MyFeed Personalized Content
พัฒนาการลูก 0-36 เดือน
สูตรอาหาร
Add this post to favorites

มาเตรียมผักและผลไม้บดเป็น “เมนูน่าหม่ำ” กันดีกว่า!

เมื่อลูกอายุ 6 เดือนระบบย่อยอาหารและการดูดซึมจะเริ่มทำงานดีขึ้น ถึงเวลาแล้วที่คุณควรเสริมพัฒนาการด้านการเคี้ยวและการรับรส พร้อมสร้างความคุ้นเคยกับรสชาติของผัก-ผลไม้ที่มีประโยชน์

สำคัญที่สุดคุณพ่อ-คุณแม่ควรใส่ใจเรื่องความสะอาดของวัตถุดิบ อุปกรณ์ และภาชนะในทุกขั้นตอนของการเตรียมและการปรุงอยู่เสมอ ก่อนอื่นคุณพ่อ-คุณแม่ต้องเข้าใจถึงระยะเวลาที่ใช้ในการเตรียมและการปรุงเสียก่อน ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามประเภทของผักหรือผลไม้ที่ใช้ในการนำมาบดเป็นเมนูน่าหม่ำสำหรับลูกน้อย โดยผักและผลไม้ที่ต้องนำมาต้มให้สุกก่อนให้ทารกกินได้แก่

ส่วนผสม
  • ผลไม้ที่เหมาะสม - แอปเปิ้ล แอปริคอต อินทผาลัม ลูกพีช ลูกแพร์ และลูกพลัม
  • ผักที่เหมาะสม - ถั่ว แครอท กะหล่ำดอก บร็อคโคลี ถั่วลันเตา ฟัก มันฝรั่ง หัวไชเท้า มันเทศ ฟักทอง ผักโขม บวบ เห็ด
ขั้นตอนการทำ
  • ผักผลไม้

    ระยะเวลาที่ใช้ในการเตรียมและการปรุงจะแตกต่างกันไปตามผักหรือผลไม้ที่เลือกใช้ โดยกรรมวิธีในการทำเมนูน่าหม่ำมีขั้นตอนแสนง่าย ดังนี้

    ล้างผักหรือผลไม้ ปอกเปลือก (ถ้าจำเป็น) และหั่นผักหรือผลไม้เป็นชิ้นเล็กๆ

  • ใส่ผักหรือผลไม้ที่หั่นแล้วลงในกระทะขนาดเล็กๆ เทน้ำให้พอท่วม นำไปต้มจนเดือด และเคี่ยวให้นุ่ม

  • เทน้ำออก โดยเก็บน้ำไว้ส่วนหนึ่งสำหรับใช้เติมในอาหารบด สำหรับเด็กทารก 6-8 เดือน ให้นำผักหรือผลไม้ไปบดผ่านตะแกรงหรือเครื่องปั่นจนละเอียดเสียก่อน จากนั้นให้เติมน้ำต้มที่เก็บไว้ลงไปจนกว่าจะได้เนื้อสัมผัสตามต้องการ เมื่อเด็กทารกเริ่มโตขึ้นให้บดด้วยส้อม และเติมน้ำต้มผักหรือผลไม้ลงไปเล็กน้อยเพื่อให้ได้เนื้อสัมผัสที่อ่อนนุ่มน่าหม่ำสุดๆ

  • ผักบด

    ผักและผลไม้ที่บดแล้วสามารถนำไปแช่แข็งเพื่อใช้ในครั้งต่อไปได้

  • เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว ควรใส่ผักหรือผลไม้บดลงในถาดน้ำแข็งและแช่ช่องแข็ง ก้อนผักหรือผลไม้บดแช่แข็งแต่ละก้อนจะมีปริมาณเท่ากับ 1 ช้อนโต๊ะ ซึ่งเป็นปริมาณที่เหมาะสำหรับทารกเริ่มกินอาหารเสริมนั่นเอง

    ** หมายเหตุ: หากลูกกินผักหรือผลไม้บดแช่แข็งไม่หมด ควรทิ้งส่วนที่เหลือทันทีและอย่านำไปแช่ตู้เย็นหรือแช่แข็งอีกครั้ง