MyFeed Personalized Content
พัฒนาการลูก 0-36 เดือน
โภชนาการน่ารู้

PLAYING: รวมเมนูอาหารเด็ก 1 ขวบ สำหรับลูกน้อย คุณแม่ทำตามง่ายและถูกหลักโภชนาการ

Add this post to favorites

รวมเมนูอาหารเด็ก 1 ขวบ สำหรับลูกน้อย คุณแม่ทำตามง่ายและถูกหลักโภชนาการ

คุณแม่ทราบดีว่าเด็กวัยเตาะแตะเป็นวัยที่มีพลังในตัวเองและไม่ยอมหยุดนิ่ง อาหารสำหรับเด็ก 1 ขวบและขนมแต่ละคำที่เด็กวัยนี้รับประทาน จึงต้องมีประโยชน์เพื่อการเจริญเติบโต

1นาที อ่าน

เด็ก 1 ขวบ ต้องการสารอาหารเพื่อใช้ในการเจริญเติบโตและพัฒนาการต่างๆ อาหารเด็ก 1 ขวบ จึงควรอัดแน่นไปด้วยสารอาหารที่จำเป็น เพื่อให้ลูกน้อยสามารถกินหมดได้โดยไม่แน่นท้องจนเกินไป แต่เน้นการกินให้บ่อยตลอดทั้งวัน โดยทั่วไปเด็กวัยนี้ควรรับประทานอาหารมื้อหลัก 3 มื้อ และอาหารมื้อว่างที่มีประโยชน์อีก 2-3 มื้อต่อวัน ลูกน้อยวัย 1 ขวบ ต้องการอาหารทุกกลุ่มอย่างครบถ้วนในทุกๆ วัน เรามาลองดูตัวอย่างอาหารของลูกน้อยวัยหนึ่งขวบกัน

 

โภชนาการเด็กวัยเตาะแตะช่วงอายุ 1-2 ปี

 

ตัวอย่าง อาหารเด็ก 1 ขวบ กับปริมาณที่ควรบริโภคในแต่ละวัน1 ตัวอย่างปริมาณอาหาร 1 วัน

• กินวันละ 3 มื้อ

ตัวอย่างเมนูอาหาร 1 มื้อ

  1. ข้าวสวย 4 ช้อนโต๊ะ
  2. ไข่ต้มสุก ครึ่งฟอง สลับกับตับสุกหรือเนื้อสัตว์สุก 1 ช้อนโต๊ะ
  3. ผักต้มสุก 1 ½ ช้อนโต๊ะ
  4. น้ำมันพืชครึ่งช้อนชา ให้เลือกใส่น้ำมันพืชเพียงมื้อใดมื้อหนึ่งเท่านั้น
  5. ผลไม้สด 4 ชิ้น ตัดเป็นชิ้นพอดีคำ

 

โภชนาการเด็กวัยเตาะแตะช่วงอายุ 1-2 ปี

* สำหรับเมนูอาหารเด็ก 1 ขวบ ลูกอาจต้องการอาหารมากหรือน้อยกว่านี้ก็ได้ คุณแม่ควรสังเกตสัญญาณความหิวและความอิ่มของลูก นอกจากนี้คุณแม่ยังสามารถดูเมนูอาหารอื่นๆ ที่เหมาะกับลูกน้อย เพื่อโภชนาการที่ดีของลูกน้อยได้ที่นี่ คลิกเลย

 

 

7 อาหารและสารอาหารสำคัญสำหรับเด็กวัย 1 ขวบ

 

โภชนาการเด็กวัยเตาะแตะช่วงอายุ 1-2 ปี

 

