MyFeed Personalized Content
บทความ

PLAYING: อาการภูมิแพ้ในเด็ก สาเหตุ อาการ พร้อมวิธีดูแลและป้องกันภูมิแพ้ในเด็ก

Add this post to favorites

อาการภูมิแพ้ในเด็ก สาเหตุ อาการ พร้อมวิธีดูแลและป้องกันภูมิแพ้ในเด็ก

ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับโรคภูมิแพ้ในเด็ก ด้วย 3 ข้อเท็จจริงของโรคภูมิแพ้ในเด็ก พร้อมวิธีดูแลและป้องกันด้วยโปรตีนที่ผ่านการย่อยบางส่วน [PHP] และ 2’FL ที่พบในนมแม่

1นาที อ่าน

เรียบเรียงโดย ศ.พญ.จรุงจิตร์ งามไพบูลย์

คุณแม่ทราบหรือไม่ว่า 50% ของเด็กไทยในปัจจุบันเสี่ยงเป็นภูมิแพ้ ดังนั้นคุณแม่ยุคใหม่ควรทำความเข้าใจถึง 3 ข้อเท็จจริงของโรคภูมิแพ้ในเด็ก เพื่อให้คุณปกป้องและดูแลลูกน้อยให้ห่างไกลจากโรคภูมิแพ้ในทารกได้อย่างเหมาะสม

 

ภูมิแพ้ในเด็ก รู้ก่อนแพ้ แม่ป้องกันได้

 

คันตา มีน้ำตาไหล จาม หอบหืด คัน ผิวหนังอักเสบ ลมพิษ อาการของโรคภูมิแพ้ที่พบได้บ่อยในทารกหรือเด็กเล็ก คุณพ่อคุณแม่หลายท่านอาจคิดว่าเพราะลูกยังเล็กจึงเป็นโรคภูมิแพ้ เมื่อโตขึ้นไปอาการของโรคอาจจะหายไปเอง ซึ่งในความเป็นจริงแล้วภูมิแพ้ในเด็ก เรื่องไม่เล็กอย่างที่คิดนะคะ คุณพ่อคุณแม่ยุคใหม่จึงควรใส่ใจ และทำความเข้าใจถึง 3 ข้อเท็จจริงของโรคภูมิแพ้ในเด็ก เพื่อปกป้องและดูแลลูกน้อยให้ห่างไกลจากโรคภูมิแพ้ได้อย่างเหมาะสม

 

baby allergy

 

3 ข้อเท็จจริงของโรคภูมิแพ้ในเด็ก

 

1.ยาช่วยโรคภูมิแพ้ให้ดีขึ้น แต่ไม่หายขาด

 

ในปัจจุบันโรคภูมิแพ้ในเด็กหรือในผู้ใหญ่ยังไม่มียาที่รักษาให้อาการของโรคภูมิแพ้หายขาดได้ แต่ยาอาจช่วยควบคุมอาการโรคภูมิแพ้ได้ดีในระดับหนึ่ง เมื่อหยุดยาอาการแพ้ก็อาจจะกลับมาอีก สรุปก็คือยาช่วยบรรเทาอาการแต่ไม่ได้รักษาโรคให้หายขาด

 

2.โรคภูมิแพ้ตัวการขัดขวางพัฒนาการลูกน้อย

 

โรคภูมิแพ้บางชนิด อาจจะดูไม่รุนแรง และสามารถรับมือได้ง่าย แต่หากไม่ได้รับการรักษาให้ดีขึ้น ก็อาจทำให้ลูกน้อยที่ปกติร่าเริงแจ่มใส กลายเป็นเด็กขี้หงุดหงิด งอแงง่าย เก็บตัว ไม่กล้าออกไปสัมผัสโลกกว้าง อีกทั้งอาจทำให้ลูกน้อยสูญเสียความมั่นใจในตัวเอง และไม่กล้าคบหาสมาคมกับเด็กคนอื่นๆ และส่งผลกระทบต่อพัฒนาการด้านร่างกายและจิตใจของลูกอีกด้วย

 

3.ภูมิแพ้ในเด็กปล่อยไว้อันตรายถึงชีวิต

 

