MyFeed Personalized Content
รวมเคล็ดลับ ดูแลครรภ์ สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์มือใหม่
บทความ

PLAYING: วิธีดูแลแม่ตั้งครรภ์ 7 เดือน เพื่อพัฒนาการทารกอายุครรภ์ 7 เดือน

Add this post to favorites

วิธีดูแลแม่ตั้งครรภ์ 7 เดือน เพื่อพัฒนาการทารกอายุครรภ์ 7 เดือน

ใกล้ถึงกำหนดการลาคลอดเพื่อเริ่มเข้าคลาสสำหรับคุณแม่มือใหม่แล้ว มาเรียนรู้วิธีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินที่เหมาะสม รวมถึงอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับไตรมาสสุดท้ายกัน

1นาที อ่าน

คุณแม่มีประจำเดือนครั้งสุดท้ายเมื่อ 29-32 สัปดาห์ก่อน ตอนนี้จึงนับเป็นสัปดาห์ที่ 27-30 ของการตั้งครรภ์ ต้องเตรียมตัวลาหยุดตั้งครรภ์ตามที่วางแผนไว้เพื่อเริ่มร่วมคลาสสำหรับคุณแม่มือใหม่แล้ว

คุณแม่เปิดเพลงให้ทารกในครรภ์ฟัง

 

พัฒนาการของทารกอายุครรภ์ 7 เดือน

เมื่อการตั้งครรภ์ก้าวเข้าสู่เดือนที่ 7 พัฒนาการลูกน้อยภายในท้องของคุณแม่ช่วงนี้กำลังเริ่มเตรียมความพร้อมร่างกาย สำหรับการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและอากาศภายนอกครรภ์หลังคลอด เช่น เริ่มหายใจเป็นจังหวะปกติมากขึ้น เพราะโครงสร้างระบบการหายใจถูกสร้างขึ้นมาเกือบสมบูรณ์แล้ว และสิ่งที่พิเศษอีกอย่างคือร่างกายของลูกน้อยเริ่มที่จะสามารถควบคุมอุณหภูมิเองได้ด้วยตัวเองแล้ว ไขมันในชั้นผิวที่มากขึ้น ทำให้รอยย่นบนร่างกายของลูกน้อยลดลง ลูกน้อยจึงมีลักษณะคล้ายทารกแรกเกิดมากขึ้น ในขณะเดียวกันขนาดตัวที่ขยายขึ้นเรื่อยๆ จนความยาวประมาณเกือบเท่าศอก พื้นที่ภายในครรภ์คุณแม่จึงเริ่มเหลือน้อยลงเต็มที จนลูกน้อยไม่สามารถขยับไปมาได้เหมือนช่วงก่อนหน้านี้ พัฒนาการเด็กในครรภ์ช่วงนี้จึงมักใช้เวลาไปกับการดูดนิ้วและการทดลองใช้ประสาทสัมผัสทั้งระบบการรับรส การรับกลิ่น รวมถึงลูกน้อยเริ่มมีปฏิกริยาไวต่อเสียงจากภายนอกครรภ์ด้วย โดยเฉพาะเสียงของคุณพ่อและเสียงดนตรีบางชนิด โดยที่หัวใจของลูกน้อยจะเต้นถี่ขึ้นและยังสามารถขยับตามในบางครั้ง ส่วนระบบการมองเห็นของลูกน้อยมีพัฒนาการขึ้น โดยสามารถเปิดดวงตาขึ้นได้แล้วพร้อมๆ กับเริ่มมีขนตางอกออกมาแล้ว อีกไม่นานลูกก็แยกแยะความแตกต่างของความมืดและความสว่าง จากแสงที่ส่องผ่านผนังหน้าท้องของคุณแม่ได้แล้ว

สาระน่ารู้! โภชนาการคุณแม่ตั้งครรภ์ เพื่อพัฒนาการทารกอายุครรภ์ 7 เดือน

คุณแม่ไม่ต้องกังวลจนเกินไปหากผลตรวจเลือดในช่วงนี้จะบ่งบอกว่ามีภาวะโลหิตจาง เพราะเป็นเรื่องที่ปกติสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ในช่วงเดือนที่ 7 สาเหตุที่ผลเลือดออกมาแบบนี้ เนื่องจากพลาสม่าที่เป็นส่วนประกอบหลักของเลือดเพิ่มขึ้น มากกว่าจำนวนเม็ดเลือดแดงอย่างรวดเร็ว ทำให้ปริมาณพลาสม่าและเม็ดเลือดแดงผิดสัดส่วนไป โดยคุณหมอจะทำการตรวจเพิ่มเติมอีกครั้งว่าจะมีภาวะโลหิตจางแท้จริงแอบแฝงอยู่หรือไม่? ในบางกรณีคุณหมออาจจะสั่งจ่ายผลิตภัณฑ์อาหารเสริมให้ถ้าหากมีความจำเป็น

ฉะนั้นเพื่อรักษาอัตราการผลิตเม็ดเลือดแดงของคุณแม่อย่างสมดุล ในช่วงตั้งครรภ์เดือนที่ 7 นี้ คุณแม่ที่มีปริมาณเลือดในร่างกายเพิ่มขึ้นจากปกติประมาณ 1.5 ลิตร จึงต้องดื่มน้ำให้มากขึ้น และควรรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก เช่น อาหารประเภทตับ เลือด และเนื้อสัตว์ เป็นต้น

Glass of water for pregnant woman

เคล็ดลับสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ เมื่ออายุครรภ์ 7 เดือน

คุณแม่อาจสงสัยว่ามีอาหารประเภทใดบ้างที่ควรหลีกเลี่ยงระหว่างตั้งครรภ์ ตามหลักสุขอนามัยที่ดีและความปลอดภัย คุณแม่ควรงดอาหารดิบหรืออาหารที่ผ่านการปรุงสุกไม่เพียงพอ โดยต้องมีวินัยเคร่งครัดตลอดช่วงเวลาระหว่างการตั้งครรภ์ เรามีคำแนะนำเพื่อโภชนาการคุณแม่ที่ดีเพื่อความอุ่นใจในการรับประทานอาหาร ปฏิบัติตามได้ง่ายๆ คือ
• คุณแม่ต้องหักห้ามใจหลีกเลี่ยงการรับประทาน ชีสจากนมที่ไม่ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์, เนื้อสัตว์ที่ไม่ผ่านการปรุงสุก, ปลาดิบหรือปลารมควัน, อาหารหมักดองและอาหารทะเลดิบ
• คุณแม่ควรล้างมือให้สะอาดก่อนประกอบอาหารและก่อนรับประทานอาหาร
• คุณแม่ควรล้างผักและผลไม้ก่อนรับประทาน
• คุณแม่ควรอุ่นอาหารทุกครั้งหากต้องรับประทานอาหารที่ค้างจากมื้อก่อน
• หมั่นทำความสะอาดตู้เย็นอย่างสม่ำเสมอ
ลูกน้อยและคุณแม่ตอนนี้อยู่ในช่วงที่มีร่างกายกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดด ซึ่งอาศัยสารอาหารจากอาหารที่คุณแม่ทานเข้าไปทุกอย่าง เพื่อการเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ ในช่วงนี้อัตราการเพิ่มน้ำหนักตัวลูกน้อยอาจทวีขึ้นถึง 2 เท่า ไปจนถึงตอนคลอด เพราะฉะนั้นคุณแม่จึงควรนอนหลับให้เพียงพอและเลือกรับประทานอาหารให้สมดุลกับความต้องการ

Sashimi on plate for pregnant mom