  1. ผักและผลไม้ ให้วิตามิน แร่ธาตุ และใยอาหาร เป็นอาหารเด็ก 1 ขวบที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย การกินผักและผลไม้อย่างเพียงพอเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ดีของเด็ก เช่น ผลไม้แบบสด แช่แข็ง หรือแบบบดบรรจุกระป๋องก็ได้ แต่ต้องหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ให้กินได้ง่าย นอกจากนี้ คุณแม่อาจผสมผักหรือผลไม้บดลงในอาหารที่ลูกชอบเพื่อเพิ่มความหลากหลายได้อีกด้วย
  2. ธัญพืชต่างๆ เด็กวัยเตาะแตะอายุ 12-18 เดือน คุณแม่ควรให้ลูกกินอาหารเสริมธัญพืชสำหรับเด็กที่มีธาตุเหล็กสูง เพิ่มเติมจากอาหารมื้อหลัก และคุณแม่สามารถสอดแทรกอาหารประเภทธัญพืชเต็มเมล็ดได้ในทุกมื้อของวัน เป็นอีกหนึ่งเมนูอาหารเด็ก 1 ขวบ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  3. อาหารรสหวานตามธรรมชาติ เด็กวัยเตาะแตะยังมีพื้นที่ในกระเพาะอาหารไม่มากพอที่จะเสียไปกับเครื่องดื่มรสหวาน และขนมหวาน ที่ให้แต่แคลอรี แต่มีสารอาหารน้อย อาหารเหล่านี้มีแคลอรีสูงเมื่อเทียบกับวิตามินแร่ธาตุที่มีอยู่เพียงน้อยนิด ซึ่งทำให้เด็กๆ กินอาหารที่มีประโยชน์อื่นๆ ได้น้อยลง คุณแม่ควรเลือกอาหารเด็ก 1 ขวบ ที่มีคุณค่าทางโภชนาการ เช่น ผลไม้ โยเกิร์ต ธัญพืช หรือขนมที่ทำจากธัญพืชเต็มเมล็ด แทนการให้ลูกกินลูกกวาด หรือขนมหวานต่างๆ
  4. ใยอาหาร มีบทบาทสำคัญต่อระบบขับถ่ายของลูก คุณแม่ต้องพยายามให้ลูกกินธัญพืชเต็มเมล็ด ผักและผลไม้ไม่ว่าจะเป็นแบบสด แบบแช่แข็ง แบบบด หรือผักผลไม้กระป๋องทุกวัน โดยให้มีขนาดของชิ้น และเนื้อสัมผัสที่เหมาะสมกับวัย
  5. วิตามินอี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญ ซึ่งช่วยปกป้องเซลล์ภายในร่างกายจากการถูกทำลาย อาหารที่มีวิตามินอี ได้แก่ น้ำมันพืช (น้ำมันคาโนลา น้ำมันข้าวโพด น้ำมันถั่วเหลือง) อะโวคาโด ธัญพืชเต็มเมล็ด และผักใบเขียวบางชนิด (ผักโขมหรือปวยเล้ง บรอคโคลี)
  6. โพแทสเซียม เป็นแร่ธาตุที่ควรคำนึงถึงสำหรับ อาหารเด็ก 1 ขวบ เพราะจะช่วยให้กล้ามเนื้อทำงานเป็นปกติ โพแทสเซียมมีอยู่ในอาหารหลายชนิด เช่น มันฝรั่ง มันเทศ อะโวคาโด ผักปวยเล้ง โยเกิร์ต กล้วย และผลไม้ตระกูลส้ม
  7. ไขมันที่ดีต่อสุขภาพ ช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย และพัฒนาการของสมอง ไขมันยังช่วยให้ร่างกายนำวิตามินเอ ดี อี และเค ไปใช้ประโยชน์ได้ อาหารเด็ก 1 ขวบที่มีไขมันดีต่อสุขภาพเหล่านี้ควรให้ทดแทนอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว ที่พบในผลิตภัณฑ์จากนมที่มีไขมันสูง เช่น เนย ชีส และเนื้อสัตว์ติดมัน หรืออาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอกและแฮม

 

แหล่งข้อมูล

  1. สูงดีสมส่วน : EP.5 ทารก 6 – 12 เดือน กินอย่างไรให้สูงดีสมส่วน - อนามัยมีเดีย (moph.go.th)
  2. คู่มืออาหารตามวัย สำหรับทารกและเด็กเล็ก – สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
  3. https://www.si.mahidol.ac.th/th/division/hph/admin/news_files/533_49_1.pdf
  4. https://www.nestlenutrition-institute.org/sites/default/files/documents-library/publications/secured/efb85ba38d227cf2cab014a2d566b8b1.pdf
  5. https://medical.gerber.com/nestle-science/feeding-infants-and-toddlers-study