แม้จะฟังดูน่ากลัว แต่คุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องรู้ว่า ปฏิกิริยาของอาการของโรคภูมิแพ้ในเด็กมีหลายระดับ ตั้งแต่ความรุนแรงเพียงเล็กน้อย เช่น ผื่นคัน จาม ไอ แค่เพียงให้รู้สึกรำคาญ ไปจนถึงอาการแพ้ขั้นรุนแรงที่อาจทำให้เสียชีวิตได้ด้วย ขึ้นอยู่กับว่า อาการภูมิแพ้ในเด็กนั้นมีระดับความรุนแรงมากแค่ไหน ซึ่งอาการโรคภูมิแพ้ระดับรุนแรงที่สุดมีชื่อว่า “แอนาฟิแล็กซิส” (Anaphylaxis) เพราะเสี่ยงต่อการเสียชีวิต และมีผลต่อระบบต่างๆ ทั่วร่างกาย มักเกิดขึ้นภายในเวลาไม่กี่วินาที หรือไม่กี่นาทีหลังจากสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ ซึ่งการเกิดแอนาฟิแล็กซิสอาจทำให้เสียชีวิตได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที สาเหตุของการเกิดแอนาฟิแล็กซิสส่วนใหญ่มาจากอาหาร แมลงสัตว์กัดต่อย ยา และอาการที่พบเมื่อเกิดแอนาฟิแล็กซิส คือ
- อาการบวมที่ช่องคอและปาก
- กลืนหรือพูดลำบาก
- ไอ หายใจลำบากจากอาการหลอดลมตีบ หรืออาการบวมที่ช่องคอ
- เกิดลมพิษที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย
- ผิวหนังมีผื่นแดงดง
- ปวดเกร็งที่ท้อง คลื่นไส้ และอาเจียน
- รู้สึกอ่อนแรงลงทันที (เนื่องจากความดันเลือดลดลง)
 

รับมืออย่างไรเมื่อลูกเป็นโรคภูมิแพ้
 

อันที่จริงโรคภูมิแพ้ในเด็กหรือในวัยผู้ใหญ่สามารถป้องกัน หรือลดอาการภูมิแพ้ได้ ซึ่งจะได้ผลดีที่สุดหากได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่ระยะเริ่มแรก โดยคุณสามารถประเมินเบื้องต้นได้ดังนี้
- ประวัติครอบครัวมีความสำคัญมากในการประเมินความเสี่ยงโรคภูมิแพ้ สิ่งแรกที่ควรพิจารณาคือ ประวัติของพ่อแม่ การใช้เครื่องมือประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรคภูมิแพ้ สามารถช่วยป้องกันหรือวิเคราะห์ความเสี่ยงเบื้องต้นของการเกิดโรคภูมิแพ้ได้ Sensitive Check

 

ประเมินความเสี่ยงการเกิดภูมิแพ้

 

นมแม่มีสารอาหารกว่า 200 ชนิด รวมทั้งโปรตีนที่ผ่านการย่อยบางส่วน และ 2’FL ซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญที่พบในนมแม่ ที่ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดภูมิแพ้ได้ เพราะ
• นมแม่มีโปรตีนที่ผ่านการย่อยบางส่วน และมีเวย์โปรตีนสูงซึ่งย่อยง่าย จึงทำให้ดูดซึมได้ดีกว่า เนื่องจากลูกในช่วง 6 เดือนแรก เยื่อบุทางเดินอาหารยังไม่แข็งแรง รวมถึงน้ำย่อยอาหารยังมีไม่มาก และสารภูมิคุ้มกันที่จะคอยดักจับสิ่งแปลกปลอมยังมีไม่มากพออีกด้วย ดังนั้นการได้รับนมแม่จึงช่วยป้องกันโรคภูมิแพ้ได้ รวมทั้งเป็นการเตรียมความพร้อมที่แข็งแกร่งให้กับร่างกายลูกด้วยค่ะ
• โปรตีนนมแม่เป็นชนิดที่ไม่แปลกปลอม จึงไม่ก่อให้เกิดการแพ้ เมื่อลูกกินนมแม่ก็จะทำให้ได้รับโปรตีนชนิดดี ย่อยง่าย และมีสารภูมิคุ้มกันที่จะไปเคลือบเยื่อบุลำไส้ เปรียบเหมือนเป็นการสร้างเกราะป้องกันลำไส้ให้กับลูกน้อยเพื่อลดอาการแพ้ต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้
• นอกจากนี้ยังพบว่าในนมแม่มี 2’FL โอลิโกแซคคาไรด์ซึ่งเป็นพรีไบโอติกส์ชนิดที่พบมากที่สุดในนมแม่ และจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หลายสายพันธุ์ เช่น บิฟิดัส บีแอล ซึ่งเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและลดความเสี่ยงของการเกิดภูมิแพ้ โดยสังเกตได้จากทารกที่ได้รับนมแม่จะมีการเกิดภูมิแพ้น้อยกว่า และมีภูมิคุ้มกันที่ดีกว่า

ดังนั้นหากในครอบครัวมีประวัติภูมิแพ้ ควรให้นมแม่อย่างน้อยที่สุด 6 เดือนหรือนานที่สุดเท่าที่จะทำได้ หรือควรปรึกษากุมารแพทย์เพื่อการดูแลที่เหมาะสมต่อไป
- ระมัดระวังหรือหลีกเลี่ยงอาหารบางชนิดที่อาจเสี่ยงต่อการเกิดภูมิแพ้หรืออาการแพ้อาหารในเด็ก เช่น แป้งสาลี ถั่ว ไข่ และอาหารทะเล โดยให้เว้นระยะในการรับประทานอาหารเหล่านี้ร่วมกันสัก 2-3 วัน แล้วคอยสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด หากมีอาการโรคภูมิแพ้เกิดขึ้นให้รีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อหาแนวทางในการรักษาและป้องกันอาการโรคภูมิแพ้ต่อไป