ผื่นแพ้อาหารทารก พร้อมวิธีป้องกันผื่นแพ้อาหารทารก

ผื่นแพ้อาหารทารก พร้อมวิธีป้องกันผื่นแพ้อาหารทารก

09.05.2024

การแพ้อาหารในทารก อันตรายกว่าที่คุณพ่อแม่คิด ดังนั้นควรศึกษาวิธีสังเกตอาการแพ้อาหารในเด็ก เพื่อหลีกเลี่ยงอาหารที่ก่อให้เกิดการแพ้และป้องกันไม่ให้ลูกแพ้อาหาร

headphones

PLAYING: ผื่นแพ้อาหารทารก พร้อมวิธีป้องกันผื่นแพ้อาหารทารก

อ่าน 8 นาที

 

สรุป

  • ทารกแพ้อาหาร คือ อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นหลังทารกรับประทานอาหาร อาการแพ้อาหารมีทั้งแบบเฉียบพลัน แสดงอาการหลังทานอาหารทันทีภายใน 2-6 ชั่วโมง และแบบล่าช้าภายใน 1 สัปดาห์ถึง 3 เดือน
  • อาหารที่อาจก่อให้เกิดการแพ้ เช่น นมวัว, ไข่, แป้งสาลี, ถั่วเหลือง, ถั่วลิสง, ถั่วเปลือกแข็ง, อาหารทะเล
  • อาการทารกแพ้อาหาร พบได้หลายอย่าง เช่น ผื่นลมพิษ, ปวดท้อง, ท้องเสีย, อาเจียน ท้องผูก, ถ่ายมีมูกเลือด, หลอดลมตีบ, มีน้ำมูก , หายใจเสียงดัง ผื่นขึ้นตามตัว
  • อาการแพ้อาหารบางชนิดอาจหายไปเองเมื่อทารกโตขึ้น คุณแม่ควรติดตามการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ทารกแพ้อาหาร คือ การที่ทารกรับประทานอาหารเข้าไปแล้วเกิดความผิดปกติในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นอาการปวดท้อง ผดผื่นขึ้นตามร่างกาย ซึ่งอาการทารกแพ้อาหารนั้น ไม่จำเป็นเฉพาะแค่การรับประทานแล้วแพ้เท่านั้น แต่รวมไปถึงการสัมผัสอาหารชนิดนั้น ๆ หรือแม้แต่การสูดดมเอากลิ่นที่กำลังปรุงอาหารนั้น ๆ เข้าไป

 

อาหารที่อาจก่อให้เกิดการอาการแพ้ที่พบได้บ่อยประกอบด้วยนมวัว ไข่ แป้งสาลี ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วเปลือกแข็ง (tree nuts) และอาหารทะเล เป็นต้น และอาหารที่มีความเสี่ยงในการเกิดภูมิแพ้ต่ำ ได้แก่ ข้าว ผักสีเขียว เนื้อหมู เนื้อไก่ ปลาน้ำจืด แครอท ฟักทอง มะละกอ ส้ม กล้วย ไข่แดง เป็นต้น

 

วิธีสังเกตอาการทารกแพ้อาหาร พร้อมวิธีป้องกันผื่นแพ้อาหารทารก

 

ทารกแพ้อาหาร อันตรายแค่ไหน

ทารกแต่ละคนมีการแสดงอาการที่รุนแรงมากน้อยแตกต่างกัน บางคนอาจมีเพียงอาการผื่นลมพิษ ปวดท้อง ท้องเสีย ท้องผูก แต่เด็กบางคนที่มีอาการรุนแรง อาจเกิดผื่นลมพิษขึ้นทั้งตัว หน้าแดง บริเวณรอบปากและตาบวมแดง หลอดลมตีบ ความดันโลหิตต่ำ หมดสติ และอาจนำไปสู่การสูญเสียชีวิตได้ คุณพ่อคุณแม่จึงควรพาลูกไปพบแพทย์ เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรักษาให้ถูกต้อง ทันท่วงที

 

ทารกแพ้อาหาร จะแสดงอาการแบบไหนให้เห็นบ้าง

ทารกที่แพ้อาหาร สามารถเกิดอาการได้หลายแบบ โดยแบ่งออกเป็นอาการที่แสดง กับเวลาที่แสดงอาการ ได้แก่

