียมที่เพียงพอต่อวัน

เคล็ดลับสำหรับคุณแม่อายุครรภ์ 11 สัปดาห์

แน่นอนว่าระหว่างตั้งครรภ์ คุณแม่คงจินตนาการว่าลูกน้อยจะมีอะไรที่เหมือนคุณบ้าง ไม่ว่าจะเป็น หน้าตา สีผม หรืออื่นๆ อีกมากมาย แต่คุณแม่บางท่านเคยสงสัยและมีคำถามในใจบ้างหรือไม่ว่า หากคุณแม่มีอาการภูมิแพ้ล่ะ อาการเหล่านั้นจะทำให้ลูกน้อยเป็นเหมือนกับเราไหม? ตามความเป็นจริงแล้ว ลูกน้อยมีความเสี่ยงที่จะเป็น แต่คุณแม่ก็สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดภูมิแพ้ของลูกได้เช่นกัน

อ้างอิง:
1. Mennella JA, Jagnow CP, Beauchamp GK: Prenatal and Postnatal Flavor Learning by Human Infants. Pediatrics 2001, 107: -e88.
2. Seron-Ferre M, Torres-Farfan C, Forcelledo ML, Valenzuela GJ: The development of circadian rhythms in the fetus and neonate. Seminars in Perinatology 2001, 25: 363-370.
3. Swaiman KF: Pediatric neurology: principles & practice, 5th edn. Philadelphia: Elsevier/Saunders; 2012.
4. Weaver LT, Austin S, Cole TJ: Small intestinal length: a factor essential for gut adaptation. Gut 1991, 32: 1321-1323.
5. MedlinePlus [Internet]. Bethesda (MD): National Library of Medicine (US); [updated 2016 Oct 05]. Fetal development; [reviewed 2015 Sept 26; cited 2016 Oct 27]; [about 2 p.]. Available from: https://medlineplus.gov/ency/article/002398.htm