MyFeed Personalized Content
พัฒนาการลูก 0-36 เดือน
บทความ

PLAYING: เริ่มต้นความสนุกกับการกินอาหารเสริม

Add this post to favorites

เริ่มต้นความสนุกกับการกินอาหารเสริม

ลูกวัย 6 เดือนเป็นวัยเจริญเติบโตที่เริ่มต้องการสารอาหารมากขึ้น เพื่อตอบสนองกับความต้องการของร่างกายแต่ระบบทางเดินอาหารยังไม่พร้อมสำหรับอาหารแข็งเพียงอย่างเดียว

1นาที อ่าน

ช่วงวัยนี้จึงเป็นการเริ่มให้อาหารเสริมเพื่อปรับตัวสู่การกินอาหารแข็งต่อไป สัญญาณต่างๆ ที่ลูกน้อยบอกว่าเขาพร้อมสำหรับการกินอาหารเสริม ได้แก่ ความสามารถในการนั่งตัวตรง และการกลืนอาหาร ลูกน้อยอาจมีความสนใจในอาหารต่างๆ โดยพยายามคว้าหยิบอาหารด้วยตัวเอง ช่วงวัยนี้เขาอาจยังบังคับปฏิกิริยาบางอย่างไม่ได้ เช่น การแลบลิ้นออกมา

 

เริ่มต้นความสนุกกับการกินอาหารเสริม

 

การให้อาหารลูกน้อยควรมีปริมาณที่เพียงพอและให้กินเป็นเวลา มีเนื้อสัมผัสที่เหมาะสม อาหารเสริมในช่วงแรกๆ ควรเริ่มให้ทีละชนิด เริ่มจากธัญพืชที่มีเนื้อเหลวผสมกับนมที่ลูกกินเป็นประจำ แล้วค่อยๆ ปรับด้วยการเพิ่มความหลากหลายทั้งรสชาติและเนื้อสัมผัสเมื่อลูกโตขึ้น คุณแม่ต้องคอยสังเกตอาหารที่อาจทำให้ลูกมีอาการแพ้หรือไม่สามารถย่อยได้ตามปกติ ธาตุเหล็กเป็นสารอาหารสำคัญที่ควรมีในอาหารเสริมของลูก ซึ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ดี หากลูกน้อยได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอ อาจทำให้เกิดความเสี่ยงของภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กได้ ปริมาณความต้องการธาตุเหล็กสำหรับเด็กวัย 6-11 เดือนคือ 9 มก. ต่อวัน

หากคุณแม่มีข้อสงสัยในการให้อาหารเสริม คุณแม่ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ ถึงชนิดและเวลาที่เหมาะสมในการเริ่มให้อาหารเสริม เราหวังว่าคุณแม่จะมีความสุขกับช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นของการค้นพบสิ่งใหม่ๆ เมื่อลูกน้อยเริ่มสำรวจโลกแห่งรสชาติใหม่ๆ ครั้งนี้

และหากต้องการทราบเทคนิคด้านโภชนาการต่างๆ เพื่อลูกน้อย คุณแม่สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ “สูตรอาหารสำหรับลูกน้อย” เพื่อช่วยให้คุณแม่สามารถเตรียมอาหารให้ลูกน้อยได้อย่างหลากหลาย และเหมาะสมกับแต่ละช่วงพัฒนาการของลูกน้อย

 

References
FAO/WHO RNIs 12-36 months
FAO/WHO Vitamin and Mineral Requirements in Human Nutrition-Report of a Joint FAO/WHO Expert Consultation Second edition. WHO/FAO. 2004
Guidelines on Formulated Supplementary Foods for Older Infants and Young Children (CAC/GL08-1991) [update in process in 2013], in the absence of references values I the related standard for processed cereal-based foods for infants and children.