อาการแพ้อาหาร

ลูกอาจมีผื่นลมพิษ หรือเป็นผื่นเม็ดเล็ก ๆ คล้ายเม็ดทรายบนผิว มีอาการปวดท้อง ท้องเสีย ท้องผูก ถ่ายมีมูกเลือก หลอดลมตีบ มีน้ำมูก นอนกรน หายใจเสียงดัง หรือแพ้แบบรุนแรงจนเสียชีวิตได้เป็นต้น

 

เวลาที่แสดงอาการ

มีทั้งอาการแบบฉับพลัน เกิดทันทีหลังรับประทานอาหาร 2-6 ชั่วโมง ถ้ามีอาการที่ค่อนข้างรุนแรง เช่น มีผื่นลมพิษขึ้นทั้งตัว หน้าแดง รอบปาก รอบตาบวมแดง หลอดลมตีบ อาจรุนแรงถึงขั้นความดันโลหิตต่ำ หมดสติ และเสียชีวิตได้ แต่ในกรณีที่ไม่รุนแรงมากอาจมีอาการเพียงระบบใดระบบหนึ่ง เช่น เป็นผื่นเม็ดทรายขึ้นตามตัว มีน้ำมูกหรือคัดจมูก เป็นต้น แสดงอาการแบบล่าช้า คือ อาการแพ้อาหาร หลังรับประทานอาหารไปแล้วมากกว่า 24 ชั่วโมง ส่วนใหญ่เป็นอาการทางระบบทางเดินอาหารเป็นหลัก เช่น มีอาเจียน หรือมีท้องเสีย อุจจาระมีมูกหรือเลือดปน เป็นต้น

 

วิธีลดความเสี่ยงต่อการแพ้อาหารของทารก

1. เริ่มทีละขั้น

เพื่อลดความเสี่ยงทารกแพ้อาหาร ลูกน้อยควรได้รับนมแม่อย่างเดียว ตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือน และควรกินต่อเนื่องไปจนลูกอายุ 2 ปี หรือนานกว่านั้น ควบคู่กับอาหารตามวัยที่เหมาะสม โดยคุณแม่ควรปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับการเริ่มอาหารตามวัย ควรเริ่มอาหารตามวัยเมื่ออายุ 6 เดือนขึ้นไป โดยอาจเริ่มจากอาหารบดละเอียด เช่น ข้าว จากนั้นตามด้วยผักสีเขียวอ่อน ๆ ก่อนแล้วค่อยไล่ให้สีเข้มขึ้น เนื้อสัตว์ ผักสีส้มแดง เช่น แครอท ฟักทอง ผลไม้ และไข่แดง ค่อย ๆ เพิ่มอาหารทีละหนึ่งชนิด และเว้นระยะ 3 – 5 วันก่อนเพิ่มอาหารชนิดใหม่ ถ้าคุณหรือคนในครอบครัวมีคนเป็นโรคภูมิแพ้อาหาร คุณควรชะลอการเพิ่มอาหารที่เสี่ยงต่อการเกิดอาการภูมิแพ้ไปก่อน อย่าเพิ่มอาหารที่มีโอกาสทำให้เกิดการแพ้ได้สูง จนกว่าทารกน้อยจะมีอายุอย่างน้อย 9 – 12 เดือน สำหรับไข่ขาวอาจให้เริ่มหลังอายุ 9 เดือน และอาหารทะเลหลังอายุ 1 ปีไปแล้ว ที่สำคัญคืออาหารควรปรุงเองและทำให้สุกสนิท

 

