MyFeed Personalized Content
รวมเคล็ดลับ ดูแลครรภ์ สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์มือใหม่
บทความ

PLAYING: การตรวจสุขภาพครรภ์เดือนที่ 4 – 6

Add this post to favorites

การตรวจสุขภาพครรภ์เดือนที่ 4 – 6

การตรวจสุขภาพครรภ์ในเดือนที่ 4-6 คุณหมอจะกำหนดแนวทาง ในการดูแลตัวเอง การรับประทานอาหาร และการเพิ่มน้ำหนักตัวให้เหมาะสม รวมถึงการตรวจสุขภาพครรภ์ของคุณแม่ดังนี้

1นาที อ่าน

การควบคุมการเพิ่มน้ำหนักของคุณ

 

สิ่งที่ดีที่สุดที่คุณทำได้เพื่อเตรียมความพร้อมในการให้กำเนินลูกน้อย คือ การรับประทานอาหารอย่างเหมาะสม และการเพิ่มน้ำหนักขึ้นเพื่อให้สามารถโอบอุ้มชีวิตอีกชีวิตหนึ่งได้ ระดับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นอย่างเหมาะสมขึ้นอยู่กับดัชนีมวลกายของคุณแม่แต่ละท่าน โดยคุณสามารถสอบถามวิธีการคำนวณจากคุณหมอได้ หากคุณเริ่มตั้งครรภ์ขณะที่มีน้ำหนักเฉลี่ยมาตรฐานเมื่อเทียบกับความสูง คุณควรวางเป้าหมายในการเพิ่มน้ำหนักขึ้น 0.4 กิโลกรัม (3/4 ปอนด์) ต่อสัปดาห์ในช่วงเดือนที่ 4 – 6 โดยเฉลี่ยนแล้วระดับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นอย่างเหมาะสม คือ 2 – 8 ปอนด์ในช่วงไตรมาสแรก จากนั้นค่อย ๆ เพิ่มขึ้นอีก 25 – 35 ปอนด์ ในช่วงไตรมาสที่ 2 และ 3 คุณควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพเพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับระดับน้ำหนักที่เหมาะสมกับคุณ

 

ความคุมระดับความสูงของยอดมดลูก

 

ความสูงของ “ยอดมดลูก” คือ ระยะห่างจากจุดสูงสุดของมดลูกถึงกระดูกหัวหน่าว คุณหมอจะวัดจากหน้าท้องของคุณด้วยวิธีปกติ เพื่อตรวจดูขนาดมดลูกที่ขยายขึ้น รวมถึงพัฒนาการและตำแหน่งของทารกในครรภ์

 

การตรวจครรภ์ในเดือนที่ 4 – 6

 

ในการเข้าพบแพทย์แต่ละครั้ง คุณอาจต้องผ่านการตรวจร่างกายหลายรูปแบบ สิ่งเหล่านี้ถือเป็นกระบวนการทั่วไปที่จะช่วยให้คุณหมอสามารถกำหนดแนวทางในการดูแลคุณและลูกน้อยได้ ทั้งนี้ สิ่งที่คุณจะต้องตรวจ ได้แก่:

• การตรวจปัสสาวะ เพื่อวัดระดับโปรตีนและน้ำตาลในปัสสาวะ ซึ่งจะสามารถตรวจจับปริมาณโปรตีนที่มากเกินไป อันเป็นสัญญาณเริ่มต้นของภาวะครรภ์เป็นพิษ การตรวจปัสสาวะยังสามารถใช้ตรวจอาการทางเดินปัสสาวะติดเชื้อได้ด้วย
• การตรวจ Triple-Marker และซีรัมของมารดก่อนคลอด เพื่อวัดระดับอัลฟ่าฟีโตโปรตีนหรือค่า AFP ในเลือดของมารดา AFP เป็นโปรตีนจำเพาะชนิดหนึ่ง หากค่าดังกล่าวอยู่ในระดับสูง อาจก่อให้เกิดภาวะท่อประสาทของทารกผิดปกติ หากค่า AFP ต่ำเกินไป (และเกิดร่วมกับความผิดปกติจากผลการตรวจอีก 2 รายการ) ก็อาจบ่งชี้ได้ถึงอาการของโรคดาวน์ซินโดรม
• Rhesus (Rh) - Antibody-Level Test เป็นการตรวจเลือดสำหรับผู้หญิงที่ค่า Rh เป็นลบ (Rh negative) คนส่วนใหญ่จะมีโปรตีนจำเพาะอยุ่ในเลือด ซึ่งเรียกว่า อาร์เอชแฟคเตอร์ (Rh factor) ส่วนคนที่ไม่มีโปรตีนชนิดนี้ถือว่าอยู่ในกลุ่ม Rh ลบ หากฝ่ายหญิงมีค่า Rh ลบแล้ว ฝ่ายชายควรตรวจหาอาร์เอชแฟคเตอร์ในเลือดด้วยเช่นกัน เนื่องจากการ ตั้งครรภ์ของผู้หญิงที่มีเลือดเป็น Rh ลบ กับผู้ชายที่มีเลือด Rh บวก อาจทำให้ทารกมีอาการผิดปกติได้ การตรวจค่าดังกล่าวจะทำในช่วงอายุครรภ์ได้ 18 สัปดาห์ขึ้นไป
• อัลตราซาวด์ การตรวจวิธีนี้ใช้คลื่นเสียงความพี่สูงเพื่อการจับภาพทารกในครรภ์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีมากกว่า 25 ปีแล้ว ในสัปดาห์ที่ 18 – 20 การตรวจด้วยวิธีอัลตราซาวด์จะสามารถบอกอายุเด็กในครรภ์ได้อย่างแม่นยำ ทั้งยังบอกได้ถึงจำนวนทารกในครรภ์ ซึ่งอาจมีจำนวน 1, 2 หรืออาจจะมีถึง 3 คนก็เป็นได้ นอกจากนี้ วิธีดังกล่าวยังสามารถตรวจจับความผิดปกติทางร่างกายของลูกน้อยได้ด้วย
• การตรวจน้ำคร่ำ คุณหมอจะสามารถตรวจหาโรคที่เกิดจากความผิดปกติจากยีนส์และโครโมโซม อย่างโรคดาวน์ซินโดรม ภาวะเลือดไหลไม่หยุด และโรคโลหิตจาง ได้โดยการนำน้ำคร่ำหรือของเหลวที่ล้อมรอบตัวทารกมาตรวจ โดยมากจะใช้กับกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป ในช่วงอายุครรภ์ 15 – 16 สัปดาห์ และยังใช้กับหญิงมีครรภ์ที่ผลการตรวจ Triple – Screen จากเลือดหรือการตรวจซีรัมก่อนการคลอดผิดปกติ