2. สังเกตอาการทารกแพ้อาหาร ลักษะผื่นแพ้อาหารทารก

อาการแพ้อาหารของลูก มีทั้ง “อาการแบบเฉียบพลัน” คือรับประทานอาหารเข้าไปแล้วเกิดอาการทันที หรือภายในไม่เกิน 2 ชั่วโมง ซึ่งอาจมี ผื่นขึ้น ลักษะผื่นแพ้อาหารทารก หน้าบวม ปากบวม หรือหายใจติดขัดจนสามารถเสียชีวิตได้ และ “อาการแบบล่าช้า” คือมีอาการถ่ายเหลว ปวดท้องเรื้อรัง ซึ่งทารกบางรายจะมีอาการปวดท้องตลอดหลังรับประทานอาหารเข้าไป บางรายถ่ายเป็นมูกปนเลือด หรือบางรายลำไส้อักเสบมากจนไม่สามารถดูดซึมอาหารเข้าไปได้ ทำให้เด็กผอม น้ำหนักน้อย ซึ่งถือว่าเป็นภาวะที่ค่อนข้างอันตราย หรือในอีกกรณีคือ “อาการแบบผสมระหว่างเฉียบพลันและล่าช้า” ซึ่งจะมีอาการมากกว่าสองระบบขึ้นไป เช่น มีน้ำมูก คัดจมูกเรื้อรัง ร่วมกับอาการถ่ายเหลวมีมูกปนเลือด

 

ข้อควรจำ เมื่อทารกแพ้อาหาร

เนื่องจากการจัดอาหารที่ประกอบด้วยสารอาหารที่เหมาะสมกับลูกน้อยของคุณเป็นสิ่งสำคัญ คุณแม่ควรปรึกษาและตรวจสอบ กับผู้เชี่ยวชาญก่อนจำกัดอาหารอย่างใดอย่างหนึ่ง อาการทารกแพ้อาหารจะแสดงภายในเวลาไม่กี่นาทีหรืออาจใช้เวลาหลายชั่วโมง ดังนี้

  • ระบบผิวหนัง ผื่นแพ้อาหารทารก เป็นอาการแพ้ที่อาจเกิดขึ้นที่ผิวหนัง เช่น ลูกเป็นผื่นแดงทั้งตัว ตุ่มนูนคันและเป็นลมพิษ ผื่นขึ้นหน้าทารก หรือมีตาบวม ปากบวม
  • ระบบทางเดินหายใจ เป็นอาการแพ้ที่แสดงอาการ เช่น ทารกคัดจมูก น้ำมูกไหล ไอ, หายใจหอบ
  • ระบบทางเดินอาหาร เช่น อาเจียน, ปวดท้อง, ท้องเสีย และอาจถ่ายเป็นมูกปนเลือด

 

อาการอื่น ๆ ที่พบได้ คือ แพ้รุนแรงจนช็อค เลี้ยงไม่โต เป็นต้น อาการแพ้แต่ละประเภทมีความรุนแรงที่แตกต่างกัน หากคุณสงสัยว่าลูกน้อยมีอาการแพ้อาหารรุนแรง ควรนำส่งโรงพยาบาลทันที

 

วิธีรักษาอาการแพ้อาหารทารกและวิธีป้องกันทารกแพ้อาหาร

 

ทารกแพ้อาหารเป็นแล้วหายได้ไหม?

การแพ้อาหารของทารกหรือผื่นแพ้อาหารทารก เกิดขึ้นเนื่องจากภูมิคุ้มกันยังไม่แข็งแรงดี ดังนั้นเมื่อโตขึ้นอาการเหล่านี้สามารถหายไปได้ แต่ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยที่รวดเร็ว ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและชนิดอาหารที่เด็กแพ้ด้วย เช่น หากทารกแพ้นมวัว เด็กกว่า 80% จะมีอาการแพ้นมวัวดีขึ้นเมื่ออายุ 3 ขวบขึ้นไป หากแพ้ไข่ขาวมีโอกาสหาย 50% เมื่ออายุ 3 ขวบขึ้นไป แพ้แป้งสาลีมีโอกาสหาย 50% เมื่ออายุ 5 ปีขึ้นไป สำหรับการแพ้อาหารทะเลในขวบปีแรก อาจจะหายไปหลังอายุ 5 ปี แต่หากลูกแพ้ถั่วลิสงหรือถั่วเปลือกแข็ง มักจะแพ้จนเป็นผู้ใหญ่ ดังนั้นเมื่อมีอาการแพ้อาหารดังกล่าว ก็ควรให้หลีกเลี่ยง เพื่อไม่ให้เกิดอาการแพ้รุนแรงและควรติดตามการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นระยะ

 

วิธีดูแลอาการแพ้อาหารทารกและวิธีป้องกันทารกแพ้อาหาร

เพราะการแพ้อาหารของทารกไม่ใช่เรื่องล้อเล่น และมีหลายคนที่ยังไม่เข้าใจถึงอันตรายจากการแพ้อาหารหรือผื่นแพ้อาหารทารก เพื่อป้องกันลูกแพ้อาหาร หรืออันตรายจากการกินอาหารที่อาจก่อให้เกิดการแพ้ พ่อแม่สามารถทำได้ดังนี้

  1. ให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียว ตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือน และควรกินต่อเนื่องไปจนลูกอายุ 2 ปี หรือนานกว่านั้น เพราะนมแม่มีสารอาหารกว่า 200 ชนิด โปรตีนในนมแม่บางส่วน ได้ถูกย่อยให้มีขนาดเล็กลง หรือที่เรียกว่า PHP (Partially Hydrolyzed Proteins ) ง่ายต่อการดูดซึม มีคุณสมบัติเป็น Hypo-Allergenic หรือ H.A. ช่วยลดความเสี่ยงของโรคภูมิแพ้ มีพรีไบโอติกโอลิโกแซคคาไรด์ อาทิ 5 ใยอาหารหลัก (5 Oligosaccharide หรือ 5 HMO เช่น 2’FL, DFL, LNT, 6’SL และ 3’SL อีกทั้งนมแม่ยังมีโพรไบโอติกหลายชนิด เช่น B. lactis (บีแล็กทิส) ซึ่งเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่มีส่วนช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน และลดความเสี่ยงของการเกิดโรคภูมิแพ้ในทารก
  2. ช่วงที่คุณแม่ที่ให้นมลูก ควรทานอาหารให้สมดุลครบ 5 หมู่ ไม่จำเป็นต้องงดอาหารกลุ่มเสี่ยง แต่ก็ไม่ควรทานอาหารกลุ่มเสี่ยงเป็นประจำเกือบทุกวัน ให้ทานอาหารที่หลากหลาย เพราะการที่แม่งดอาหารกลุ่มเสี่ยงอาจจะทำให้คุณค่าสารอาหารจากนมแม่มีไม่เพียงพอสำหรับทารก
  3. การให้อาหารตามวัยกับลูก ควรเริ่มเมื่ออายุ 6 เดือนขึ้นไป และต้องค่อย ๆ ให้ลูกเริ่มทีละอย่าง เช่น ข้าวขาว ผักสีเขียว เนื้อสัตว์ ผักส้มแดง และไข่แดงอย่างเดียวก่อน เพราะไข่ขาวมีโปรตีนสูงและทำให้เกิดการแพ้ได้มากกว่าไข่แดง จึงควรให้เริ่มไข่ขาวหลังอายุ 9 เดือน หรือควรกินปลาน้ำจืดก่อนปลาทะเล เป็นต้น
  4. อ่านฉลากอาหารให้ดีและควรหลีกเลี่ยงขนม อาหารเสริม หรืออาหารนอกบ้านหากไม่แน่ใจในวัตถุดิบที่ใช้ปรุง
  5. เตรียมอาหารให้ลูกเอง เพราะคุณแม่จะรู้ดีว่าลูกแพ้อะไร และสามารถกินอะไรได้บ้าง ซึ่งหากจำเป็นจะต้องเดินทาง คุณแม่ควรจะทำอาหารเตรียมพร้อมไปไว้ให้ลูกด้วย

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่


 

อ้างอิง:

  1. ลูกแพ้อาหารอะไรบ้าง? รู้ได้ด้วยการทดสอบการแพ้อาหาร วิธี Oral Food Challenge Test, โรงพยาบาลพญาไท
  2. โรคแพ้นมวัว , โรงพยาบาลสมิติเวช

อ้างอิง ณ วันที่ 2 มีนาคม 2567
 

บทความแนะนำ

โรคซางในเด็กเล็กมีจริงไหม เกิดจากอะไร ดูแลและป้องกันได้หรือเปล่า

โรคซางในเด็กเล็กมีจริงไหม เกิดจากอะไร ดูแลและป้องกันได้หรือเปล่า

โรคซางในเด็กเล็ก เกิดจากสาเหตุอะไร หากลูกของคุณแม่มีอาการเหมือนจะเป็นโรคซาง มีไข้ เบื่ออาหาร หรือน้ำหนักลด คุณแม่ควรเฝ้าดูอาการและรีบพาไปพบแพทย์ทันที

วัคซีนเด็กแรกเกิด สำคัญแค่ไหน ลูกน้อยต้องฉีดอะไรบ้าง

วัคซีนเด็กแรกเกิด สำคัญแค่ไหน ลูกน้อยต้องฉีดอะไรบ้าง

วัคซีนเด็กแรกเกิดสำคัญกับลูกน้อยแค่ไหน ทำไมควรฉีดวัคซีนเด็กแรกเกิด เพื่อสร้างเกราะป้องกันและเสริมภูมิต้านทานโรคให้ลูก คุณแม่ควรเตรียมตัวให้ลูกน้อยอย่างไร ไปดูกัน

ลูกตัวร้อน ทำอย่างไรดี พร้อมวิธีสังเกตอาการลูกมีไข้ไม่ทราบสาเหตุ

ลูกตัวร้อน ทำอย่างไรดี พร้อมวิธีสังเกตอาการลูกมีไข้ไม่ทราบสาเหตุ

ลูกตัวร้อน ลูกมีไข้ไม่ทราบสาเหตุ เกิดจากอะไร คุณแม่ดูแลลูกน้อยอย่างไรได้บ้าง หากลูกร้องไห้ไม่หยุด อ่อนเพลีย หรือมีอาการอาเจียน ควรรีบพาไปพบแพทย์

ทารกนอนสะดุ้ง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ลูกนอนสะดุ้งและวิธีรับมือ

ทารกนอนสะดุ้ง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ลูกนอนสะดุ้งและวิธีรับมือ

ทารกนอนสะดุ้ง เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้ คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลใจไปด้วยวิธีรับมือช่วยให้ลูกนอนหลับสบาย แต่ก็ควรหมั่นสังเกตว่าลูกนอนสะดุ้งถี่มากเกินไปหรือเปล่า

วิธีบีบน้ำนม บีบนมอย่างไรให้ถูกวิธี ช่วยกระตุ้นน้ำนมคุณแม่

วิธีบีบน้ำนม บีบนมอย่างไรให้ถูกวิธี ช่วยกระตุ้นน้ำนมคุณแม่

วิธีบีบน้ำนม สำหรับคุณแม่มือใหม่ บีบนมด้วยมือแบบไหนช่วยกระตุ้นน้ำนมคุณแม่ได้ และช่วยลดการคัดเต้านมได้ดี ช่วยให้คุณแม่สามารถสต๊อกนมให้ลูกได้อย่างปลอดภัย

ลูกมีน้ำมูกไหลเป็นน้ำใส ๆ ไม่หยุด ลูกเป็นหวัดน้ำมูกไหลไม่หายสักที

ลูกมีน้ำมูกไหลเป็นน้ำใส ๆ ไม่หยุด ลูกเป็นหวัดน้ำมูกไหลไม่หายสักที

ลูกมีน้ำมูกไหลเป็นน้ำใส ๆ ไม่หยุด อาการที่บอกว่าลูกกำลังไม่สบาย อาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัส เป็นหวัด หรือเป็นภูมิแพ้ ไปดูวิธีดูแลลูกเป็นหวัดน้ำมูกไหลไม่หายสักทีกัน

ลูกไม่ยอมดูดขวดนม ลูกติดเต้าไม่ดูดขวด ฝึกให้ลูกดูดนมแม่จากขวด

ลูกไม่ยอมดูดขวดนม ลูกติดเต้าไม่ดูดขวด ฝึกให้ลูกดูดนมแม่จากขวด

ลูกไม่ยอมดูดขวด ลูกติดเต้าไม่ดูดขวด ฝึกให้ลูกดูดนมแม่จากขวด วิธีให้ลูกดูดขวด ต้องเตรียมตัวอย่างไร เช็กตารางปั๊มนม เมื่อคุณแม่ต้องกลับไปทำงาน

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก